มีหลักฐานที่ได้รับการเปิดเผยว่ามีเพียงครึ่งหนึ่งของ SMEs เท่านั้นที่สามารถดำเนินงานต่อไปได้จนถึงปีที่ 5 สิ่งนี้บ่งบอกว่าการดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การสร้างพันธะสัญญาให้มีการบริหารความเสี่ยงและให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้น จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ SMEs อยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน
ไอเอสโอได้จัดทำคู่มือเล่มใหม่ที่ชื่อว่า ISO 31000 การบริหารความเสี่ยง – แนวทางเชิงปฏิบัติสำหรับ SMEs ( Risk Management – A practical guide for SMEs) ซึ่งเพิ่งตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อช่วยให้ SMEs สามารถเตรียมการเชิงรุกสำหรับความเสี่ยงและการปกป้องธุรกิจ
คู่มือเล่มนี้ ให้แนวทางที่ปฏิบัติได้จริงในการใช้ประโยชน์จากมาตรฐาน ISO 31000:2009 ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศในด้านการกระบวนการบริหารความเสี่ยง และรวมเอาแนวปฏิบัติที่ดีไว้ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์รวมทั้งการปฏิบัติงานประจำวัน
จอห์น ลาร์ค ผู้เขียนคู่มือนี้กล่าวว่า SMEs จำนวนมากไม่สนใจการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นทางการ ในขณะที่ SMEs ส่วนใหญ่ก็มีการจัดการความเสี่ยงอยู่ แต่ผู้นำของ SME จำนวนหนึ่งก็ไม่ได้พิจารณาที่จะนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นทางการไปใช้ โดยเชื่อว่าองค์กรของตนเองไม่ใหญ่พอที่จะดำเนินการระบบการบริหารความเสี่ยงหรือเพียงเพราะรู้สึกว่าองค์กรของตนเองยุ่งเกินไปที่จะทำ
อย่างไรก็ตาม เขาได้แนะนำว่า ความจริงแล้ว นี่เป็นโอกาสที่มีนัยสำคัญสำหรับ SMEs ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการบริหารความเสี่ยงอย่างมีโครงสร้างให้มากขึ้น ซึ่งมีการที่ SMEs นำเอาการบริหารความเสี่ยงไปใช้อย่างสอดคล้องกับกระบวนการและหลักการที่อยู่ในมาตรฐาน ISO 31000 สามารถประสบความสำเร็จมากขึ้นและอยู่ในตำแหน่งที่จะก้าวไปเป็นบริษัทใหญ่ได้
การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพนั้น ความจริงแล้ว ไม่ใช่เพียงแต่ธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะทำได้ คู่มือของไอเอสโอนี้ได้เขียนขึ้นมาสำหรับองค์กรขนาดเล็ก คนที่มีความมุ่งมั่นในเรื่องพลังงานและนำการบริหารความเสี่ยงไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะสามารถช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้
มาตรฐาน ISO 31000:2009 ได้ให้หลักการและแนวทางรวบยอดที่สามารถช่วยให้องค์กรทั้งหมดสร้างกระบวนการที่เข้มแข็งเพื่อระบุโอกาสและภัยคุกคาม และจัดการอย่างมีประสิทธิผล สามารถนำเรื่องความเสี่ยงไปใช้งานและทำให้ง่ายขึ้น
คู่มือ ISO 31000 การบริหารความเสี่ยง – แนวทางเชิงปฏิบัติสำหรับ SMEs นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อนำใช้ประกอบหรือใช้งานเสริมสำหรับมาตรฐาน ISO 31000 ซึ่งมีโครงสร้างของชุดรายการคำถามและปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องที่เป็นแนวทางให้ผู้ใช้ในการสร้างระบบการบริหารความเสี่ยงที่ประสบความสำเร็จ
ลาร์ค ผู้เขียนคู่มือนี้กล่าวว่า คู่มือเล่มนี้มีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงวิธีการนำการบริหารความเสี่ยงไปใช้อย่างมีประสิทธิผล มีรูปแบบคำถามและคำตอบรวมทั้งตารางที่ครอบคลุมชัดเจน และผู้อ่านสามารถอ่านข้ามไปยังหัวข้อของการบริหารความเสี่ยงที่สนใจได้โดยไม่จำเป็นต้องอ่านเรียงลำดับ
คู่มือเล่มนี้ได้รับการจัดพิมพ์ร่วมกันระหว่าง ISO ITU และ UNIDO ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือจากเว็บไซต์ของไอเอสโอ
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2034
Related posts
Tags: Standardization
เป็นประโยชน์กับสถานประกอบการ SMEs อย่างยิ่ง เนื่องจากสถานประกอบการระดับ SMEs จะมีความเสี่ยงที่แตกต่างจากธุรกิจขนาดอื่นๆ ทั้งยังมีงบประมาณและบุคลากรจำกัด การมีคู่มือนี้ขึ้นมา จะทำให้ SMEs นำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้น
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ และ SMEs ก็เป็นกลุ่มที่ภาครัฐและภาคอื่นๆ เห็นความสำคัญซึ่งมักจะจัดทำโครงการสนับสนุน SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ ไอเอสโอก็เป็นองค์กรหนึ่งที่เห็นความสำคัญของ SMEs จึงได้จัดทำคู่มือต่างๆ ขึ้นมาสำหรับ SMEs โดยเฉพาะ