บทความเรื่อง“พัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย ISO 26000 ตอนที่ 1” ได้นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ องค์การสหประชาชาติได้รับเอาวาระ 2030 ไปปฏิบัติสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งรวมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 17 ประการเพื่อยุติความยากจน ต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกันและความไม่ เป็นธรรม และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศให้ได้ภายในปี 2573
ในเรื่องดังกล่าว มาตรฐาน ISO 26000 ด้านความรับผิดชอบทางสังคมก็เน้นไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ ประเด็นหลักด้าน สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สภาพแวดล้อม การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นปัญหาด้านผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งรวมอยู่ในสิ่งอื่นๆ ด้วย หลักการของโอกาสที่เท่ากันและไม่สร้างความแตกต่าง
บทความในตอนนี้ จะกล่าวต่อไปว่า แล้ว ISO 26000 จะตอบสนองต่อเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ได้อย่างไร
ศาสตราจารย์เอเดรียน่า รอเซนฟีลด์และเอเดรียน่า นอร์มา มาทิเนซจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลูฮันในอาร์เจนติน่า กล่าว ว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นการเตรียมโอกาสที่มีค่าเพื่อทำให้มีความก้าวหน้าในด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน เป้าหมายดังกล่าวเป็นการยืนยันอีกครั้งถึงความสำคัญของอิสรภาพ ความสงบ และความปลอดภัย สิทธิที่จะมีการพัฒนาและสิทธิที่จะมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่เพียงพอ รวมทั้งอาหารและน้ำ กฏหมายและกฎระเบียบ ต่างๆ ธรรมาภิบาล ความเท่าเทียมกันด้านเพศ การให้อำนาจแก่สตรี และการมีพันธสัญญาโดยรวมเพื่อปรับและทำให้สังคมเป็นประชาธิปไตยเพื่อสนับสนุนการพัฒนางานดังกล่าว แนวทางนี้คล้ายคลึงกับมาตรฐาน ISO 26000 ซึ่งยอมรับว่าสิทธิมนุษยชนเป็น 1 ใน 7 หัวข้อหลัก
นอกจากนี้ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมเอาเป้าหมายในด้านความไม่เท่าเทียมกัน การให้อำนาจแก่สตรีและเด็ก รวมทั้งเป้าหมายเกี่ยวกับเพศที่ค่อนข้างเป็นประเด็นที่อ่อนไหว ดังนั้น มาตรฐาน ISO 26000 จึงได้แบ่งปันแนวทางที่ คล้ายคลึงกันนี้ไว้ด้วย มิติด้านเพศได้เข้าไปอยู่ในมาตรฐานระหว่างประเทศซึ่งแสดงอยู่ใน “ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศและความรับผิดชอบทางสังคม” และมีการแสดงถึงความเชื่อมโยงเชิงบวกระหว่างความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ และการ พัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม องค์กรจึงควรมีการทบทวนการตัดสินใจและกิจกรรมเพื่อกำจัดอคติด้านเพศและส่งเสริมความเท่าเทียมกันด้านเพศ
ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมยังเป็นหัวข้อหลักที่ดำเนินนการผ่านเป้าหมายกาพัฒนาอย่างยั่งยืน และหัวข้อหลักที่อยู่ใน มาตรฐาน ISO 26000
จากมาตรฐาน ISO 26000 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนก็คือเพื่อบรรลุความสามารถในการดำเนินการอย่าง ยั่งยืนเพื่อสังคมโดยรวมและเพื่อโลกของเรา การวิเคราะห์ที่ไอเอสโอดำเนินการในด้านนี้เป็นการแนะนำอย่างชัดเจนว่า องค์กรสามารถหาหัวข้อที่จะทำให้มีส่วนร่วมในความยั่งยืนโดยใช้มาตรฐานไอเอสโอ
ความสัมพันธ์ระหว่างเอกสารทั้งสองอย่างนี้นับว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีมาก ยกตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ที่ 13 ของ SDGs กล่าวว่า “ให้ลงมือทำอย่างเร่งด่วนในการต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ” และประเด็นที่ 3 ของมาตรฐาน ISO 26000 คือ “การลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัว” (ภายในหัวข้อหลัก “สิ่งแวดล้อม”) มาตรฐานระหว่างประเทศอธิบายถึงหัวข้อหลักด้วยการเตรียมข้อมูลในขอบข่าย ความสัมพันธ์กับความ รับผิดชอบทางสังคม หลักการที่เกี่ยวข้องและการพิจารณา และประเด็นที่เชื่อมโยงอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหัวข้อย่อย 6.5.5 ของมาตรฐาน ISO 26000 ซึ่งอธิบายประเด็นต่างๆ มีการเตรียมชุดของการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องและใช้ตัวอย่างของปฏิบัติการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามาตรฐานนี้ องค์กรทุกประเภท ทุกขนาด สามารถนำไปใช้ได้และการส่งเสริมความรับผิดชอบทาง สังคมในห่วงโซ่คุณค่า (หัวข้อหลัก 6.6 การดำเนินงานที่เป็นธรรม/ประเด็นที่ 4) จะมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของ SDGs
ในด้านความคาดหวังและแรงบันดาลใจเพื่อการใช้งานในอนาคตของมาตรฐาน ISO 26000 นั้น มาตรฐานนี้เป็นแนวทางที่องค์กรควรทำเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง มาตรฐานนี้ประกอบด้วยเครื่องมือที่มีคุณค่าสำหรับการนำเอาวาระการพัฒนาหลังปี 2015 ไปใช้งาน
เรื่องนี้ยังมีความสำคัญต่อความเป็นความตายของโลกในการที่จะเพิ่มการใช้งานมาตรฐาน ISO 26000 ให้ได้ และในการทำเช่นนี้ จำเป็นต้องทำให้หุ้นส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชนและสังคมพลเมืองมีความสามารถในเรื่องดังกล่าวซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้ SDGs มีความมั่นคงและบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนของโลกเรา
ที่มา: 1. http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2039
2. http://www.un.org/sustainabledevelopment/summit/
Recent Comments