ที่เมืองซีอาน ประเทศจีน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559 โฮเซ่ กราซิอาโน ดา ซิลวา เลขาธิการองค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ (FAO) กล่าวในการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของประเทศกลุ่ม G20 ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที สามารถช่วยติดตามการเจริญเติบโตของพืชผล การใช้เทคนิคใหม่ๆ การจัดการและการเก็บเกี่ยวใน พื้นที่ ซึ่งจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ สวัสดิการและยังสนับสนุนความก้าวหน้าด้าน ความยุติธรรมเชิงสังคมและทำให้ทุกคนมั่นใจว่ามีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงสิ่งที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท
ประเทศกลุ่ม G20 เกิดขึ้นเมื่อปี 1999 ประกอบด้วยอาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย บราซิล จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก สาธารณรัฐเกาหลี รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย อัฟริกาใต้ ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
เครื่องมือการสื่อสารทางไกลมีศักยภาพในการทำให้คนนับล้านคนสามารถเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตและเชื่อมต่อกับ ชาวนาด้วยเกษตรกรรมแบบดิจิตอล ซึ่งรวมถึงการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อรายงานการเกิดโรคระบาดของสัตว์ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ FAO ได้ให้การสนับสนุนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
วิธีการเชิงนวัตกรรมที่ FAO ดำเนินการโดยใช้เทคโนโลยีไอซีทีนั้น เลขาธิการ FAO กล่าวว่าได้มีการเน้นการเป็นหุ้นส่วนกับ กูเกิ้ลซึ่งใช้ข้อมูลดาวเทียมและกระบวนการที่ทำให้สามารถทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านป่าไม้และการประมง
การเป็นหุ้นส่วนในลักษณะดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ด้านดิจิตอลของ FAO ทำให้สามารถพัฒนาและผสมผสาน เทคโนโลยีด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน นับตั้งแต่ข้อมูลดาวเทียมไปจนถึงโทรศัพท์มือถือและโซเชียลแพล็ทฟอร์ม ประกอบกับการทำงานขององค์กรเพื่อสนับสนุนจุดที่ยังอาจเข้าไม่ถึง ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้จากระดับปฏิบัติการไปสู่ระดับ นโยบาย
เขากล่าวว่าอย่าลืมว่าชาวนาตัวเล็กๆ ในประเทศกำลังพัฒนามักจะมีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยี ทรัพยากรที่จำเป็น และตลาด และในการที่จะช่วยให้พวกเขามีโอกาสในการเข้าถึงไอซีที จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงได้ด้วยการออกแบบระบบดิจิตอลให้เหมาะสมกับพวกเขาและสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะและช่วยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันด้วย
ในช่วงสุดท้ายของการประชุม รัฐมนตรีที่มาร่วมงานต่างยืนยันความสำคัญของไอซีทีที่มีต่อเกษตรกรรม โดยกล่าวว่ามีความจำเป็นต่อการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ สังคม และมนุษย์ และกล่าวเน้นว่าศักยภาพในการเข้าถึงชาวนารวมทั้งครอบครัวและผู้ถือครองรายย่อยนั้น ต้องมีเนื้อหาที่เข้าถึงได้และทันเวลาสำหรับตลาด การปฏิบัติของฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
เลขาธิการ FAO ยังได้เน้นถึงการทำงานร่วมกันระหว่าง FAO กับกลุ่มประเทศ G 20 ในด้านโครงการด้วย เช่น ระบบข้อมูลด้านตลาดการเกษตร (Agricultural Market Information System: AMIS) แพล็ทฟอร์มเกษตรกรรมของเขตร้อน (Tropical Agriculture Platform: TAP) และแพล็ทฟอร์มทางเทคนิคสำหรับการวัดและการลดการสูญเสียด้านอาหารและของเสีย
นอกจากนี้ ยังเน้นการต่อเนื่องของงานที่สนับสนุนความร่วมมือของ WHO กับองค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organization for Animal Health) และเรียกร้องให้กลุ่มประเทศ G20 ให้สนับสนุน FAO สำหรับความพยายามในเรื่องนี้
เกษตรกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่โลกต้องการเพื่อให้ประชากรโลกมีอาหารหล่อเลี้ยงร่างกายตามหลักโภชนาการและเกษตรกรมีรายได้เพียงพอ การสนับสนุนนวัตกรรมการเกษตรในประเทศกำลังพัฒนาของ FAO จึงเป็นแนวทางการพัฒนาที่น่าสนใจและน่าติดตามต่อไป
ที่มา: 1. http://www.fao.org/news/story/en/item/417344/icode/
2. http://www.g20.org/English/aboutg20/AboutG20/201511/t20151127_1609.html
Related posts
Tags: Agriculture, Management Strategy, Strategic Management
Recent Comments