เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 สำนักข่าวบีบีซีและหนังสือพิมพ์การ์เดียนได้นำเสนอข่าวเตือนภัยว่าประชากรที่อยู่ในเมืองทั่วโลกจะประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรงภายในปีพ.ศ. 2603 (ค.ศ.2060) อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทั้งนี้ เป็นผลการศึกษาขององค์กรการกุศลคริสเตียนเอด ประเทศอังกฤษ โดยระบุว่าประเทศจีนและประเทศอินเดียจะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งเมืองกัลกัตต้าและมุมไบของอินเดียจะอยู่ในจุดเสี่ยงมากที่สุด รวมไปถึงบังคลาเทศซึ่งในกลุ่มนี้มีประชากรมากที่สุด รวมกันแล้วอย่างน้อยมีประมาณ 11 ล้านคนที่จะอยู่ใกล้ชายฝั่งซึ่งมีน้ำท่วมภายในช่วงปีค.ศ.2070 – 2079 (รองลงมาเป็นเมืองในเอเชีย และไมอามี หรัฐอเมริกา)
ดร.แอลิสัน ผู้เขียนรายงานดังกล่าวระบุว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองใกล้ชายฝั่งทะเลจะมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ อย่างเช่น เมืองกัลกัตตา ดักการ์ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ของทางใต้และมีเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองนั้นเป็นบริเวณที่ประชากรมีความเสี่ยงมากที่สุดเมื่อเกิดฝนตกใหญ่และส่งผลต่อระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น เมืองฟลอริด้าก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมหนักเช่นกัน
ภาวะน้ำท่วมในเมืองเหล่านี้สามารถทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชากร ซึ่งจะเกิดขึ้นอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเชิงป้องกันที่นำไปใช้อย่างได้ผล แต่หากแนวโน้มภาวะโลกร้อนยังคงเกิดขึ้นต่อไป หลายๆ พื้นที่บนโลกนี้ โดยเฉพาะเอเชียตอนใต้ จะได้รับผลกระทบอย่างหนักและจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังทั่วโลกด้วย
รายงานผลดังกล่าวกระตุ้นให้รัฐบาลทั่วโลกต้องลงมือปฏิบัติการเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนและลงทุนในโครงการต่างๆ ที่มีเป้าหมายในการบรรเทาปัญหานี้
นอกจากนี้ ยังมีรายงานของสถาบัน Deltares ที่มีผลการศึกษาในลักษณะเดียวกันซึ่งกล่าวว่าการเกิดน้ำท่วมริมแม่น้ำจะส่งผลกระทบต่อประชากรราวทั่วโลก 21 ล้านคนและทำให้เกิดความเสียหายถึง 96 พันล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี การวิเคราะห์นี้ใช้เครื่องมือใหม่ที่เรียกว่า the Aqueduct Global Flood Risk Analyzer ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันทรัรพยากรโลกแห่งสหรัฐอเมริกา ร่วมกับสถาบัน Deltare , VU University of Amsterdam, Utrecht University และ the Netherlands Environmental Assessment Agency (สามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ http://www.wri.org/resources/maps/aqueduct-global-flood-analyzer) สามารถติดตามแนวโน้มการสูญเสียผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ประชากรที่ได้รับผลกระเทบ และความเสียหายจากน้ำท่วมในประเทศต่างๆ ได้
โลกกำลังต้องการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนจากทุกภาคส่วนของสังคม มาเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้องและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนกันนะคะ
ที่มา: 1. http://www.bbc.com/news/world-36299541
3. https://www.deltares.nl/en/projects/aqueduct-flood-risk-intervention-assessment-global-cities/
Related posts
Tags: flooding
Recent Comments