การประท้วงเรื่องสภาวะอากาศโลกร้อนที่กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 เป็นการประท้วงซึ่งผู้มาร่วมประชุมให้ความสำคัญในเรื่องของการปกป้องโลกให้มีความยั่งยืน ทั้งนี้ ภายในกลางศตวรรษ คาดว่าจะมีพลเมืองโลกราวสามพันล้านคนอาศัยอยู่ในเมือง จากมุมมองในเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปถึงเรื่องโครงสร้างของเมือง จึงเป็นเรื่องที่ขบคิดอย่างหนักว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า มนุษย์เราจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร เรื่องเหล่านี้จะมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2558 การประชุม COP21 ที่กรุงปารีสซึ่งมีประเทศต่างๆ มารวมตัวกันมากกว่า 190 ประเทศนับว่าเป็นโอกาสในการป้องกันการเกิดภาวะโลกร้อนที่เป็นอันตรายต่อโลกของเรา และมีประเทศต่างๆ มากกว่า 160 ประเทศได้ยืนยันการเข้าร่วมในการลดหรือการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2568 (ค.ศ.2025) หรือ 2573 (ค.ศ.2030) แล้ว
โดยรวมแล้ว จึงเป็นการส่งสัญญาณในการปรับปรุงในเนื้อหาสาระของการดำเนินธุรกิจว่า มีการคำนึงถึงเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ ทำให้มีความเป็นไปได้เป็นอย่างมากที่จะสามารถจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะยังคงเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2573 และหากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เช่น การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล หรือการปล่อยก๊าซมีเทน ก๊าซไฮเดรตในมหาสมุทร ซึ่งอาจทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลต้องอพยพเข้าไปในเมือง และประสบปัญหาอากาศที่รุนแรงสุดขั้ว ไม่ว่าจะเป็นความร้อนหรือความหนาวเย็นที่รุนแรง น้ำท่วมเฉียบพลัน เป็นต้น
ดังนั้น ในอนาคต จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดการอพยพของประชาชนจำนวนมาก ผู้อพยพจะหนีภัยธรรมชาติ เกิดความขัดแย้งในชุมชนต่างๆ และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศต่างๆ ไปทั่วโลก เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ชุมชนของโลกโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) จำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องของการป้องกันไม่ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยเฉลี่ยมากกว่า 2 องศาเซลเซียส
การเจรจาของผู้นำทั่วโลกในการประชุม COP21 จะประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร ทั่วโลกต่างมีความหวังว่าจะมีความคืบหน้าบ้าง อย่างไรก็ตาม ในด้านการมาตรฐาน ไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานก็มีความพยายามในการพัฒนามาตรฐานที่จะช่วยต่อสู้กับปัญหาสภาวะโลกร้อน รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง โปรดติดตามใน MASCI Innoversity ต่อไปค่ะ
ความเห็นล่าสุด