ประสบการณ์ที่ประชาชนในชนบทและนักท่องเที่ยวในแดนไกลมีเหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ ความยากลำบากในการ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีสามารถช่วยเราได้ หากว่าเราเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปในถิ่น ทุรกันดารและพอช่วงเที่ยงคืน ปรากฎว่าเป็นไข้สูง เราเพียงแค่เปิดคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าไปในเว็บไซต์หลายแห่งที่ให้บริการทางการแพทย์ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ภายในเวลาไม่กี่นาที ก็จะได้รับวิดีโอที่ให้คำแนะนำจากแพทย์ซึ่งจะทำการประเมิน อาการไข้ และให้คำแนะนำในการปฏิบัติ รวมทั้งอาจมีการสั่งยาให้ในบางกรณี
นี่คือโลกของการแพทย์ทางไกลหรือการดูแลสุขภาพทางไกลซึ่งระยะทางไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการบริการแต่อย่างใด และ การใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารทางไกลจะเป็นตัวสนับสนุนการดูแลทางการแพทย์ทางไกล
ดร.ไรอัน โคปแลนด์ ผู้อำนวยการทางการแพทย์ระดับภูมิภาคของ International SOS ซึ่งให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ ในท้องถิ่นที่ห่างไกลแก่ลูกค้านับล้านคนทั่วโลก กล่าวถึงมาตรฐานคู่มือข้อมูลสุขภาพ บริการทางการแพทย์ทางไกล การ วางแผนคุณภาพ (ISO/TS 13131 Health Infomatics – Telehealth Services – Quality Planning Guidelines) ว่าสามารถสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรในด้านความช่วยเหลือทางการแพทย์ทางไกลที่มีคุณภาพ และปกป้องข้อมูลส่วนตัว ของลูกค้าซึ่งเป็นตลาดใหม่ทางการแพทย์ที่มีลูกค้าเป็นกลุ่มตลาดเฉพาะ
International SOS เป็นบริษัทแรกของโลกที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/TS 13131 และเป็นผู้ให้บริการทางการแพทย์ทางไกลซึ่งในสถานที่บางแห่ง บริการทางการแพทย์ไม่อาจเข้าถึงได้โดยไม่มีอุปสรรคด้านภาษาหรือวัฒนธรรม บริการดังกล่าวสามารถให้ข้อมูลทางการแพทย์ คำแนะนำและการอ้างอิงได้ทุกวันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง (24/7) สำหรับลูกค้าที่ต้องเดินทางหรือทำงานในต่างประเทศ
ดร.โคปแลนด์ได้ให้สัมภาษณ์วารสารไอเอสโอโฟกัสซึ่งกล่าวถึงความสำคัญของการบริการทางไกลทางการแพทย์และมาตรฐาน ISO/TS 13131 ไว้ดังนี้
ประโยชน์ที่สำคัญที่สุด คือ การแก้ไขปัญหาโดยการลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและการเพิ่มสมรรถนะของระบบโดยรวม สำหรับคนไข้แล้ว การเข้าถึงคำแนะนำทางการแพทย์ได้ยี่สิบสี่ชั่วโมงตลอดเจ็ดวันจากที่บ้าน ที่ทำงานหรือจากการเดินทางไกล เป็นสิ่งที่คนไข้คาดหวัง สำหรับบริษัทประกัน การดูแลสุขภาพทางไกลเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลและประหยัดค่าใช้จ่ายหากเปรียบเทียบกับการที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลแบบเร่งด่วน
บริการดังกล่าวเป็นการจัดหาทรัพยากรพื้นฐานสำหรับแก้ไขปัญหาต่างๆ และเป็นการจัดเตรียมแนวทางเริ่มต้นในการปรับปรุงผลลัพธ์ในระยะยาว (ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล)
สำหรับโรงพยาบาล จะได้รับประโยชน์จากการลดจำนวนคนไข้เฉียบพลันที่มาใช้บริการห้องฉุกเฉิน ส่วนลูกจ้าง จะช่วยลดจำนวนชั่วโมงของการสูญเสียเวลาจากการเดินทางและการรอคอย นอกจากนี้ ยังส่งเสริมข่าวสารเชิงบวกสำหรับพนักงานและช่วยให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบัน บริการทางการแพทย์ทางไกลเป็นสิ่งที่นายจ้างให้ความสนใจและนำมาใช้ในองค์กรเพื่อลดค่าใช้จ่ายและปรับปรุงประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงมีบริษัทต่างๆ ให้ความสนใจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แนวทางในการส่งมอบบริการนี้จึงต้องมั่นใจได้ว่ามีคุณภาพที่คงที่และมีนโยบายที่จะปกป้องและดูแลข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นความท้าทายของมาตรฐานนี้ก็คือ เทคโนโลยี ความมั่งคงปลอดภัยของข้อมูล การเข้าถึงบริการได้จากทั่วโลก การลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เพื่อตรวจรักษาทางไกล การฝึกอบรม และโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้สนับสนุนบริการนั้นมีความสำคัญ เมื่อใดที่เทคโนโลยีพร้อมใช้แล้ว ก็จะต้องมีกระบวนการด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่เข้มงวดเพื่อปกป้องดูแลความเป็นส่วนตัวของคนไข้
การเข้าถึงจากทั่วโลกและสมรรถนะในการให้บริการจึงเป็นความท้าทายหลักของบริการนี้ และเนื่องจากกฎระเบียบในการส่งมอบบริการข้ามเขตแดนมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ผู้เชี่ยวชาญระดับภูมิภาคจึงจำเป็นต้องมี เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น การรู้ชื่อยาเฉพาะท้องถิ่น ไปจนถึงการพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้นของเครือข่ายการตรวจสอบ ผู้ให้บริการ ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ (กรณีได้รับคำแนะนำให้รักษาด้วยตนเอง)
สำหรับองค์กรที่ต้องการได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/TS 13131 จะต้องแสดงให้เห็นว่ามีการนำการบริหารและ กระบวนการต่างๆ ไปใช้ดังต่อไปนี้ การบริหารกระบวนการคุณภาพของการให้บริการ การบริหารทรัพยากรทางการเงินเพื่อสนับสนุนบริการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับคนเช่น การวางแผนผู้ปฏิบัติงาน การวางแผนการให้บริการทางการแพทย์ และความรับผิดชอบ เป็นต้น
ในอนาคต เป็นที่คาดว่าการบริการการแพทย์ทางไกล จะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง การตรวจรักษาที่กระชับ รัดกุม แต่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีจะช่วยขับเคลื่อนบริการทางการแพทย์ทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2064
Related posts
Tags: ISO/TS13131, standard, Standardization, telehealth, telemedicine
Recent Comments