การจัดซื้อเป็นส่วนสำคัญของการจัดหางบประมาณสำหรับทุกองค์กร และไอเอสโอเห็นความสำคัญของการจัดซื้ออย่างยั่งยืนซึ่งจะทำให้โลกของเราดีขึ้น จึงได้พัฒนามาตรฐานที่จะช่วยให้องค์กรมีการจัดซื้ออย่างยั่งยืน และขณะนี้ มาตรฐานนี้ก็มาถึงขั้นสุดท้ายของการพัฒนาแล้ว
การตัดสินใจซื้อขององค์กรนั้น มีผลกระทบในวงกว้าง นับตั้งแต่พลังงานที่ใช้ ไปจนถึงคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำการผลิตสินค้า และเมื่อเรานึกถึงการจัดซื้อในภาครัฐเพียงอย่างเดียวแล้วนับว่ามีถึง 12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมและ 29% ของค่าใช้จ่ายในรัฐบาลของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)
การจัดซื้ออย่างยั่งยืนควรเป็นเป้าหมายขององค์กรเนื่องจากเป็นการทำให้เกิดผลกระทบทั้งในทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่าการมีทางเลือกของการซื้ออย่างชาญฉลาดจะรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างนับตั้งแต่ของใช้ในสำนักงานไปจนถึงการจัดหาพลังงาน การขนส่งและการสร้างวัสดุ เป็นต้น
มาตรฐานใหม่ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา คือ ISO 20400 แนวทางการจัดซื้ออย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement – Guidance) เป็นการเตรียมแนวทางให้กับองค์กรที่กำลังต้องการรวมเอาความยั่งยืนเข้าไปใน กระบวนการจัดซื้อ ซึ่งได้มาถึงขั้นร่างมาตรฐาน (DIS) แล้ว หมายความว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถส่งข้อคิดเห็นตอบกลับร่างมาตรฐานได้ก่อนที่ไอเอสโอจะตีพิมพ์เผยแพร่ในปีหน้า
การจัดซื้ออย่างยั่งยืนเป็นแง่มุมสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น ISO 20400 จะเป็นส่วนเสริมกับมาตรฐาน ISO 26000 แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการทำให้องค์กรสามารถมีส่วนร่วมในความพยายามที่จะพัฒนา อย่างยั่งยืนโดยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสู้กับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และมีส่วนร่วมในสังคมและเศรษฐกิจ
ชาคส์ ชแรมม์ (Jacques Schramm) ประธานคณะกรรมการ ISO/PC 277 ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ทำการพัฒนามาตรฐาน กล่าวว่าหน้าที่การจัดซื้อนับเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักขององค์กรในแง่ของความรับผิดชอบต่อสังคม แต่จนถึงบัดนี้ แนวทางมาตรฐานสากลที่เป็นไปในทางเดียวกันนั้นมีน้อยมากและมีรายละเอียดที่ไม่เพียงพอ
สำหรับองค์กรหลายแห่ง การจัดซื้ออย่างยั่งยืนได้มีการจัดทำเป็นรายงานความยั่งยืนแล้ว แต่ก็ยังขาดแนวทางที่ชัดเจนถึงวิธีการนำไปใช้และการวัดวิธีปฏิบัติของการจัดซื้ออย่างยั่งยืน
การใช้มาตรฐาน ISO 20400 จะช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน มีการปรับปรุงการจัดการความสัมพันธ์กับซัพพลายเชนและทำให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น
สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลร่างมาตรฐานและต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าว สามารถให้ข้อคิดเห็นได้ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศไทยและเป็นสมาชิกของไอเอสโอ
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2105
Related posts
Tags: ISO, ISO20400, procurement, standard, Standardization, sustainable, sustainable procurement
Recent Comments