• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in or Register
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    13,431 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    10,291 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    8,778 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    8,224 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    7,192 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO ISO45001 IT Management Strategy Media Mobile Occupational health and safety Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Strategic Management | Innovation Management | — May 9, 2016 8:00 am
ลีนและนวัตกรรมที่ยั่งยืนกับการเรียนรู้ ตอนที่ 3
Posted by Phunphen Waicharern with 2493 reads
0
  

SKILLED-PEOPLE-is-NEEDED-in-LEAN-MANAGEMENT3บทความเรื่อง “ลีนและนวัตกรรมที่ยั่งยืนกับการเรียนรู้” ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ได้นำเสนอเรื่องของการพัฒนาแบบลีนและความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ซึ่ง “คน” ถือเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนา โดยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น ลีนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะนักพัฒนาด้วยการฝึกอบรมทางวิชาการและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีขึ้น ด้วยการสร้างนักพัฒนาให้บรรลุความเชี่ยวชาญส่วนบุคคลเพื่อผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีขึ้น และองค์กรสามารถส่งเสริมความเชี่ยวชาญส่วนบุคคลได้โดยการถามคำถามซ้ำๆ 3 คำถามพื้นฐาน คือ 1) เราต้องการที่จะเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับลูกค้า ผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตของเราเพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น 2) เราเรียนรู้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างไร 3) โครงสร้างองค์กรและงานประจำแบบไหนที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดีที่สุด

สำหรับบทความในตอนจบนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของข้อ 3 กล่าวคือ ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ และกระบวนการที่ดีที่สุดก็คือการกระตุ้นให้เกิดการทำงานเป็นทีมและการเรียนรู้มากกว่าการสั่งการตามรายละเอียดของผังงาน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่เหลื่อมกันอยู่ 5 ระยะดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1 แนวคิดเริ่มแรกซึ่งเจ้าของโครงการหรือทีมหลักระบุการนำเสนอคุณค่าและมุมมองที่ยืดหยุ่นหรือที่กำหนดไว้ของผลิตภัณฑ์ที่มี
รายละเอียด

ระยะที่ 2 การออกแบบในตอนแรกเริ่ม หรือการศึกษา เป็นขั้นตอนซึ่งมีการค้นพบหลักการยืดหยุ่นที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีทางเลือกและแผนกงานที่มีหน้าที่ต้องทำการค้นหาข้อตกลงของวิธีการที่จะได้แนวคิดที่ต้องการในระดับลึกลงไปของระบบ

ระยะที่ 3 การออกแบบรายละเอียดที่มีพื้นฐานอยู่บนการนำมาตรฐานไปใช้

ระยะที่ 4 ก่อนการผลิตในการเตรียมวิธีจัดระเบียบระบบการผลิตและซัพพลายเชนเพื่อทำการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่

ระยะที่ 5 การทำเครื่องมือและโปรโตไทป์ที่เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์

ระยะที่แตกต่างกันดังกล่าวสะท้อนถึงธรรมชาติที่มีการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพราะขั้นตอนเหล่านั้นขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในขั้นต่อไปขึ้นอยู่กับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมในปัจจุบันที่มีการวางแผนโครงการรายละเอียดอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น

ในระยะแรก มีการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับลูกค้าเพื่อประเมินความต้องการของลูกค้าและการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทางเทคโนโลยีเพื่อที่จะเข้าใจข้อจำกัดและความสามารถของการแก้ปัญหาที่มีอยู่ นักพัฒนาเมื่อมีการเรียนรู้ ก็จะสามารถสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์เพื่อแบ่งปันความรู้กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และเมื่อมีการอภิปรายร่วมกัน ทีมก็จะตัดสินใจเกี่ยวกับแง่มุมของแนวคิดที่จะมีความสอดคล้องกับมาตรฐาน (ซึ่งอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดแรกเริ่ม) และในขอบข่ายซึ่งยืดหยุ่นได้ (ซึ่งผลิตภัณฑ์อาจจะจำเป็นต้องก้าวไปไกลกว่ามาตรฐานที่มีอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องมีนวัตกรรม) ดังนั้น ระยะแรกจึงเป็นการสรุปด้วยแนวคิดผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุขอบข่ายอย่างชัดเจนในเวลาที่กำหนดและด้วยแผนงานทรัพยากรข้ามฝ่ายงานซึ่งต้องเห็นชอบร่วมกันในการสนับสนุนแนวคิด เช่น ที่โตโยต้า การอนุมัติแนวคิดอยู่ในระดับของคณะกรรมการบริษัท

ในระยะที่สอง เป็นระยะที่ทำการศึกษา เน้นไปที่มุมมองของผลิตภัณฑ์ที่ยืดหยุ่น แนวคิดคือการพิจารณาทางเลือกหลายทางสำหรับระบบย่อยในการทดสอบและกำจัดจุดอ่อนของแนวคิด และทำให้มั่นใจถึงความเข้ากับได้ของระบบย่อยที่สวมต่อกันและด้วยสมรรถะการผลิตก่อนที่จะลงลึกไปถึงการแก้ไขปัญหาตามโจทย์ที่ให้มา กระบวนการยังคงมีต่อเนื่องจนกระทั่งการออกแบบมาบรรจบกันที่การแก้ไขปัญหาซึ่งมาจากการทำงานที่เกี่ยวข้องทุกมุมมอง ตัวอย่างเช่น แนวคิดรถใหม่อาจจะมีพื้นฐานอยู่บนจำนวนการลดน้ำหนักในขณะเดียวกันก็มีระดับแรงบิดที่สูง เพื่อการถือพวงมาลัยที่ดีขึ้น และมาตรฐานใหม่สำหรับการปกป้องคนเดินเท้า เป็นต้น

วิศวกรรมการผลิตและนักออกแบบชิ้นส่วนที่อินเตอร์เฟสกันเพื่อสมรรถนะของระบบที่มีอยู่จะมีการทบทวนทางเลือกหลายๆ ทาง ทางเลือกที่ตอบสนองระบบมาตรฐานและข้อจำกัดได้ดีที่สุดจะได้รับการคัดเลือกเพื่อดำเนินงานต่อไป

การสร้างในระยะการศึกษานี้จำเป็นต้องติดตามข้อมูลอย่างน้อยที่จำเป็นต้องมีเพื่อหักล้างแนวคิดเดิมและออกมาจากการเลียนแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบในรายละเอียดจนกว่าจะเกิดทางเลือกที่เป็นไปได้สุดท้าย การพัฒนาการออกแบบในรายละเอียดเร็วเกินไปอาจเป็นความสูญเสีย (หากได้รับข้อมูลที่จำเป็นมาจากร่างแรก) ทีมที่พัฒนาการแบบลีนจะกำจัดความสี่ยงด้วยการมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่สำรองไว้เพื่อพร้อมที่จะก้าวไปหากแนวคิดใหม่ไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งสามารถทำให้ทีมมีการตัดสินใจที่ดี ระยะที่สองนี้รวมถึงแผนโครงสร้างที่เป็นจริงของแต่ละระบบย่อยและองค์ประกอบหลักพร้อมด้วยมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการออกแบบใหม่ที่จะรับไปใช้งาน

ถ้าระยะที่ 1 และ 2 ได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมแล้ว ระยะต่อมาก็จะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และไม่มีการทำงานซ้ำซ้อนอีก เนื่องจากทีมได้ใช้มาตรฐานในการออกแบบที่รัดกุมและสามารถกำจัดสิ่งที่ไม่รู้ออกไป หากระยะที่ 1 และ 2 สามารถทำได้ชัดเจนและมีความแน่นอนอยู่มาก ระยะที่ 3 – 5 ก็มักจะไม่มีปัญหา

นอกเหนือจากกระบวนการพัฒนา โครงสร้างองค์กรควรจะต้องสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของนักพัฒนาด้วย วิศวกรหัวหน้ามีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จของตลาดและต้องมีการตัดสินใจทางเทคนิคในขั้นสุดท้าย (ต้องเลือกว่าจะใส่อะไรลงในผลิตภัณฑ์หรือกำจัดอะไรออกไป)

“คน” ที่ยิ่งใหญ่ สามารถสร้าง “ผลิตภัณฑ์” ที่ยิ่งใหญ่ได้ เป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบลีนคือการทำให้นักพัฒนามีความก้าวหน้า สามารถเพิ่มความรู้และความสามารถในการแก้ไขปัญหาและริเริ่มการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ได้ “คน” เท่านั้นที่จะสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นในการสร้างนวัตกรรม หากทำเช่นนี้ได้ องค์กรของเราก็จะสามารถเอาชนะเรื่องที่สำคัญทั้งสามเรื่องนี้ได้ คือ นวัตกรรมที่เพิ่มขึ้น การเข้าสู่ตลาดด้วยเวลาที่รวดเร็วขึ้น และการลดค่าใช้จ่าย

การเรียนรู้จึงนับว่าสิ่งสำคัญของการพัฒนาแบบลีนและการสร้างนวัตกรรม วันนี้ องค์กรของเราพร้อมที่จะเรียนรู้เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนแล้วหรือยัง?

ที่มา: 1. http://sloanreview.mit.edu/article/why-learning-is-central-to-sustained-innovation/?use_credit=db20613d4556a700b9a55120254dfa1b
2. http://techno.kpru.ac.th/logistics/index.php/e-learning/13-e-learning/16-4?showall=1&limitstart



Related posts

  • แนวโน้ม 5 ประการ กำหนดอนาคตการบริหารคนแนวโน้ม 5 ประการ กำหนดอนาคตการบริหารคน
  • ทำไมต้องเป็น “อุตสาหกรรม 4.0”ทำไมต้องเป็น “อุตสาหกรรม 4.0”
  • FDA สหรัฐ เตรียมใช้ ISO 13485 แทนกฎระเบียบเครื่องมือแพทย์FDA สหรัฐ เตรียมใช้ ISO 13485 แทนกฎระเบียบเครื่องมือแพทย์
  • มาตรฐานเพื่อโลกอนาคตที่เชื่อมต่อกันด้วย IoT ตอนที่ 1มาตรฐานเพื่อโลกอนาคตที่เชื่อมต่อกันด้วย IoT ตอนที่ 1
  • สร้างคุณค่าแบรนด์ยุคใหม่ด้วย ISO ISO 20671 ตอนที่ 2สร้างคุณค่าแบรนด์ยุคใหม่ด้วย ISO ISO 20671 ตอนที่ 2

Tags: lean, lean management, Management Strategy, Strategic Management

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2021 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑