ทุกวันนี้ มีการผลิตและใช้งานหลอดจำนวนนับพันล้านอันในแต่ละปี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ใช้หลอดในงานสังสรรค์รื่นเริงต่างก็ชื่นชอบกับการใช้หลอด
อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีการกำหนด“หลอด” เป็นมาตรฐานสากล แต่เมื่อไม่นานมานี้ ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานข้อกำหนดของหลอดโพลีโพรพิลีนสำหรับดื่ม (ISO 18188: 2016 Specification of polypropylene drinking straws) ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปสำหรับมิติและคุณสมบัติด้านสมรรถนะของหลอดพลาสติกซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความสม่ำเสมอหรือความคงเส้นคงวา
จากประวัติศาสตร์โลก คนกลุ่มแรกที่ใช้หลอดน่าจะเป็นชาวสุเมเรียนในยุคสี่พันปีก่อนคริสตศักราชซึ่งอาจจะใช้หลอดในการดื่มเบียร์ หลอดบางอันทำจากทองคำพร้อมด้วยอัญมณีสูงค่าที่มีสีน้ำเงิน เรียกว่า ลาพิส ลาซูลี่ (Lapis Lazuli) ในขณะที่หลอดชนิดอื่นๆ ทำจากกระดาษหรือหญ้าเท่านั้น ปัจจุบัน หลอดทำจากพลาสติกและใช้กับเครื่องมือชนิดต่างๆ
ไม่ว่าคุณจะดื่มน้ำผลไม้จากกล่อง ดื่มค็อกเทลจากแก้ว หรือดื่มมิลค์เชคจากถ้วยแก้ว การใช้หลอดมีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของภาชนะ มาตรฐาน ISO 18188 ครอบคลุมประเภทของหลอดที่ใช้ทั้งหมด เช่น หลอดประเภทเหยียดตรง หลอดที่ยืดหยุ่นได้ หลอดที่ขยายออกได้ หลอดที่มีรูปร่างเหมือนช้อนที่ใช้สำหรับตักน้ำแข็งปั่น หรือหลอดที่มีปลายแหลมที่ใช้สอดเข้าไปในภาชนะที่มีการผนึกไว้แล้ว หลอดประเภทต่างๆ เหล่านี้ ไอเอสโอได้จัดทำข้อกำหนดที่เหมาะสมเอาไว้แล้ว
มาตรฐานที่ใช้ระบุว่าพลาสติกจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดกับมาตรฐานของพลาสติกในท้องตลาดซึ่งพลาสติกนั้นต้องใช้สัมผัสกับอาหาร หลอดพลาสติกจะต้องแสดงถึงการทนต่ออุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นได้และสามารถหักงอได้โดยไม่แตกหัก
มาตรฐาน ISO 18188 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอ ISO/TC 61 คณะอนุกรรมการที่ 11 (Subcommittee SC 11, Products) ซึ่งดูแลรับผิดชอบด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีเลขานุการคือสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standard Committee: JISC)
คุณผู้อ่านสามารถศึกษามาตรฐาน ISO 18188 ได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือจากเว็บไซต์ของไอเอสโอ(http://www.iso.org/iso/search.htm?qt=ISO+18188%3A2016+&sort_by=rel&type=simple&published=on&active_tab=standards)
มาตรฐานข้อกำหนดหลอดพลาสติกสำหรับดื่มเป็นมาตรฐานใหม่ที่ช่วยให้ผู้ผลิตมีมาตรฐานในการผลิตหลอดพลาสติกอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค คุณผู้อ่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร ช่วยกันแบ่งปันประสบการณ์ได้ที่นี่ค่ะ
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2047
Related posts
Tags: ISO18188, Standardization
Recent Comments