ไอเอสโอหรือองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรสากลอิสระซึ่งมีสมาชิกเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติจำนวน 165 ประเทศ จากการเป็นสมาชิกนี้เอง จึงนำมาซึ่งผู้เชี่ยวชาญในการแบ่งปันความรู้และพัฒนามาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการตลาด อยู่บนพื้นฐานของความเห็นพ้องต้องกัน เต็มใจ ซึ่งสนับสนุนนวัตกรรมและเป็นการจัดเตรียมการแก้ไขปัญหาให้กับความท้าทายของโลก
ไอเอสโอจะทำทุกวิถีทางเพื่อดึงดูดและตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ผู้ควบคุมกฎหมาย ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
ผู้นำในสาขานี้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฐานสมาชิกอย่างกว้างขวาง ทำให้ไอเอสโอมีความเข้มแข็ง มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และกระบวนการพัฒนามาตรฐานที่ดี
การกำหนดกลยุทธ์ของไอเอสโอ ปี 2559 – 2563 (ค.ศ.2016 – 2020) จึงมาจากพื้นฐานที่มั่นคงและจะนำทางองค์กรให้มีการตัดสินใจในอีกห้าปีข้างหน้าได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตอบสนองต่ออนาคตซึ่งความท้าทายทางการเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม กฎหมาย เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาและการตรวจสอบระบบของไอเอสโออย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการตอบสนองต่ออนาคตและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไอเอสโอซึ่งจะยังคงเป็นทั้งโอกาสหลักและความเสี่ยงสำหรับไอเอสโอ
แผนกลยุทธ์ของไอเอสโอเน้นไปที่ทิศทางกลยุทธ์ 6 ด้านสำหรับไอเอสโอในช่วงปี 2559 – 2563 ซึ่งเป็นเอกสารกลยุทธ์ที่ชี้ทิศทางที่ปรับเปลี่ยนไปตามความจำเป็นเพื่อสะท้อนสมมุติฐานใหม่ ทิศทางกลยุทธ์ทั้ง 6 ด้านมีความเชื่อมโยงกันซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป
กลยุทธ์ของไอเอสโอปี 2559 – 2563 เป็นกลยุทธ์ที่รองรับพื้นฐานสำหรับแผนปฏิบัติการของไอเอสโอสำหรับประเทศกำลังพัฒนาปี 2559 – 2563 ซึ่งเน้นประเด็นที่เฉพาะเจาะจงสำหรับงานของไอเอสโอกับประเทศกำลังพัฒนา
มาตรฐานไอเอสโอ ใช้ได้ทั่วโลก
เป้าหมายของไอเอสโอคือการสร้างมาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องทั่วโลกออกมาสำหรับใช้ได้ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก
ในปี 2559 – 2563 มาตรฐานไอเอสโอจะมีการนำไปใช้ในทุกหนทุกแห่ง ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
- ทำให้มั่นใจว่าการรวบรวมมาตรฐานที่เชื่อถือได้นั้นมีการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิผลโดยอุตสาหกรรมและนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่ได้รับการยอมรับในด้านเศรษฐกิจ
- สร้างมาตรฐานสากลด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายและชัดเจน เป็นมิตรต่อผู้ใช้
- ทำให้สมาชิกของไอเอสโอมั่นใจว่าจะสามารถเข้าถึงตลาดได้อย่างประสบความสำเร็จและสนับสนุนการใช้มาตรฐานไอเอสโอและส่งมอบเนื้อหาของไอเอสโอให้กับลูกค้า
- เพิ่มการนำเอามาตรฐานไปใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มสมรรถนะทางธุรกิจ
- ระบุและตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า ด้วยการโฟกัสไปที่ว่าจะมีการใช้และเข้าถึงมาตรฐานไอเอสโอได้อย่างไร
- พัฒนาข้อมูลสนับสนุนที่เสริมมาตรฐานสากลซึ่งสมาชิกสามารถจัดเตรียมให้กับลูกค้าเมื่อต้องการ
- จัดเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรฐานการประเมินความสอดคล้องสากลที่นำไปใช้ได้กับทุกภาคส่วนและทุกชนิดของการประเมินความสอดคล้องที่ช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการนำมาตรฐานไปใช้
- นำนโยบายการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ซึ่งเป็นที่เข้าใจง่ายและได้รับการยอมรับนับถือโดยนักพัฒนาและลูกค้า
พัฒนามาตรฐานคุณภาพสูงด้วยการเป็นสมาชิกระดับโลกของไอเอสโอ
จุดแข็งหลักของไอเอสโอคือมีการกระจายอำนาจจากศูนย์กลางออกไป มีความเป็นมืออาชีพ มีระบบที่มีพื้นฐานจากสมาชิกเพื่อพัฒนามาตรฐานระหว่างประเทศ และด้วยการมีสมาชิกระดับประเทศซึ่งองค์กรสามารถระบุและตอบสนองความต้องการของตลาดและสังคม ดึงเอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย กว้างขวางเข้ามามีส่วนร่วม เผยแพร่มาตรฐานและสนับสนุนการนำไปใช้
ในการพัฒนามาตรฐานที่มีคุณภาพสูง มาจากความร่วมมือของประเทศสมาชิกของไอเอสโอทั่วโลก รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น โปรดติดตามตอนต่อในสัปดาห์หน้าค่ะ
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/iso_strategy_2016-2020_en_-_lr.pdf
Related posts
Tags: Standardization
Recent Comments