บทความเรื่อง “มาตรฐานเกี่ยวกับแสงไฟ – “แสงสว่างเพื่อชีวิต” ตอนที่ 1” ได้แนะนำให้ท่านรู้จักกับผลกระทบของแสงที่ไม่เกี่ยวข้องกับสายตาซึ่งก็คือเรื่องของนาฬิกาแห่งชีวิต ความตื่นตัว รูปแบบการนอนหลับและอื่นๆ เช่น แสงเป็นตัวควบคุมระบบสรีรวิทยา ฮอร์โมนและพฤติกรรมและเพื่อตอบสนองต่อวงจรการนอนหลับและตื่นตลอดทั้ง 24 ชั่วโมงซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “จังหวะนาฬิกาชีวิต” นอกจากนี้ วิวัฒนาการของผลิตภัณฑ์หลอดไฟก็มีความก้าวหน้าตามไปด้วย โดยเปลี่ยนจากหลอดแอลอีดีแบบธรรมดาไปเป็นแสงไฟที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์ ที่เรียกว่า Human-Centric Lighting: HCL ซึ่งสามารถให้ประโยชน์ในด้านความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ในด้านสุขภาพ อารมณ์และด้านชีวภาพ โดยทำได้ด้วยหรี่แสงไฟเลียนแบบแหล่งแสงสว่างในระดับต่างๆ
ที่บริษัท เซ็นซิ่ง มีการให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ที่ใช้กับสายตาหรือการมองเห็นโดยมีการวัดคุณภาพแสงที่มีคุณภาพสูงและการประเมินความปลอดภัยด้านผลกระทบของแสงต่อสิ่งมีชีวิต บริษัทได้บุกเบิกนวัตกรรมสำคัญด้านแสงไฟมานานกว่าสิบปีแล้ว อันที่จริง บริษัทได้พัฒนาระบบหลอดไฟและหลอดไฟที่เหมาะสมกับจังหวะชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้มีการออกแบบให้สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่คาดว่าจะช่วยปรับปรุงเรื่องการนอนและสมรรถนะการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้นโดยการเลียนแบบวงจรเวลาในกลางวันและกลางคืน
ผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างระบบหลอดไฟและหลอดไฟซึ่งมีการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้โดยมหาวิทยาลัยชั้นนำและองค์การด้านสาธารณสุข ทำให้สาธารณชนเพิ่มความตระหนักของความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างแสงไฟและสุขภาพ เทคโนโลยียังได้ทำให้มีทางเลือกใหม่ในการช่วยสนับสนุนสุขภาพที่ดีด้วยการใช้แสงไฟที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสมและกับงานที่เหมาะสม
ผลกระทบของแสงไฟต่อร่างกายมนุษย์แสดงถึงโอกาสใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแสงไฟใหก้าวหน้า เช่นเดียวกับแนวทางและมาตรฐานแสงไฟแบบใหม่
บริษัท เซ็นซิ่ง เห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้เข้าร่วมในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 274 แสงและการส่องสว่าง (Light and lighting) เนื่องจากเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับอนาคตที่จะทำให้มีการเตรียมพร้อมสำหรับภาษาที่คงเส้นคงวาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และการปกป้องผู้บริโภคด้วย
ในขณะที่มุมมองเรื่องของการส่องสว่างกำลังวิวัฒนาการต่อไปนั้น เทคโนโลยีแต่ละชนิดก็เกิดขึ้นพร้อมกับข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบในแง่ของคุณภาพของแสงและประสิทธิภาพ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเหมือนเดิมก็คือ ความสำคัญของมาตรฐาน
คุณภาพ สมรรถนะและความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมด้านการส่องสว่างนั้นขึ้นอยู่กับมาตรฐานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์เรา
สำหรับคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 274 แสงและการส่องสว่าง (Light and lighting) มีเลขานุการคือสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศเยอรมัน โดยดูแลด้านการนำแสงไฟไปใช้งานซึ่งเสริมการทำงานของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านการส่องสว่าง (International Commission on Illumination: CIE) และร่วมมือกับ CIE ในการดูแลร่างมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบัน ไอเอสโอได้ตีพิมพ์เผยแพร่มาตรฐานที่เกี่ยวข้องไปแล้วจำนวน 16 ฉบับ เช่น ISO 8995-1: 2002 (CIE S 008/E: 2001) Lighting of work places – Part 1: Indoor, ISO 8995-3: 2006 (CIE S 016/E: 2005) Lighting of work places – Part 3: Lighting requirements for safety and security of outdoor work places, ISO 11664-1: 2007 (CIE S 014-1/E: 2006) Colorimetry — Part 1: CIE standard colorimetric observers และ ISO/CIE 19476: 2014 (CIE S 023/E: 2013) Characterization of the performance of illuminance meters and luminance meters เป็นต้น
แม้ว่านักวิจัยวิทยาศาสตร์จะยังมีคำถามอยู่มากมายในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแสง แต่ผลลัพธ์ประการแรกที่เกิดขึ้นจากการนำไปใช้ของสิ่งใหม่ๆ เหล่านี้ในด้านผลกระทบที่ไม่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นของแสง ได้เปิดมุมมองและอนาคตให้มีการพัฒนาต่อไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่รอเราอยู่เบื้องหน้าและเป็นความท้าทายอย่างมาก ได้แก่ การพัฒนาความรู้ในเรื่องระบบแสงไฟในอนาคตซึ่งจำเป็นต้องมีการวิจัยและการให้ทุนวิจัยเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าและเติมเต็มสิ่งที่จะส่งมอบให้กับลูกหลานในอนาคตของเราต่อไป ซึ่งก็คือ “แสงสว่างเพื่อชีวิต” นั่นเอง
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2054
Related posts
Tags: lighting, standard, Standardization
Recent Comments