• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,243 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,010 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,329 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,211 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,842 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Strategic Management | Innovation Management | — September 16, 2022 8:00 am
เอ็มไอทีเผยผลวิจัยใช้ Design Thinking ให้ประสบความสำเร็จ ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 460 reads
0
  

3.1 HOW YOUR ORGANIZATION  CAN BE SUCCESSFUL IN  DESIGN  THINKING 1การคิดเชิงออกแบบหรือ Design Thinking เป็นหนึ่งในหลายๆ แนวทางที่องค์กรนำไปใช้พัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม แต่การที่องค์กรจะเริ่มต้นพัฒนาด้วยตนเองอาจทำได้ไม่ง่ายนักเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมและขนบธรรมเนียมแบบเดิมๆ ซึ่งทำให้การคิดนอกกรอบเป็นไปได้ยาก ดังนั้น การประเมินความพร้อมขององค์กร การเตรียมทีมงาน รวมถึงการเปิดโอกาสให้บุคลากรภายนอกเข้ามาช่วยในช่วงเริ่มต้น จึงมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของการนำ Design Thinking ไปใช้ในองค์กร

เมื่อต้นเดือนกันยายน 2565 วารสาร MIT Sloan Management Review ได้เปิดเผยผลการวิจัยจากกรณีศึกษาและเอกสารรวมทั้งการสัมภาษณ์มากกว่า 50 ครั้งร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ได้แก่ นักออกแบบ ผู้นำบริษัทออกแบบและห้องปฏิบัติการ  นักวิชาการ ที่ปรึกษา และผู้นำธุรกิจ โดยครึ่งหนึ่งของการสัมภาษณ์ได้ทำการวิจัยระหว่างปี 2557 – 2560 (ค.ศ.2014 – 2017) และอีกครึ่งหนึ่ง ได้ทำการวิจัยระหว่างปี 2562 – 2564 (2019 – 2021) สำหรับการสัมภาษณ์เป็นแบบกึ่งโครงสร้างและสำรวจแนวคิดการออกแบบภายในองค์กร ควบคู่ไปกับประสบการณ์ของนักออกแบบกับการนำการคิดเชิงออกแบบไปใช้ในองค์กร

เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการคิดเชิงออกแบบ ผู้นำจำเป็นต้องรู้ว่าเมื่อใดจึงจะนำไปใช้ และต้องเตรียมทั้งพนักงานและผู้จัดการให้มีความพร้อม การวิจัยของนี้ได้ระบุลักษณะเฉพาะที่ทำให้องค์กร “พร้อมสำหรับการคิดเชิงออกแบบ” รวมถึงแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการปรับใช้ด้วย

ทำไมต้อง “คิดเชิงออกแบบ”

การคิดเชิงออกแบบเป็นแบบแผนที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา จากการศึกษากระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องใช้แนวทางการทดลองซ้ำๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง การกำหนดพื้นที่ปัญหา คิดวิธีแก้ปัญหาใหม่ จากนั้นจึงสร้างต้นแบบ ทดสอบ และปรับแต่ง

หลายองค์กรที่หันมาใช้การคิดเชิงออกแบบมีนวัตกรรมอยู่ในใจแล้ว บางองค์กรมองหาแนวคิดนี้เพื่อคิดค้นโมเดลธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ และบางองค์กรใช้เพื่อระบุ pain point จากประสบการณ์ของผู้ใช้และปรับแต่งข้อเสนอที่มีอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น องค์กรอาจสร้างประสบการณ์ดิจิทัลเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงและใช้งานให้ง่ายขึ้นสำหรับลูกค้า

ในบรรดาข้อดีหลายประการของการคิดเชิงออกแบบ คือ การทำให้ “อคติทางปัญญา” (Cognitive Bias)  ลดลง ทำให้ผู้คนเห็นภาพวิธีแก้ปัญหาที่ไม่เคยคิดมาก่อน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมความเห็นอกเห็นใจลูกค้า  ทำให้มีการไตร่ตรองและการเรียนรู้  ตลอดจนเป็นการชี้ทางไปสู่รูปแบบความเป็นผู้นำที่ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา และสนับสนุนการคิดที่ต่างกันออกไป ส่งผลให้องค์กรสามารถมีเป้าหมายได้หลากหลายสำหรับการคิดเชิงออกแบบมากกว่าเพียงแค่เป้าหมายด้านผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ

บางองค์กรนำแนวคิดการออกแบบมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้คล่องตัวมากขึ้นหรือตอบสนองต่อลูกค้ามากขึ้น การคิดเชิงออกแบบช่วยได้เพราะมันเกี่ยวข้องกับการสะท้อนความคิดในเชิงรุก ซึ่งธรรมชาติของปัญหาถูกตั้งคำถามมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงส่งเสริมการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมได้

คิดอย่างนักออกแบบ

วิธีการของนักออกแบบมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้อันเนื่องมาจากมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวพันกันไปหมด (Wicked problems) เนื่องจากพวกเขาต้องการให้ผู้คนคิดนอกกรอบหรือนอกขอบเขตของธุรกิจตามปกติ เมื่อทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงออกแบบมากกว่า 50 คนในอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย รวมถึงผู้นำธุรกิจที่ไม่เชื่อในแนวทางนี้ ก็พบความแตกต่างที่สำคัญ 8 ประการระหว่างวิธีคิดของนักออกแบบและผู้จัดการธุรกิจ วิธีคิดในการทำงาน และวิธีคิดในการกำหนดวัตถุประสงค์ซึ่งแตกต่างกันตั้งแต่ระดับสูงไปจนถึงพนักงาน   บุคคลเหล่านี้สามารถเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขตามมิติ 8 ประการดังต่อไปนี้ตามที่นักออกแบบทำซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าการคิดเชิงออกแบบจะประสบความสำเร็จหรือไม่

คิดเชิงบริหารกับคิดเชิงออกแบบแตกต่างกันอย่างไร

มิติ 8 ด้านของการคิดเชิงออกแบบแสดงความแตกต่างที่สำคัญของวิธีการที่ผู้จัดการและนักออกแบบทำงานและตัดสินใจ ดังนี้ 1. มิติด้านวัตถุประสงค์ การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นอันดับแรก ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานเป็นอันดับแรก 2. มิติด้านความร่วมมือ การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับการจัดการแผนหรือฝ่ายต่างๆ  ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาผ่านทีมงานข้ามสายงาน 3. มิติด้านรูปแบบการทำงาน การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างเป็นทางการและมีลำดับชั้น (Hierarchy)  ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับการทำงานที่ยืดหยุ่น ไม่เป็นทางการ และไม่มีลำดับชั้น 4. มิติด้านกระบวนการคิด การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive) และอุปนัย (Inductive) ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับการให้เหตุผลทั้งสองอย่างดังกล่าวรวมทั้งแบบจารนัย (Abductive) 5. มิติด้านกำเนิดองค์ความรู้ การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับปริมาณขององค์ความรู้ ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับเรื่องราวหรือคุณภาพขององค์ความรู้ 6. มิติด้านข้อจำกัด การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับทางเลือกที่จำกัด ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสและการกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์ 7. มิติด้านความล้มเหลว การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับความล้มเหลวในฐานะที่เป็นโอกาสในการเรียนรู้ 8. มิติด้าน workflow การคิดเชิงบริหารให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากคุณค่าที่มีอยู่ ส่วนการคิดเชิงออกแบบให้ความสำคัญกับการค้นพบคุณค่าของอนาคต

เมื่อรู้ถึงความแตกต่างของการคิดเชิงบริหารกับการคิดเชิงออกแบบแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาว่าองค์กรพร้อมหรือยังสำหรับการคิดเชิงออกแบบ  โปรดติดตามรายละเอียดในตอนต่อไปค่ะ

ที่มา:  1. https://sloanreview.mit.edu/article/can-design-thinking-succeed-in-your-organization/
2. https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1007065



Related posts

  • 3 ขั้นตอนสำคัญ ในการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน3 ขั้นตอนสำคัญ ในการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน
  • การสร้างองค์กรให้เป็น SFO ตอนที่ 2 การพิจารณาให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมการสร้างองค์กรให้เป็น SFO ตอนที่ 2 การพิจารณาให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม
  • ไอเอสโอรุกจัดการความเสี่ยงในโลกไซเบอร์ ตอนที่ 2ไอเอสโอรุกจัดการความเสี่ยงในโลกไซเบอร์ ตอนที่ 2
  • นวัตกรรม….หากไม่สร้างสรรค์ก็สูญเสีย ตอนที่ 1นวัตกรรม….หากไม่สร้างสรรค์ก็สูญเสีย ตอนที่ 1
  • ISO 56002 ส่งเสริมนวัตกรรมสร้างโลก ตอนที่ 1ISO 56002 ส่งเสริมนวัตกรรมสร้างโลก ตอนที่ 1

Tags: Cognitive bias, Design Thinking, Innovation, Innovation Management, Pain point, Strategic Management, Wicked problems

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑