การบริหารจัดการสินทรัพย์สามารถเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุดในการช่วยประหยัดเวลา เงิน และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต บริษัท โซเด็กซ์โซ ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลกที่ให้บริการด้านคุณภาพชีวิต (เช่น การบริหารจัดการอุปกรณ์ทางการแพทย์ การบริการด้านอาหาร การบริการด้านจัดสวนและปรับภูมิทัศน์ เป็นต้น) จึงได้เผยโฉมรูปแบบการปฏิบัติที่ ดีที่สุดสำหรับการบริหารจัดการสินทรัพย์ไปยังอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และทำในแบบฉบับของโซเด็กซ์โซที่เรียกว่า “The Sodexo Way”
เกือบทุกองค์กรต้องการประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วยสินทรัพย์ที่มากขึ้น และไม่เพียงแต่จะช่วยลดเวลาในการแก้ไขปัญหาลงเท่านั้น แต่ยังช่วยในเรื่องวิธีการใช้จ่ายเพื่อส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าตามวัตถุประสงค์ขององค์กรอีกด้วย
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ บริษัทหลายบริษัทได้เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการสินทรัพย์ว่าเป็นกลยุทธ์ที่หากมีการนำไปใช้อย่างเหมาะสมแล้ว ก็จะช่วยปรับปรุงสมรรถนะด้านการเงิน ผลลัพธ์ของระบบการจัดการสินทรัพย์ที่ดียังรวมไปถึงความสามารถในการควบคุมกิจกรรมประจำวันและประสิทธิภาพทางธุรกิจ การลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ความสอดคล้องกับกิจกรรมด้านกฎระเบียบและอัตราความล้มเหลวที่ลดลงด้วย ผลลัพธ์ที่จับต้องได้รวมถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความสามารถในการทำกำไรที่มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายต่อหน่วยที่ลดลงทันที
ในเอกสารที่มีชื่อว่า “ผลกำไรที่กำหนดได้จากการบริหารจัดการสินทรัพย์-การเดินทางของโซเด็กซ์โซ” ปีเตอร์ เจย์ ที่ปรึกษาหัวหน้าของบริษัท Woodhouse Partnership และคีธ ฮาเมอร์ รองประธานกลุ่มบริษัท โซเด็กซ์โซ ด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการสินทรัพย์ อธิบายถึงวิธีการที่บริษัทได้นำเอามาตรฐาน ISO 55001 ไปใช้และเปลี่ยนแปลงธุรกิจจนสามารถสร้างการเติบโตและปรับปรุงคุณค่าให้กับลูกค้าได้
หลังจากมีการนำมาตรฐาน ISO 55001 ไปใช้ 2 ปีบริษัทก็ได้รับการรับรองตามมาตรฐานดังกล่าวในขอบข่ายการบริหารจัดการสินทรัพย์ทั่วโลกและการนำไปใช้กับไซต์งานที่ประเทศอังกฤษที่บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ที่แอลเดอร์ลีย์ ปาร็คและแม็คเคิลฟิลด์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์ของบริษัท โซเด็กซ์โซกำลังนำความสามารถด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ของบริษัทไปใช้กับลูกค้าทั่วโลกในกลุ่มที่หลากหลายเช่นการดูแลสุขภาพ การดูแลความเป็นอยู่ของผู้สูงวัย ผู้การผลิต การเหมืองแร่ และพลังงานและทรัพยากร เป็นต้น ส่วนผลลัพท์นั้นเป็นที่น่าพอใจมาก บริษัทจึงได้แบ่งปันเส้นทางการเดินทางไปสู่สมรรถนะทางการเงินที่น่าประทับใจไว้ในหนังสือดังกล่าวข้างต้น
เมื่อปี 2554 จำนวน 77 % ของธุรกิจของโซเด๊กซ์โซ คือ การเตรียมการจัดการด้านอาหาร ที่เหลืออีก 23% เป็นบริการด้านอื่นๆ บริษัทจึงได้ระบุว่าศักยภาพที่ใหญ่ที่สุดที่จะเติบได้ได้ทั่วโลกอยู่ในด้านการจัดการอำนวยความสะดวกแบบผสมผสาน (Integrated Facilities Management: IFM) ตลาดนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการแข่งขันและบริษัทก็ยังไม่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ลูกค้าเองก็ต้องการความมั่นใจว่าบริการของบริษัทจะต้องมีมาตรฐานที่สม่ำเสมอและเหมือนกันทั่วโลก ช่วงนั้น บริษัทยังไม่มีแนวทางการดำเนินงานด้านมาตรฐาน แต่เนื่องจาก Facilities Management: IFM ได้รับการร้องขอจากผู้ให้บริการที่มีอยู่และยังมีความไม่คงที่ของระดับคุณภาพ ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายในการสร้าง “The Sodexo Way” ขึ้นมา เพื่อทำให้มั่นใจในแนวทางของมาตรฐานว่าจะได้รับการยอมรับในทุกๆ ที่ที่โซเด็กซ์โซให้บริการ หลังจากการสรรหาจากทั่วโลก Woodhouse Partnership (TWPL) จึงได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ในการออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการดังกล่าว
ในช่วงแรกๆ ที่มีการรับมาตรฐานมาใช้ โครงสร้างและเนื้อหาหลักของกรอบการดำเนินงานได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มทำงานที่มาจากหลายสาขาอาชีพ จึงได้เรียนรู้ประสบการณ์มากมายและถือเป็นก้าวแรกในการจัดทำเอกสารเพื่อพัฒนากระบวนการที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้น
ต่อมา มีการนำโดยกลุ่มเล็กๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้คำแนะนำทางเทคนิคและทิศทางเพื่อนำมาตรฐาน ISO 55001 ข้อกำหนดระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ไปใช้ ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและการยินยอมจากผู้จัดการอาวุโสระดับประเทศในสายงานความรับผิดชอบ โครงการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารอาวุโส และผู้นำในองค์กรซึ่งได้ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ของการมีส่วนร่วมที่ดีและให้การสนับสนุนบริษัทที่มีอยู่ทั่วโลก บุคลากรที่เกี่ยวข้องในโครงการได้แสดงความมุ่งมั่นและพันธสัญญาในการมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ ทำให้บริษัทสามารถระบุตัวชี้วัดที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรที่มีผลต่อความสำเร็จของวัตถุประสงค์หลักองค์กรซึ่งสอดคล้องกับการบริหารจัดการสินทรัพย์
ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวประกอบกับข้อกำหนดเรื่องการรวบรวมข้อมูลทำให้องค์กรได้รับข้อมูลตอบกลับในเรื่องสถานะและเงื่อนไขของสินทรัพย์ ทำให้สามารถปรับปรุงกิจกรรมการบริหารสินทรัพย์ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจอื่นๆ เช่น ลดอัตราความล้มเหลวลงได้ 20% ประสิทธิภาพด้านการปฏิบัติงานผ่านการวางแผนการจัดการสินทรัพย์ได้รับการปรับปรุงเพิ่มขึ้น 20% ลดค่าใช้จ่ายลง 7-12% ต่อปี และความเชื่อถือในโครงสร้างพื้นฐานด้านสินทรัพย์พิ่มขึ้น 10-25% เป็นต้น
ท่านที่สนใจข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO 55001: 2014 Asset Management – Management Systems – Requirement สามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO STORE
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2085
Related posts
Tags: asset management, ISO55001, Sodexo, standard, Standardization
Recent Comments