จากข้อมูลของธนาคารโลก บริการมีส่วนทำให้เกิดเศรษฐกิจโลกนับเป็น 75% ของ GDP ในประเทศที่พัฒนาแล้วและ 50% ในประเทศที่กำลังพัฒนา
มาร์คัส เจลิตโต ที่ปรึกษาขององค์การการค้าโลก ฝ่ายการค้าด้านงานบริการ กล่าวถึงบทบาทของมาตรฐานระหว่างประเทศในภาคบริการว่า ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การส่งออกของโลกด้านงานบริการมีเพิ่มมากขึ้นถึงสี่เท่า การค้าระหว่างประเทศด้านการบริการมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราที่เร็วกว่าการค้าด้านผลิตภัณฑ์ การเพิ่มขึ้นนี้มีส่วนทำให้เกิดปัจจัยหลายประการรวมทั้งการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดบริการผ่านเว็บซึ่งผู้ค้าไม่จำเป็นต้องมีที่ตั้งทางกายภาพก็ได้
อีกปัจจัยที่นำไปสู่การเติบโตของภาคส่วนนี้คือการลดกฎระเบียบลงและการแปรรูปเป็นเอกชนของงานบริการภาครัฐจำนวนมาก เช่น ด้านพลังงาน การขนส่งและโทรคมนาคม เป็นต้น
ในบริบทเช่นนี้ ความจำเป็นของมาตรฐานระหว่างประเทศจึงเป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี 2538 (ค.ศ.1995) องค์การการค้าโลกได้ยอมรับความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS) เพื่อกำหนดกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศด้านการบริการ (การค้าเสรี)
มาร์คัส เจลิตโต กล่าวถึงความสำคัญของ GATS และมาตรฐานระหว่างประเทศว่า GATS เป็นความตกลงทางการค้าแบบพหุพาคีที่ครอบลุ่มถึงการค้าบริการซึ่งนำไปใช้กับประเทศต่างๆ 162 ประเทศและอาณาจักรที่เป็นสมาชิกของ WTO และภารกิจที่ได้บรรลุเป้าหมายของ WTO คือสิ่งที่เรียกว่า การเจรจารอบอุรุกวัยเมื่อปี 2536 (ค.ศ1993 นับเวลาก็คือเกือบ 100 ปีหลังจากที่ GATT ถือกำเนิดขึ้นในปี 1947)
ในการจัดเตรียมกฎระเบียบตามกฎหมายด้านการค้าบริการนั้น GATS มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้มั่นใจว่าการค้าบริการระหว่างสมาชิก WTO มีการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมที่โปร่งใสและปราศจากการแบ่งแยกหรือลำเอียง
GATS ไม่เพียงแต่ครอบคลุมการค้าข้ามเขตแดนเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการค้าที่ผ่านการจัดตั้งของซัพพลายเออร์ในอีกประเทศหนึ่งด้วย (เช่น ระหว่างธนาคารของประเทศแคนาดาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ไปจนถึงการเคลื่อนย้ายของบุคคล (เช่น ผู้บริหารหรือผู้จัดการของธนาคารของประเทศแคนาดาที่ย้ายไปอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) รวมถึงสถานการณ์ที่ประชาชนใช้บริการในประเทศที่แตกต่างกันด้วย (เช่น ผ่านการเดินทางและท่องเที่ยว)
วัตถุประสงค์หลักของ GATS คือการมีส่วนร่วมในการขยายการค้าซึ่งเป็นการส่งเสริมความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ทำการค้าและความก้าวหน้าของประเทศกำลังพัฒนา การมีส่วนร่วมของ GATS ต่อการค้าบนโลกนี้อยู่บนเสาหลักสามประการด้วยกันคือ เพื่อทำให้มั่นใจว่ากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องมีความโปร่งใส เพื่อจัดเตรียมกรอบการทำงานร่วมกันอันเป็นหลักการของการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ และเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของการค้าเสรีผ่านรอบการเจรจาต่างๆ
สำหรับบทบาทของมาตรฐานระหว่างประเทศในด้านการค้าบริการนั้น มาตรฐานระหว่างประเทศสามารถเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้มากหากมีการนำไปใช้ในหลายประเทศกันอย่างกว้างขวาง มาตรฐานระหว่างประเทศสามารถสร้างเศรษฐกิจจากการบังคับใช้ในระดับกว้างและเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้บริการขนาดกลางและขนาดเล็กที่อาจจะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานต่างๆ ในตลาดหลายๆ ตลาด ดังนั้น สมาชิกของ WTO จึงสนับสนุนแนวคิดที่ว่ามาตรฐานระหว่างประเทศควรมีการนำมาพิจารณาเมื่อประเทศต่างๆ ทำการกำหนดมาตรฐานทางวิชาการของตนเอง
งานบริการมีบทบาทสำคัญในการค้าโลก แต่อนาคตของงานบริการและการค้าบริการจะเป็นอย่างไรนั้น จากข้อมูลของธนาคารโลก งานบริการมีมูลค่าประมาณ 75% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และการจ้างงานในประเทศพัฒนาแล้วเป็นส่วนใหญ่ ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนเป็นจำนวนมาก ส่วนแบ่งของงานบริการก็มีมูลค่าเกือบจะ 50% และการค้าบริการก็เติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ สองในสามของการลงทุนในต่างประเทศทั่วโลกก็อยู่ในภาคบริการ
ในการพัฒนาและการลงทุนส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีทำให้ซัพพลายเออร์ต้องจัดเก็บ แบ่งปัน และกระจายการบริการด้วยข้อจำกัดที่น้อยลงทุกวัน เทคโนโลยีทำให้กระบวนการแบบเดิมที่มีการผสมผสานกลายเป็นการบริการแยกส่วนที่สามารถป้อนเข้าไปสู่ห่วงโซ่คุณค่า และการเกิดขึ้นของข้อกำหนดที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
เมื่อผลิตภัณฑ์และวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลง ผู้ผลิตก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ผู้ผลิตสินค้าแบบเดิมที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน เช่น เครื่องบิน เครื่องจักร ตอนนี้ ทำให้เกิดส่วนแบ่งรายได้รวมไปถึงบริการหลังการขาย ในแง่มุมของการพัฒนาดังกล่าว จะยังคงเปลี่ยนแปลงไปสำหรับผู้กำหนดนโยบายทั้งในระดับประเทศและระดับโลกอย่าง WTO เพื่อประเมินว่ากฎที่ควบคุมการค้าบริการมีเพียงพอหรือไม่ และเพื่อประเมินว่าความเสี่ยงใหม่สำหรับผู้บริโภคและสังคมอาจต้องการกฎระเบียบใหม่ภาครัฐ มาตรฐานระหว่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในแง่มุมนี้
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2079
Related posts
Tags: standard, Standardization
ความเห็นล่าสุด