ทักษะการเป็นหมอตำแยของคนในชุมชนต่างๆ สามารถช่วยชีวิตทารกและผู้หญิงท้องแก่จำนวนมาก แต่ในหลายพื้นที่ของโลกขาดแคลนแพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์ หรือแม้แต่หมอตำแย
ในประเทศอินโดนีเซีย ครอบครัวที่ยากจนมักประสบปัญหาดังกล่าว สองปีที่ผ่านมา มีเพียงหนึ่งในห้าของผู้หญิงในครอบครัวที่ยากจนที่สุดของประชากรสามารถคลอดบุตรโดยได้รับการช่วยเหลือจากผู้ที่มีทักษะในการทำคลอด
แต่ในช่วงปี 2007 ถึง 2012 ชาวอินโดนีเซียได้รับความช่วยเหลือมากขึ้นจากบุคลากรที่มีทักษะในการทำคลอด กล่าวคือ มีจำนวนหญิงจำนวนสามในห้าคนที่ได้รับการทำคลอดอย่างถูกวิธี และเด็กเกิดใหม่ในสังคมที่ร่ำรวยนั้น ประมาณ 20% ได้รับการดูแลอย่างดี
เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่าเราจำเป็นต้องค้นหาวิธีที่จะช่วยเหลือและค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ยังด้อยโอกาสเพื่อให้พวกเขาได้มีการดูแลสุขภาพที่ดีเช่นเดียวกับกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยได้รับ
ในการช่วยให้ประเทศอินโนนีเซียได้ติดตามความไม่เท่าเทียมกันทางสุขภาพ องค์การอนามัยโลกจึงได้พัฒนาคู่มือที่เรียกว่า การประเมินความเท่าเทียมกันทางสุขภาพ (Health Equity Assessment Toolkit: HEAT) ขึ้นมาใช้งาน
HEAT เป็นแพ็คเกจซอฟต์แวร์ที่ใช้ข้อมูลจากการติดตามความเท่าเทียมกันขององค์การอนามัยโลกและสามารถช่วยเหลือมืออาชีพด้านสุขภาพและนักวิจัยในการค้นหาความไม่เท่าเทียมกันทางสุขภาพในประเทศต่างๆ และผู้ใช้งานยังสามารถเปรียบเทียบสถานะความไม่เท่าเทียมกันในประเทศของตนเองกับประเทศอื่นๆ ด้วย
เมื่อเดือนเมษายน 2559 องค์การอนามัยโลกได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในประเทศอินโดนีนเซียและจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการประเมินข้อมูลความไม่เท่าเทียมกันของประเทศในโปรแกรม HEAT โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศอินโดนีเซีย นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ
เมื่อเปรียบเทียบประเทศอินโดนีเซียกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ช่องว่างยังมีอยู่มาก ในบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคแปซิฟิคตะวันตก บางประเทศมีความพร้อมสำหรับการดูแลประชากรตั้งครรภ์โดยบุคลากรที่มีทักษะอยู่แล้ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจ การศึกษาและสถานที่ที่มีการคลอดบุตรด้วย แต่บางประเทศ กลับมีช่องว่างสูงกว่าประเทศอินโดนีเซียเสียอีก
ความเท่าเทียมกันเป็นหัวใจของวาระในการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) ทุกประเทศต่างแสดงความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือและไม่ยอมทิ้งประเทศใดไว้เบื้องหลัง SDGs มีการเน้นไปที่ชีวิดที่มีสุขภาพดีสำหรับคนทั่วโลกไม่ว่าจะมีอายุเท่าใดก็ตาม การวางตำแหน่งเรื่องความเท่าเทียมกันไว้เป็นประเด็นศูนย์กลางในเรือ่งสุขภาพ ในขณะเดียวกันก็เรียกร้องหใลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองของประชากรทั่วโลก
การมีระบบข้อมูลด้านสุขภาพที่เข้มแข็งที่มีการรวบรวม วิเคราะห์และรายงานข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันรวมถึงเรือ่งของสุขภาพมีความจำเป็นสำหรับการบรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมกันทางสุขภาพ และองค์การอนามัยโลกก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030 จะสามารถบรรลุเป้าหมายในที่สุด
ที่มา: http://www.who.int/features/2016/health-inequalities/en/
Recent Comments