เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2559 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและกูเกิ้ลได้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างข้อมูลดาวเทียมที่มีความคมชัดและความละเอียดสูงเพื่อเป็นเครื่องมือประจำวันในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของโลกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เลขาธิการโฮเซ่ กราซิอาโน ดา ซิลวา และรีเบคก้า มัวร์ ผู้จัดการวิศวกรรมของกูเกิ้ลเอิร์ธที่ Google Earth Outreach and Earth Engine เห็นด้วยกับการจัดการเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อครั้งมีการประชุม COP21 ที่กรุงปารีสเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งได้ทำความตกลงร่วมมือระหว่างกัน ความร่วมมือนี้ทำให้ผู้จัดการด้านทรัพยากรและนักวิจัยในหลายประเทศทำการวัดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่สามารถมองเห็นได้จากดาวเทียม วิธีการที่จะทำให้สามารถพัฒนาในเรื่องนี้ได้อย่างก้าวกระโดดก็คือ การประเมินสมรรถนะการจัดเก็บคาร์บอนหรือวางแผนแนวทางของประเทศต่างๆ เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ข้อมูลด้านป่าไม้เชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์นับว่าเป็นก้าวแรกของการปฏิวัติการจัดการทรัพยกรธรรมชาติที่เกือบจะเป็นแบบเรียลไทม์
ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่รับรู้ได้จากทางไกลที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่ายจะทำให้มีการจัดการป่าไม้จากเดิมที่มีการรายงานแบบเก่าไปเป็นแบบเรียลไทม์ ดังนั้น จึงเป็นการเปิดมุมมองใหม่ไปสู่การรับรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่น่าทึ่ง ในขณะที่ FAO และ Google ก็พยายามผลักดันให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีระดับความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
สิ่งที่ต้องเน้นอย่างแรกเลยคือในภาคส่วนของป่าไม้ซึ่งเมื่อผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศของประเทศต่างๆ ผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นแล้ว ก็จะสามารถใช้ซอฟต์แวร์ของ FAO และ Google ได้ซึ่งจะทำให้เข้าถึงการจัดเก็บข้อมูลด้านป่าไม้เชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เพื่อนำไปใช้งานภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง การแยกและการจัดทำแผนที่ซึ่งปกติเคยใช้เวลานานนับสัปดาห์หรือนับเดือน
โอกาสสำหรับความร่วมมือในอนาคตยังมีอยู่อีกมากมายและอาจนำไปสู่นวัตกรรมในประเด็นต่างๆ เช่น โภชนาการอาหารที่ถูกต้อง การควบคุมแมลง ไปจนถึงการจัดการน้ำและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความเข้าใจในผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การวางแผนการพัฒนาประสิทธิภาพของการผลิตและการกระจายอาหารและการติดตามความก้าวหน้าต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และมีการจัดเก็บด้วยความถี่ที่เหมาะสมในด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลง
การเป็นหุ้นส่วนในลักษณะนี้เป็นการทำเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และทำให้ผลิตภัณฑ์ของ Google สามารถนำไปใช้งานได้จริง และ Google ก็มีความเห็นว่าบริษัทสามารถนำจุดแข็งที่ไม่เหมือนใครไปช่วยเปลี่ยนแปลงอนาคตของคนรุ่นใหม่ได้
การผสมผสานความสามารถอันโดดเด่นของ FAO กับ Google เข้าด้วยกันทำให้ก้าวข้ามจากจุดเดิมไปสู่การสร้างนวัตกรรม ซึ่ง FAO มีศูนย์ควบคุมแมลงซึ่งได้ใช้ Earth Engine ในการพัฒนาการทำนายและการควบคุมการแพร่ระบาดของฝูงตั๊กแตน อันที่จริง ดาวเทียมไม่สามารถตรวจจับแมลงที่น่ากลัวนี้ได้ด้วยตัวเองแต่สามารถเร่งให้มีการระบุบริเวณที่มีแนวโน้มจะเกิดการแพร่พันธุ์ของตั๊กแตนได้ ทำให้สามารถแทรกแซงในบริเวณดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังช่วยลดการสูญเสียผลผลิตและส่งเสริมสุขภาพของพืช มีการติดตามป่าไม้ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์มากในคอสตาริก้า เนื่องจากมีนกและแมลงที่มาเกาะกินและทำอันตรายต่อพืชไร่กาแฟ (coffee berry borer beetle) เป็นจำนวนมากกว่า 70% ของผลผลิตที่มีอยู่
นอกจากนี้ ยังมีผู้เข้าร่วมใช้งานนวัตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการติดตามด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้การจัดการข้อมูลผ่านบริการที่เปิดให้ฟรีที่เว็บไซต์ http://www.openforis.org/ และการรวบรวมข้อมูลผ่าน Google Earth ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความแม่นยำสูงที่เว็บไซต์ http://www.openforis.org/tools/collect-earth.html และในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ทีมงานจากนาซ่าจะไปเยี่ยมชมวิธีการใช้เครื่องมือดังกล่าว
Google ได้มีการเก็บรวบรวมภาพถ่ายดาวเทียมย้อนไปถึงปี 2515 (ค.ศ.1972) และมีข้อมูลที่เพิ่งเพิ่มเติมเมื่อเร็วๆ นี้จากระบบการติดตามพื้นดินของยุโรปที่เรียกว่าคอร์เปอร์นิคัส ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาแบบเรียลไทม์ ทำให้มีข้อมูลที่ทันสมัย โดยมีการติดตามครอบคลุมบริเวณที่เคยติดตามไว้ทุกๆ 5 วัน นอกจากนี้ Google ยังพยายามที่จะยอมให้มีการติดตามข้อมูลทางไกลเพื่อดูแนวโน้มของน้ำและแหล่งน้ำที่เหลืออยู่ด้วย
ภาพถ่ายดาวเทียมไม่อาจเข้ามาแทนที่ความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญได้ แต่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ คุณภาพ ความโปร่งใส ความเชื่อถือได้ และเหนือสิ่งอื่นใด คือ การทำงานที่ทันท่วงที ประสิทธิผลของการรวบรวมข้อมูลและการทวนสอบการทำแผนที่ที่มีอยู่ (ซึ่งแผนที่มีความสำคัญต่อสินค้า เช่น ในการตรวจสอบยอดขายและลูกค้าหรือลูกจ้าง การตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ต่างๆ ในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นต้น)
ตัวอย่างเช่น การซูมภาพเข้าไปดูบริเวณที่มีการสูญเสียป่าไม้ไปชั่วคราวเนื่องจากการเก็บเกี่ยวและการตัดไม้อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ซึ่งเป็นความแตกต่างทางเทคนิคในแง่ของการกักเก็บคาร์บอน (carbon sequestration) ในทำนองเดียวกัน ประชาชนก็สามารถทำให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการติดตามผลหากมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง
เรอเน่ คาสโตร ผู้ช่วยเลขาธิการกล่าวว่า FAO จะสามารถประเมินผลป่าไม้ทุกๆ 10 วันและในอนาคตอันใกล้ จะรวมไปถึงการประเมินพืชผลที่เป็นอาหารซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย
เทคโนโลยีใหม่ๆ มีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง มนุษย์เราสามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ทำให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติและเป็นการพัฒนาอย่างอย่างยืนต่อไป
หากคุณผู้อ่านมีประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถเขียนมาแบ่งปันเรื่องราวกับเราที่ MASCI Innoversity ได้ค่ะ
ที่มา: http://www.fao.org/news/story/en/item/410307/icode/
ความเห็นล่าสุด