เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของอังกฤษได้นำเสนอข่าวความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมในเอเชียซึ่งมีประเทศเวียตนาม ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ ร่วมมือสร้างความร่วมมือในภูมิภาค
โครงการระหว่างประเทศจำเป็นต้องอาศัยเวลาและความพยายามไปพร้อมๆ กับคำถามที่ว่าการทำงานร่วมกันจะคุ้มค่าหรือไม่ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค เราได้เห็นข้อตกลงทางการค้า การลงทุนและด้านแรงงานมามากมาย เราเห็นความร่วมมือและการทำงานร่วมกันในภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งโครงการที่สนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปกป้องดูแลสิ่งแวดล้อม
แม้ว่าจะมีความซับซ้อนในโครงการพัฒนาต่างๆ แต่จากข้อมูลของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ระบุว่าโครงการต่างๆ ประสบความสำเร็จมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าการทำงานร่วมกันนี้มีความคุ้มค่าแน่นอน โดยมีตัวเลขที่แสดงได้เห็นว่าเงินกู้ยืมและโครงการให้เงินทุนของ ADB มากกว่า 80% ได้รับการอนุมัติในปี 2003 – 2014 และเป็นการสนับสนุนความร่วมมือของภูมิภาคซึ่งประสบความสำเร็จโดยเฉลี่ยจากการประเมินการทำงานจากหน่วยงานภายนอกซึ่งเป็นอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือของโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ซึ่งสามารถสร้างความร่วมมือที่ใกล้ชิดกันระหว่างประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย เวียดนามและแคว้นยูนนานของประเทศจีน โครงการดังกล่าวได้ช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวและการบริการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ก่อให้เกิดการสร้างงานท้องถิ่นมากขึ้นและการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมากขึ้น
ความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานต้องดำเนินต่อไป แต่จะต้องมีการจัดการร่วมกันในด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การควบคุมมลพิษทางน้ำและทางอากาศ การจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม้และการประมง ซึ่งต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ การลงทุนของ ADB รวมถึงโครงการที่จะอนุรักษ์ระบบนิเวศทางน้ำในสามเหลี่ยมปะการัง (คือมาเลเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอนและติมอร์-เลสเต) และโครงการการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพใน GMS กิจกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องขยายผลเพื่อช่วยดูแลในเรือ่งข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ตัวอย่างด้านเกษตรกรรม มีโครงการที่สนับสนุนหลายโครงการ เช่น
• Core Agriculture Support Program Phase I (2006-2010)
• Core Agriculture Support Program Phase II (2011-2020)
• GMS Working Group on Agriculture
• GMS Agriculture Information Network Service
ตัวอย่างด้านพลังงาน มีการสนับสนุนหลายด้าน เช่น การเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ การพัฒนาทรัพยากรให้มีการหมุนเวียนกลับมาใช้ภายในประเทศและการพัฒนาคาร์บอนต่ำ การปรับปรุงความร่วมมือด้านพลังงานในภูมิภาคและความมั่นคงปลอดภัยด้านพลังงาน การส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชนในการพัฒนาพลังงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนในด้านโทรคมนาคม การท่องเที่ยว การค้า การขนส่ง และในภาคส่วนอื่นๆ ด้วย (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.adb.org/countries/gms/sector-activities)
ADB ยังมีโครงการที่จะพัฒนาความสามารถด้านความเสี่ยงทางการเงินในแปซิฟิค เพื่อจับักษะและชุมชนตามชายฝั่งให้มีความสามารถในการจัดการกับระบบนิเวศและสร้างความยืดหยุ่นเพื่อต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความร่วมมือและการรวมตัวกันในระดับภูมิภาคนั้นยังช่วยลดปัญหาความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันในประเทศต่างๆ ในเอเชียให้มีการยกระดับรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย
ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียต่างมีความตั้งใจที่จะสานต่อความร่วมมือเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีและโอกาสทางเศรษฐกิจต่อไป และในอนาคต เชื่อว่าความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมจะทำให้เอเชียสามารถเติบโตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีไปพร้อมๆ กับการมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นได้
ที่มา: 1. http://www.theguardian.com/global-development/2016/apr/28/from-preserving-ecosystems-to-building-airports-asia-needs-to-work-together
2. http://www.adb.org/countries/gms/sector-activities
Related posts
Tags: collaboration, ecosystems, Environment, Environmental
Recent Comments