จากประสบการณ์ทำงานของคนทำงานในปัจจุบัน มักพบว่ามีช่องว่างระหว่างคนทำงานที่มีวัยที่แตกต่างกัน เช่น คนเจน X กับคนเจน Y และคนเจน X กับคนเจน Z ที่แตกต่างกันมาก เป็นต้น ในบางองค์กร จะพบแต่คนเจน Y กับคนเจน Z เท่านั้น เนื่องจากมีบุคลิกลักษณะของความเป็นคนในยุคดิจิตอลค่อนข้างสูง การทำงานจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับอุปนิสัยด้วย จึงจะสามารถทำงานร่วมกันได้
คนเจน Z เกิดระหว่างปี 1966 และประมาณปี 2005 ดังนั้น อีกไม่ถึงสิบปี คนกลุ่มนี้จะเริ่มก้าวเข้าสู่วัยทำงานและมีจำนวนรวมถึง 60 ล้านคน มีการศึกษาที่เปิดเผยถึงความแตกต่างที่น่าแปลกใจระหว่างกลุ่มนักเรียนมัธยมปลายกับนักเรียนที่เพิ่งจบชั้นมัธยมปลายไม่นาน จำนวน 55,000 คนจากประเทศต่างๆ จำนวน 46 ประเทศ พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งต้องการทำธุรกิจเป็นของตนเอง ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือการเริ่มธุรกิจด้วยตนเองเป็นวิธีการที่จะสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นได้ ดูเหมือนว่าจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการของคนเจน Z ส่วนใหญ่ได้เริ่มต้นตั้งแต่วัยเรียนแล้ว
ในขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ของคนเจน Z กับเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียก็มีความซับซ้อนขึ้นด้วย หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์กล่าวอ้างคำพูดของนักศึกษามหาวิทยาลัยยูซีแอลเอคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของบล็อกเกอร์ว่า “เราเป็นคนที่ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคดิติจอลเป็นรุ่นแรกอย่างแท้จริง เราสามารถสร้างเอกสาร ตัดต่อ และโพสต์รูปลงบนอินสตาแกรมไปพร้อมๆ กับพูดโทรศัพท์ได้ ทั้งหมดนี้มาจากการมีปฏิสัมพันธ์ของการใช้งานที่เป็นมิตรจากไอโฟนของเรา”
ท่ามกลางความรุ่งโรจน์ของดิจิตอล สื่อสิ่งพิมพ์อย่างหนังสือพิมพ์ นิตยสารและหนังสือ กำลังจะตายจากไป คนเจน Z ก็มีความฉลาดและรู้
เท่าทันการใช้เครื่องมือแบบดิจิตอล พวกเขาชื่นชอบเครื่องมือที่เปิดกว้าง สามารถสร้างความร่วมมือและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างมีเป้าหมาย และให้ความสำคัญกับชุมชนจริงๆ มากกว่าโซเชียลมีเดีย เช่น พวกเขาคาดหวังที่จะซื้อของที่แอปสโตร์ของบริษัทอย่าง MyIT Service Broker เพื่อค้นหาการแก้ไขปัญหาที่มีส่วนร่วมของฝูงชน (Crowdsource) เป็นต้น
คนเจน Z คลั่งไคล้เทคโนโลยีมากกว่าคนเจน Y คนรุ่นนี้รู้เห็นเป็นพยานกับความเสี่ยงของเฟสบุ๊กจากการแชร์และแทนที่จะยุ่งกับมันมากจนเกินไป กลับมีความเข้าใจและรู้จักใช้ประโยชน์ ดังนั้น บริษัทที่จะจ้างงานคนเจน Z จึงมีโอกาสที่จะเชื่อมโยงความรู้ความสามารถและความมุ่งมั่นของคนกลุ่มนี้ได้ง่าย ซึ่งมีถึง 77% ที่ระบุว่าพวกเขาคาดหวังที่จะทำงานหนักมากกว่าคนรุ่นก่อน จากการวิจัยชิ้นหนึ่งยังแสดงให้เห็นว่าพวกเขาชื่นชอบความร่วมมือในการทำงานเป็นทีมเล็กๆ มากกว่า และมีการศึกษาจำนวนหนึ่งพบว่าคนเจน Z แสดงความเต็มใจที่จะทำงานกับคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยีน้อยลงกว่าเดิม
นอกจากนี้ คนเจน Z ก็ไม่ได้มองโลกในแง่ดีจนเกินไปเกี่ยวกับความคาดหวังทางการเงิน มีคนเจน Z จำนวน 56% เท่านั้นที่คาดว่าจะมีคุณภาพชีวิตและฐานะทางการเงินที่ดีกว่าคนรุ่นพ่อแม่เมื่อเทียบกับคนเจน Y ซึ่งมีจำนวนถึง 71% ที่คิดเช่นนั้น
บริษัทที่ลงทุนไปกับการเปลี่ยนแปลงของคนเจน Y ซึ่งล้อมรอบไปด้วยอุปกรณ์แท็บเล็ต แล็ปท็อป และบริการซอฟแวร์ที่อยู่บนคลาวด์ มีความคาดหวังว่าคนรุ่นนี้จะใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น แผนกไอทีตามห้างสรรพสินค้าจึงลงทุนไปกับอุปกรณ์การสอนด้วยตนเองในขณะที่คนเจน Z มีความเก่งในการเรียนรู้การใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านการดูจากวิดีโอฝึกอบรมหรือ YouTube และการศึกษาด้วยตนเองแบบออนไลน์ ดังนั้น จึงคาดว่าคนรุ่นต่อไปจะอยู่กับความเป็นจริงมากขึ้นสำหรับโอกาสทางอาชีพการงานแต่ก็ยังคงหวังผลเลิศกับโปรไฟล์ทางสังคมของนายจ้าง
ความชำนาญทางเทคโนโลยีของคนเจน Z ซึ่งเป็นคนยุคดิจิตอลโดยชาติกำเนิด จะหมายถึงว่าพวกเขาจะทำงานได้อย่างคล่องตัวโดยการใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันในสถานที่ที่แตกต่างกัน เช่น ใช้แล็ปท็อปบนโต๊ะทำงาน หรือไอแพ็ดหรือสมาร์ทโฟนสำหรับพื้นที่ที่ต้องการความร่วมมือระหว่างกัน ความคาดหวังเช่นนี้นำไปสู่ทัศคติของการทำงานที่ทำให้พื้นที่ภายนอกใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นมิตรหรือสะดวกสบาย เรียกได้ว่าคนเจน Z จะมีการทำงานหลายอย่างไปพร้อมกันผ่านหน้าจอหลายอันและเป็นการเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่ออย่างไม่เคยมีคนยุคไหนทำมาก่อน
ที่มา: 1. http://dsm.bmc.com/the-digital-natives-how-to-get-ready-for-gen-z-workers/
2. http://money.cnn.com/2015/12/16/news/generation-z-work/
Related posts
Tags: Future, Future Management, Future watch, Gen Z
ความเห็นล่าสุด