เควิน แม็คคินเลย์ รักษาการเลขาธิการองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ได้เล่าว่าในตอนที่ได้เดินไปตามท้องถนนที่ปกคลุมไปด้วยหิมะเมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เขามีความรู้สึกประทับใจที่ได้รู้ว่ามีหัวหน้าจาก 40 รัฐและผู้นำจากภาคธุรกิจและสังคม จำนวน 2,500 คน ได้มาประชุมร่วมกันที่เมืองนี้และพูดถึงความท้าทายของโลกที่พวกเรากำลังเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบัน
ในหอประชุมใหญ่ เควิน แม็คคินเลย์ ได้พบปะผู้นำทางการเมืองหลายคน เช่น บัน คี มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ราเนีย อัล ยาซิน สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน จัสติน จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศแคนาดา ผู้บริหารของธุรกิจชั้นนำหลายบริษัทที่มารวมตัวกัน เช่น เฟสบุ๊ก แอร์บีแอนด์บี เนสท์เล่ มอนซานโต อีเกีย เขาได้พบกับผู้นำขององค์กรระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงอย่าง คริสทีน ลาการ์ด จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และจิม ยอง คิม ประธานธนาคารโลก นอกจากนี้ ยังได้พบปะดาราที่มีชื่อเสียงอย่าง ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอและเควิน สเปซี่ย์ด้วย
สำหรับหัวข้อการประชุมประจำปีของ World Economic Forum ระหว่างวันที่ 20 – 23 มกราคม 2559 คือ “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4”
ย้อนกลับไปในราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 โลกได้เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรไอน้ำ ตามมาด้วยการผลิตครั้งละมากๆ (mass production) รวมทั้งอิเล็กทรอนิกส์ในเวลาต่อมา ปัจจุบัน ระบบที่เป็นกายภาพด้านไซเบอร์ซึ่งเป็นนวัตกรรมอย่างหุ่นยนต์ พริ้นเตอร์สามมิติ รถยนต์ไร้คนขับได้ก้าวไปถึงสิ่งที่มนุษย์ไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ ขณะนี้ เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมแบบใหม่แล้ว
การพัฒนาเหล่านั้น เป็นหนึ่งในหัวข้อหลักที่มีการพูดคุยกันในช่วงเวลาดังกล่าว เช่น เทคโนโลยีใหม่จะช่วยสร้างโลกได้ อย่างไรและผลกระทบในประเทศกำลังพัฒนาจะมากขึ้นหรือไม่ เทคโนโลยีจะมีความหมายอะไรบ้างในการที่มนุษย์เราเข้า ไปมีปฏิสัมพันธ์ด้วย มีความท้าทายอะไรบ้างที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ เมื่อเร็วๆ นี้ สตีเฟ่น ฮอล์กกิ้ง นักฟิสิกส์ที่ ยิ่งใหญ่ของโลกได้กล่าวไว้ว่า ความแน่นอนที่ใกล้เข้ามาคือเทคโนโลยีจะคุกคามมนุษย์ในอีกไม่กี่พันปีข้างหน้า และถ้ามัน เป็นจริงละก็ เทคโนโลยีที่เป็นการปฏิวัตินี้จะพัฒนาความจำเป็นให้ต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์กำลังเป็นที่น่าสนใจและเป็นจินตนาการที่ปรากฎอยู่ในภาพยนตร์และในนิยายวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ แต่ในที่สุดก็กลายเป็นความจริง เควิน แม็คคินเลย์ได้พูดคุยกับแพ็ททริค แม็คเครย์ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับมาตรฐานการมีส่วนร่วมซึ่งจะทำให้เกิดยุคอุตสาหกรรมใหม่ ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการสร้างความก้าวหน้าในการปฏิวัติครั้งที่ 4 จะมีความจำเป็นต้องอาศัยมาตรฐานใหม่ระดับโลก ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสเท่านั้น แต่ยังเป็นการกำหนดความคาดหวัง ขอบข่ายและข้อจำกัดอีกด้วย
ตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของการสร้างความสัมพันธ์ของมาตรฐานและนวัตกรรมก็คือ มาตรฐาน ISO 13482 ในด้านความปลอดภัยของหุ่นยนต์ที่ใช้ดูแลส่วนบุคคล มาตรฐานนี้เป็นสิ่งที่นำไปใช้ได้สำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีมาตรฐานแล้ว อุตสาหกรรมหลายๆ อย่างก็จะไม่สามารถลงทุนในผลิตภัณฑ์และไม่ได้รับการยอมรับ
ปัจจุบัน ไอเอสโอได้ทุ่มเทให้กับการพัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับหุ่นยนต์รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีใหม่มีการแบกรับความเสี่ยงใหม่ๆ เอาไว้ด้วย เรื่องที่สำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งสำหรับองค์กรก็คือ การคุกคามทางไซเบอร์ ในช่วงที่มีการอภิปรายเรื่องนี้ เควิน สเปซี่ย์ นักแสดงชาวอเมริกันได้กล่าวเกี่ยวกับความกลัวของโซนี่พิคเจอร์สเมื่อปีที่แล้วซึ่งมีการแฮ็กข้อมูลว่าเป็นการปลุกให้ทุกคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มีความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าว และจริงๆ แล้ว เขาหมายถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย
เขาหยิบยกบทสรุปที่สำคัญที่ว่า ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นความท้าทายหลัก ของยุคดิจิตอลในปัจจุบันนี้ ซึ่งไอเอสโอมีการทำงานเชิงรุกมากในเรื่องนี้ โดยมีการพัฒนาเครื่องที่ช่วยองค์กรให้กำหนด โครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเข้มแข็งและตอบสอนต่อระบบ
การพูดคุยที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นที่เมืองดาวอสเกี่ยวข้องกับเมืองอัจฉริยะและโครงสร้างพื้นฐาน การย้ายถิ่นฐาน ของเมืองและการขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ในเมืองจะหมายถึงระบบที่มีการนำไปใช้ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรฐานที่ทำงานด้วยกันได้ มาตรฐานที่มีความสัมพันธ์กันเช่นนี้จะทำให้มีสมรรถนะและการปกป้องทรัพย์สินของเมืองและความปลอดภัยของชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง
อาคิม สไตเนอร์ ผู้อำนวยการบริหารของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้หยิบยกประเด็นเรื่องเมืองแห่งอนาคต ซึ่งได้รับการทำนายว่าโครงสร้างพื้นฐานของเมืองทั่วโลกจำเป็นจะต้องมีเพิ่มมากขึ้นถึงสองเท่าภายใน 35 ปีข้างหน้า ดังนั้น เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเราจะสร้างเมืองได้อย่างยั่งยืน
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีการพูดคุยและอภิปรายที่กระตุ้นความคิดได้มากมายและมีบทบาทที่มีศักยภาพของมาตรฐานไอเอสโอในหลายๆ แห่งซึ่งผู้นำส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยตระหนักถึงพลังและผลกระทบของมาตรฐานในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้ แต่สิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไป มาตรฐานไอเอสโอกำลังถูกมองว่าเป็นการจุดประกายให้เกิดการเข้าถึงตลาดและการแพร่กระจายเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งหากปราศจากนวัตกรรมแล้ว การพัฒนาตามที่มีการคาดหวังก็จะไม่อาจเกิดขึ้นได้
มาตรฐานยังคงเป็นคลังข้อมูลของวิธีปฏิบัติที่ดีของโลก มาตรฐานเป็นวิถีทางของการใช้วิธีการแก้ไขปัญหาความท้าทายของโลกที่ซับซ้อนสำหรับผู้คนและองค์กรที่จำเป็นต้องใช้มาตรฐาน สิ่งที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นเมื่อทั่วโลกต่างเห็นด้วยกันกับความจำเป็นในการใช้มาตรฐานของไอเอสโอในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการเติบโตที่รวดเร็วไปพร้อมๆ กับเทคโนโลยีใหม่และการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนโลกที่ยังยืนอย่างแท้จริง
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2044
Related posts
Tags: Standardization
Recent Comments