บทความเรื่อง องค์กรทั่วโลกร่วมกำหนดมาตรฐานช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ได้นำเสนอเรื่องราวของไอเอสโอซึ่งกำลังสร้างร่วมมือในระดับโลกกับองค์กรทั่วโลกเพื่อปรับปรุงและขยายมาตรฐานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอกาศและช่วยให้โลกปรับตัวและลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สำหรับบทความในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอแนวทางการพัฒนาความร่วมมือและการประสานงานในเรื่องดังกล่าวขององค์กรทั่วโลกในระดับสากล ดังต่อไปนี้
ความร่วมมือและการประสานงานระดับโลก
ข้อมูลใหมที่ได้ช่วยให้เรามีความเข้าใจที่เด่นชัดขึ้นถึงสิ่งที่ต้องการจากมาตรฐานไอเอสโอในการก้าวไปข้างหน้า เลียริ่ง
อธิบายว่างานของเขาส่งผลให้เกิดการแนะนำหลักในหลายๆ ด้านเกี่ยวกับว่าไอเอสโอมีการเน้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการปิดช่องว่างได้อย่างไรและด้วยการระบุและการนำไปใช้ของความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศหลักๆ ในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเพิ่มการยอมรับของมาตรฐานก๊าซเรือนกระจกของไอเอสโอไปทั่วโลก
การสนับสนุนของ UNFCCC กับงานที่ทำกับ CCCC ในขอบข่ายของการประชุม COP21 ที่กรุงปารีสเป็นตัวอย่างของความร่วมมือดังกล่าว คณะกรรมการจะร่วมมือกับอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการการมาตรฐานยุโรป (European Committee for Standardization (CEN) ธนาคารโลก (World Bank) CDP, WRI, WBCSD และ Gold Standard
คณะอนุกรรมการวิชาการ ISO/TC 207/SC 7 ได้เน้นเกี่ยวกับกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ในการโฟกัสทรัพยากรในเรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วนที่สุดสำหรับมาตรฐานก๊าซเรือนกระจก มาตรฐานเรือนกระจกที่มีมากขึ้นได้รับการวางแผนเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งได้รับการกระตุ้นโดยการทบทวนของ CCCC รวมทั้งโครงการใหม่เกี่ยวกับมาตรฐานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
มาตรฐานก๊าซเรือนกระจกหลักของไอเอสโอกำลังมีการทบทวนเพื่อเพิ่มคุณค่าให้มากขึ้นและทำให้เหมาะสมสำหรับอนาคต ซึ่งจะมีการเน้นมากขึ้นด้านการวัดก๊าซเรือนกระจกด้วยคุณภาพที่สูงกว่าเดิม มีการรายงานและกิจกรรมทวนสอบในหลายๆ ระดับ และการวางแผนการพัฒนาคาร์บอนต่ำได้กลายเป็นวิธีการของก๊าซเรือนกระจกแบบใหม่ซ่งจำเป็นต้องมีการประเมินนโยบายคาร์บอนต่ำและโครงการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อค้นหาการสนับสนุนกลยุทธ์การพัฒนาคาร์บอนต่ำและสมรรถนะในการนำมาตรฐานก๊าซเรือนกระจกของไอเอสโอ
สิ่งสำคัญคือมาตรฐานเฉพาะสาขาสำหรับแนวทางในการนำไปใช้ การปรับใช้เพื่อสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการสร้างระบบทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยืดหยุ่นสำหรับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาขาที่สำคัญเป็นลำดับแรกสุดก็คือ สาขาอาหารและเกษตรกรรม น้ำ พลังงานและโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง
อย่างไรก็ตาม ในการที่จะมีผลกระทบที่เป็นประโยชน์ใดๆ นั้น มีความสำคัญยิ่งที่มาตรฐานก๊าซเรือนกระจกของไอเอสโอจะมีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก ประเด็นคือการแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดในการประชุมเดลีของคณะอนุกรรมการวิชาการ ISO/TC 207/SC 7 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า การลดผลกระทบและการนำไปใช้มีความเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น เพราะความล้มเหลวในการติดตามการลดก๊าซเรือนกระจกจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นความต้องการที่มากขึ้นในการนำไปปรับใช้เพื่อสร้างผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยิ่งไปกว่านั้น คณะอนุกรรมการดังกล่าว ปัจจุบัน ยังมีข้อเสนอการทำงานหัวข้อใหม่ที่มีการเปิดให้ลงคะแนนเสียงเพื่อนำมาตรฐานที่มีกรอบงานระดับสูงไปปรับใช้ด้วย
ภาษาร่วมกัน
Noer Adi Wardojo รองประธานคณะอนุกรรมการ ISO/TC 207/SC 1 และผู้นำของคณะทำงานเฉพาะกิจ SC 7 สำหรับวิธีการของก๊าซเรือนกระจกได้หยิบยกเอาหัวข้อวันมาตรฐานโลกในปี 2558 ขึ้นมา ซึ่งได้แก่ “มาตรฐาน – ภาษาร่วมกันของโลก” เพื่ออธิบายคุณค่าของ ISO 14080 มาตรฐานแนวทางก๊าซเรือนกระจกแบบใหม่ และในการพิจารณาว่าหากปราศจากมาตรฐานแล้ว โลกนี้จะเป็นอย่างไร
ในการเน้นความสำคัญของมาตรฐาน ควรมีการพิจารณาด้านที่ไม่เคยมีอยู่ เช่นผลลัพธ์ของความเสี่ยงในการจับคู่ปฏิบัติการด้านสภาพอากาศกับวิธีการซึ่งอาจไม่เข้ากัน เขาเห็นว่าการบรรลุความยินยอมพร้อมใจร่วมกันด้วยผู้ปฏิบัติด้านก๊าซเรือนกระจกเป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายหลักในการพัฒนามาตรฐาน ISO 14080
เป็นการดีมากที่องค์กรทั่วโลกมีความร่วมมือกันเพื่อกำหนดมาตรฐานในการช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์กรทั่วโลกนั้นเป็นองค์กรชั้นนำอย่าง UNFCCC, ธนาคารโลก, WRI, WBCSD และ Gold Standard ซึ่งได้มีการพัฒนามาโดยตลอดและประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งผู้ที่มีบทบาทด้านก๊าซเรือนกระจกหลายๆ องค์กร กำลังร่วมมือกันในการผลักดัน ISO 14080 ให้มีความเห็นพ้องต้องกันต่อไป
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองโลก เรามาร่วมให้กำลังใจให้องค์กรทั่วโลกประสบความสำเร็จในเรื่องดังกล่าวและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาสภาวะโลกร้อนกันนะคะ หากคุณผู้อ่านมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่าลืมแบ่งปันกับเราที่ MASCI Innoversity ได้เลยค่ะ
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2031
Related posts
Tags: Climate Change, Environment, Standardization
ความเห็นล่าสุด