• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,582 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,081 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,417 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,303 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,005 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Sustainability Management | — May 27, 2016 8:00 am
WHO ชี้ภัยใกล้ตัว ยาฆ่าแมลงตกค้างในอาหาร
Posted by Phunphen Waicharern with 3751 reads
0
  

Pesticide-Residues-in-Foodย่าฆ่าแมลงเป็นสารเคมีที่ใช้ในเกษตรกรรมเพื่อปกป้องพืชผลไม่ให้แมลง เชื้อรา หรือวัชพืชมาทำอันตราย ในด้านเกษตรกรรม มีการนำยาฆ่าแมลงมาใช้ด้านการสาธารณสุขเพื่อควบคุมแมลงหรือสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค เช่น ยุง อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่ายาฆ่าแมลงก็เป็นพิษต่อมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง หรือมีผลต่อระบบประสาทหรือภูมิคุ้มกัน ดังนั้น ก่อนที่จะมีการใช้ยาฆ่าแมลง ผู้เชี่ยวชาญควรทดสอบความเป็นไปได้ของผลกระทบต่อสุขภาพและวิเคราะห์ผลของความเสี่ยงต่อมนุษย์ก่อนที่จะใช้งาน

ความแตกต่างระหว่าง “อันตราย” และ “ความเสี่ยง”
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของผลกระทบสารเคมีอันตรายอย่างยาฆ่าแมลงที่อาจเกิดขึ้นและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ พบว่าจะทำให้เกิดสารคาซิโนเจนที่อาจก่อมะเร็ง สารที่เป็นพิษต่อระบบประสาท สารเทอราโทเจนที่สามารถทำให้ทารกในครรภ์มารดามีความผิดปกติหรือพิการ กระบวนการนี้เรียกว่า การระบุอันตราย หรือ hazard identification ซึ่งเป็นก้าวแรกของการประเมินความเสี่ยง ตัวอย่างของการระบุอันตรายคือการจำแนกสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ที่ทำโดยหน่วยงานวิจัยขององค์การอนามัยโลกที่มีชื่อว่า International Agency for Research on Cancer (IARC)

สารเคมีชนิดเดียวกันอาจมีผลกระทบแตกต่างกันในระดับความเข้มข้นของสารที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการรับสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับระบบที่รับเข้าสู่ร่างกายด้วย เช่น ระบบการย่อย ระบบการหายใจ เป็นต้น

ทำไมองค์กรอนามัยโลกจึงมีกระบวนการระบุอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
การระบุอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจำแนกสารของ IARC ในแง่ของสารก่อมะเร็งนับเป็นก้าวแรกของกระบวนการการประเมินความเสี่ยง

การจำแนกสารอย่างเช่นอันตรายของสารก่อมะเร็งเป็นการระบุความสำคัญของระดับการเปิดรับ เช่น ในแง่ของอาชีพ สิ่งแวดล้อม อาหาร เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งมากขึ้น

การประเมินความเสี่ยงสำหรับสารตกค้างของยาฆ่าแมลงในอาหาร ซึ่งทำโดยการประชุมร่วมของ FAO/WHO ในเรื่องสารตกค้างที่เป็นยาฆ่าแมลง (JMPR) ซึ่งได้มีการกำหนดระดับการเปิดรับที่ปลอดภัยหลังจากประเมินระดับความเสี่ยง

ปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารในระดับที่ยอมรับได้ต่อวัน (Acceptable daily intakes: ADIs) ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานด้านความเสี่ยงระหว่างประเทศนำไปใช้งาน เช่น Codex Alimentarius Commission ก็มีการจัดทำระดับสารตกค้างสูงสุด (maximum residue limits: MRLs) สำหรับยาฆ่าแมลงในอาหาร

MRLs มีการบังคับใช้โดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ระดับประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าจำนวนของสารตกค้างต่อผู้บริโภคที่มีการรับเข้าสู่ร่างกายจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค

การระบุอันตรายของ IARC สามารถแจ้งการประเมินความเสี่ยงของ JMPR และกระบวนการทั้งสองเพื่อเสริมกันได้ ตัวอย่างเช่น IARC อาจระบุหลักฐานใหม่จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสารก่อมะเร็งเมื่อมีความจำเป็น
ทั้งนี้ JMPR มีการประเมินหรือประเมินซ้ำถึงความปลอดภัยของสารเคมีที่ใช้ในทางเกษตรกรรมและที่เกิดขึ้นในอาหารด้วย

สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้จัดทำแนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556 เพื่อให้นำไปใช้งานได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีการกำกับดูแลกรณีสารตกค้างในอาหารและการเฝ้าระวังความปลอดภัยผักและผลไม้ด้วย

ที่มา: 1. http://www.who.int/features/qa/87/en/
2. http://food.fda.moph.go.th/data/news/2556/560902/Update%20Food%20Additives.pdf
3. http://www.thaipan.org/sites/default/files/conference2557/conference2557_20_2_2557_napaporn.pdf



Related posts

  • ISO 9001: 2015 อัญมณีแห่งระบบคุณภาพ ตอนที่ 3ISO 9001: 2015 อัญมณีแห่งระบบคุณภาพ ตอนที่ 3
  • ไอเอสโอจัดทำคู่มือจัดการความเสี่ยงสำหรับ SMEsไอเอสโอจัดทำคู่มือจัดการความเสี่ยงสำหรับ SMEs
  • ISO 38200 ช่วยสอบกลับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์จากไม้ISO 38200 ช่วยสอบกลับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์จากไม้
  • แนะนำมาตรฐานบริการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ตอนที่ 1แนะนำมาตรฐานบริการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ตอนที่ 1
  • อนาคตของการดูแลสุขภาพกับมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 2อนาคตของการดูแลสุขภาพกับมาตรฐานไอเอสโอ ตอนที่ 2

Tags: Dangerous, Harzadous, Pesticider, standard, Standardization, WHO, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑