เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2559 ริชาร์ด แบรนสัน ผู้ก่อตั้งเวอร์จิ้น กรุ๊ป ได้เขียนบทความเรื่อง “อะไรทำให้นักกีฬากลายเป็นผู้ประกอบการที่ยิ่งใหญ่ได้” เขาเล่าว่า เขารักกีฬาโอลิมปิคมาก ไม่มีอะไรที่จะทำให้โลกร่วมกันจับตามองได้เหมือนอย่างกีฬาที่แวดล้อมไปด้วยการสนับสนุนหรือกำลังใจที่ทำให้เกิดความยินดีปรีดาหรือมีการเฉลิมฉลองให้กับจิตวิญาณของมนุษย์
การที่ผู้คนต่างเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิค ทำให้เขามีความรู้สึกบวกและมีอิทธิพลมากต่อชีวิต ตอนที่เขายังเป็นเด็ก เขาเล่าว่าไม่เคยได้คะแนนดีๆ ในชั้นเรียนเลย แต่สิ่งที่ช่วยให้เขามีความรู้สึกว่าตนเองมีความสง่างาม น่าภาคภูมิใที่โรงเรียนก็คือกีฬานั่นเอง เขาเล่นกีฬาเช่น คริกเก็ต รักบี้ และกีฬาประเภทลู่และลาน แต่แล้วเมื่อเขาประสบอุบัติเหตุซึ่งส่งผลให้กระดูกอ่อนที่หัวเข่าฉีกขาดเมื่ออายุ 12 ปีซึ่งทำให้เขาไม่สามารถเล่นกีฬาใดๆ ได้อีกต่อไปเป็นเวลานาน
ริชาร์ด แบรนสัน กล่าวว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกีฬาได้กลายมาเป็นการพิจารณาแง่มุมต่างๆ ในชีวิต การที่เขามีทักษะที่ได้จากการเล่นเทนนิสกลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่ออาชีพธุรกิจของเขาเอง สิ่งหนึ่งที่เขาได้เรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ก็คือการปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะต้องแยกออกกันอย่างชัดเจน ต้องลืมข้อผิดพลาดครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นและก้าวข้ามไปยังความท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้า เทนนิสก็เหมือนกับธุรกิจตรงที่จะต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ถ้ามัวแต่คิดถึงอดีตแม้เพียงเสี้ยวนาทีเดียว โอกาสก็จะหลุดลอยไปและเกิดการสูญเสียได้
โดยนัยนี้ เขาจึงเชื่อว่าการเป็นนักกีฬาคือการสร้างให้เกิดนักธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ได้ กีฬาชั้นสูงนั้น มีช่วงเวลาของความสำเร็จที่สั้นและมีการพักผ่อนหรือเกษียณอายุที่ยาวนาน แต่ชีวิตที่เกิดขึ้นหลังจากเล่นกีฬาคือการมีข้อเสนอของโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับการคิดค้นอะไรใหม่ๆ อีกครั้ง มันเป็นการชดใช้สิ่งที่เคยสูญเสียไป
ดังนั้น คำแนะนำของเขาสำหรับนักกีฬาคือจงทำตัวให้ประสบความสำคัญในโลกแห่งมืออาชีพหลังเกษียณ จงทำธุรกิจเหมือนการเล่นกีฬา นั่นคือ ทำตามความใฝ่ฝัน เปิดใจรับโอกาสใหม่ๆ และอย่าตอบปฏิเสธต่อโอกาสดีๆ
สิ่งที่ริชาร์ด แบรนสันกล่าวไว้นั้น ตรงกับเรื่องราวของนักกีฬามืออาชีพหลายคนที่ประสบความสำเร็จกับการเป็นผู้ประกอบการ เช่น
- วีนัส วิลเลียมส์ แชมป์เดี่ยวแกรนด์สแลม 7 สมัย ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัทเสื้อผ้าที่มีชื่อว่า EleVen และบริษัทออกแบบภายในที่มีชื่อว่า V Starr Interiors วีนัส วิลเลียมส์ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นนักกีฬา เธอมักจะเอาชนะความท้าทายทุกประเภทได้ และนั่นหมายถึงกีฬาซึ่งสามารถนำบทเรียนจากกีฬาไปประยุกต์ใช้กับความอดทน การเรียนรู้จากความผิดพลาด และการกำหนดเป้าหมาย ซึ่งช่วยให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจ
- โรเจอร์ สตอร์บาค สุดยอดควอเตอร์แบ็ค หนึ่งในทีมอเมริกันฟุตบอลชื่อดังแห่ง NFL ได้ผันตัวมาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในชื่อบริษัท Staubach โดยเริ่มจากพนักงานเพียง 5 คนและเติบโตอย่างก้าวกระโดด และได้ขายธุรกิจไปในมูลค่า 613 ล้าน เหรียญสหรัฐในปี 2551 (ค.ศ.2008)
- จอห์น เอลเวย์ สุดยอดผู้เล่นควอเตอร์แบ็คของเดนเวอร์ บรองโกส์ และแชมป์ซุเปอร์โบว์สองสมัย หลังจากเลิกเล่นกีฬา เขาได้หันมาทำธุรกิจสเต๊กเฮ้าส์ชื่อ Elway’s นอกจากนี้ยังเป็นดีลเลอร์รถยนต์อีก 5 แห่ง และเป็นเจ้าของทีม Arena Football League และทีมฟุตบอล Colorado Crush
- คริสตี้ ยามากูชิ แชมป์ไอซ์สเกตช์เหรียญทองโอลิมปิคของสหรัฐอเมริกา ปี 2535 (ค.ศ.1992) ได้ก่อตั้งมูลนิธิออลเวยส์ดรีมขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กๆ มีการศึกษาที่ดีและมีกิจกรรมสันทนาการ นอกจากนี้ ยังได้จัดทำเสื้อผ้าที่จำกัดจำนวนรุ่นสำหรับผู้หญิงในชื่อ Tsu.ya และนำเงินส่วนหนึ่งไปบริจาคโดยตรงกับมูลนิธิดังกล่าว
- จอร์จ ฟอร์แมน นักมวยที่สร้างชื่อจากการชิงเหรียญทองกีฬาโอลิมปิคในปี 2511 (ค.ศ.1968) เขาได้วางรากฐานธุรกิจไว้เป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะยุติอาชีพชกมวย เช่น เป็นเจ้าของผลิตภัณ์เครื่องปิ้งย่าง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและผลิตภัณฑ์จำพวกเสื้อผ้า เป็นต้น
- มาเรีย ชาราโปว่า แชมป์เทนนิสแกรนด์สแลม 5 สมัย (ซึ่งเพิ่งมีข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่าถูกตรวจพบสารต้องห้ามในร่างกายขณะที่แข่งขันแกรนด์สแลมรายการออสเตรเลียนโอเพ่นเมื่อเดือนมกราคม 2559) ได้ก่อตั้งบริษัท ชูการ์โปว่า เมื่อปี 2556 (ค.ศ.2013) และประสบความสำเร็จอย่างสูงในปีแรกโดยสามารถขายขนมยี่ห้อชูการ์โปวาได้มากกว่าสองล้านห่อ
นอกจากนี้ ยังมีนักกีฬาอีกหลายคนที่ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการ (อ่านเพิ่มเติมได้ใน http://www.cnbc.com/2010/08/04/15-Pro-Athletes-Turned-Entrepreneurs.html)
นักกีฬาที่กลายเป็นผู้ประกอบการต่างได้ก้าวเข้าสู่โลกธุรกิจด้วยบทเรียนที่ได้จากการเป็นนักกีฬาและการเรียนรู้จากชีวิตจริงเพื่อก้าวข้ามอุปสรรคสู่ความสำเร็จในที่สุด
ที่มา: 1. http://www.businessinsider.com/professional-athletes-turned-entrepreneurs-2015-2#
2. http://www.businessinsider.com/successful-ceos-who-played-sports-in-college-2015-2
Related posts
Tags: Athletes, CEO, Management Strategy, Strategic Management, Travel & Leisure
ความเห็นล่าสุด