ทั่วโลกต่างเผชิญกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ไม่ว่าจะเป็นที่เนปาล ญี่ปุ่น หรืออินโดนีเซียและผลกระทบก็คือความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองในประเทศนั้นๆ และยังทำให้เกิดความสับสนอลหม่านในชีวิตประจำวันและการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วย
ไอเอสโอเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดมาตรฐานใหม่ขึ้นมาเพื่อช่วยลดความสูญเสียของชีวิตโดยการป้องกันการถล่มของอาคารเมื่อเกิดภัยพิบัติ
เมื่อเปรียบเทียบแผ่นดินไหวกับภัยพิบัติอย่างน้ำท่วมแล้ว แผ่นดินไหวจะมีช่วงที่เกิดผลยาวนานกว่า มันอาจเกิดขึ้นครั้งละมากหรือน้อย แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยกว่า ในเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว มันเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันทีแต่มีสัญญาณที่บ่งบอกการเกิดแผ่นดินไหวน้อยมาก ขณะเดียวกัน ผลกระทบของมันกลับมีนัยสำคัญมากกว่า เวลาที่เกิดแผ่นดินไหว เราไม่มีเวลาเพียงพอที่จะอพพยประชาชนหรือป้องกันโครงสร้างและทรัพย์สินต่างๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดการและการลดความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ขึ้น
เพื่อที่จะต่อสู้กับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ไอเอสโอจึงได้กำหนดมาตรฐานการประเมินแรงสั่นสะเทือนและการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ISO 16711: 2015 Seismic assessment and retrofit of concrete โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่มีอยู่ให้สามารถทนทานต่อการสั่นไหวได้ ซึ่งจะช่วยให้วิศวกรและสถาปนิกสามารถทำการประเมินแรงสั่นสะเทือนและทำการดัดแปลงโครงสร้างได้ตามมาตรฐาน
การประเมินแรงสั่นสะเทือนและการทำปรับเปลี่ยนโครงสร้างอาจจะมีผลกระทบสูงอันอาจนำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้น การประเมินดังกล่าวจึงจำเป็นต้องนำมาใช้ในเชิงป้องกันการถล่มและการทำลายของโครงสร้างสำหรับการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ซึ่งจะช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินได้
ศาสตราจารย์ทามอน อูเอดะ (Prof. Tamon Ueda) ประธานคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 71/SC 7 จึงช่วยกระตุ้นให้มีนำเอามาตรฐานนี้ไปใช้งาน เขากล่าวว่าแผ่นดินไหวในไฮติเป็นเรื่องที่เตือนใจเราว่าผู้คนนับพันล้านคนที่อาศัยอยู่ในอาคารบ้านเรือนไม่สามารถทนต่อการสั่นไหวของแรงสะเทือนได้ แต่หากมีอาคารบ้านเรือนที่มีการก่อสร้างโดยใช้มาตรฐาน ISO 16711 โดยเพียงแค่ประยุกต์ใช้สองสามหลักการที่สำคัญ ก็จะมีความปลอดภัยเพียงพอ เขาจึงแนะนำให้วิศวกรและสถาปนิกนำมาตรฐานนี้ไปใช้เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยลดความเสียหายหากเกิดแผ่นดินไหวขึ้น
มาตรฐาน ISO 16711 ได้ให้กรอบการดำเนินงานและหลักการสำหรับวิธีการตัดสินและการประเมินแรงสั่นสะเทือนในรายละเอียด การออกแบบ การวางแผน และการนำไปปฏิบัติเพื่อการปรับเปลี่ยนของโครงสร้างอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กกรณีเกิดแรงสั่นสะเทือนก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงซึ่งโครงสร้างจะเกิดความเสียหายเกินกว่าจะแก้ไขได้
มาตรฐานนี้สามารถนำไปใช้กับโครงสร้างอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมแรงและคอนกรีตอัดแรงที่ได้มีการออกแบบบนพื้นฐานของเกณฑ์โครงสร้างในภูมิภาคหรือประเทศต่างๆ แต่ไม่สามารถใช้กับอาคารที่มีโครงสร้างการก่อสร้างทั่วไปได้
ผู้พัฒนามาตรฐาน ISO 16711 คือ คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการวิชาการ SC 7 Maintenance and repair of concrete structures ซึ่งมีสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสาธารณรัฐเกาหลี คือ The Korean Agency for Technology and Standards (KATS) เป็นเลขานุการ
คุณผู้อ่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรฐานใหม่ๆ และสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเราได้ที่ MASCI Innoversity ค่ะ
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref1977
Related posts
Tags: Standardization
Recent Comments