อาหารที่ปรุงด้วยวัตถุดิบจำพวกเนื้อที่เพาะเลี้ยงขึ้นในห้องปฏิบัติการทดสอบหรือเนื้อสังเคราะห์ (มีชื่อเรียกต่างๆ กัน ได้แก่ lab-grown meat, synthetic meat, cultured meat, stem cell meat หรือ vitro meat) ได้รับการเพาะเลี้ยงขึ้นจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมาสทริสช์ (Maastricht University) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี 2556 (ค.ศ.2013) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดฟุตพริ้นท์ทั้งคาร์บอน น้ำ และการใช้ที่ดิน รวมทั้งการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ด้วย
อย่างไรก็ตาม อาหารจำพวกนี้มักจะไม่ได้รับความนิยมในด้านรสชาติเท่าใดนัก แต่ก็ทำให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะควบคุมเกษตรกรรมแบบเพาะเลี้ยงเซลล์ (cellular agriculture) ซึ่งใช้เทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างไร
เท่าที่ผ่านมา ในสหรัฐอเมริกา ยังไม่มีอาหารสังเคราะห์เหล่านี้เข้าถึงตลาดได้แต่ก็มีบริษัทในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ พยายามจะยกระดับการผลิตอยู่
ที่อ่าวซานฟรานซิสโกในแคลิฟอร์เนีย ผู้ประกอบการบริษัทเมมฟิสหวังว่าจะมีมีทบอล ฮ็อทดอก และไส้กรอกที่เพาะเลี้ยงเซลล์ได้โดยใช้เวลา 5 ปี และที่บริษัท เพอร์เฟ็คท์เดย์ ได้ตั้งเป้าว่าปลายปี 2560 จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากนมเนยของวัว ซึ่งก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานใดจะออกมากำกับในเรื่องนี้
ปกติ กระทรวงเกษตรกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (USDA) เป็นผู้ควบคุมกฎเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และไข่ ในขณะที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) กำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงด้านวัตถุเจือปนอาหาร
FDA ยังได้อนุมัติอาหารชีวภาพที่เรียกว่าไบโอโลจิกส์ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มาจากเทคนิคด้านการบำบัดเนื้อเยื่อมนุษย์ โลหิต เซลล์และยีน แต่เทคโนโลยีชีวภาพที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดอาจจะทำให้มองข้ามเรื่องเหล่านั้นไปเพราะอาหารชนิดใหม่ๆ นั้นไม่ตรงกับนิยามของกฎระเบียบที่มีอยู่ การเพาะเลี้ยงแบบนี้นำมาซึ่งคำถามต่างๆ อีกมากมาย
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อปีที่แล้ว ทำเนียบขาวได้ริเริ่มโครงการทบทวนวิธีที่หน่วยงานของสหรัฐทำการควบคุม เทคโนโลยีชีวภาพทางเกษตรกรรม และสถาบันแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและการแพทย์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยได้พิจารณาว่าจะระบุให้ชัดเจนลงไปเลยว่าผลิตภัณฑ์อะไรที่ต้องผ่านการควบคุมตามกฎระเบียบ
ในระหว่างนี้ ผู้นำอุตสาหกรรมต่างกำลังคิดว่าอาหารที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการทดสอบนั้น ผู้ควบคุมกฎจะดูแลอย่างไร แนวทางหนึ่งก็คือการแสดงว่าผลิตภัณฑ์มีความคล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ซึ่งทดสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตราย กฎระเบียบด้านอาหารส่วนใหญ่คือการเชื่อมโยงเอาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กับสิ่งที่พิจารณาแล้วว่ามีความปลอดภัย
ยกตัวอย่างเช่น DuPont Industrial Biosciences ซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ในพาโล อัลโต แคลิฟอร์เนีย ใช้ยีสต์ผลิตเอนไซม์อะ ไมเลสซึ่งใช้เติมในสินค้าประเภทอบเพื่อยืดอายุความสดใหม่ วัตถุเจือปนอาหารเช่นนี้ บริษัทจะต้องทำการทดลองก่อนนำ ออกสู่ตลาดซึ่งต้องได้รับอนุมัติจาก FDA ด้วยยกเว้นเสียแต่ว่ามีการยอมรับกันทั่วไปว่าวัตถุนั้นมีความปลอดภัย มาตรฐานเช่นนี้ เป็นที่รู้จักกันในอุตสาหกรรมอาหารว่า GRAS (Generally Recognized as Safe)
ทางด้านบริษัท DuPont มีความเห็นว่าถึงแม้ว่าเทคโนโลยีชีวภาพจะทำให้ระบุผลิตภัณฑ์ใหม่ยากขึ้น แต่ก็ทำให้สะดวกขึ้นสำหรับมาตรการด้านความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น การจัดลำดับเบสของดีเอ็นเอ ทำให้เกิดความรวดเร็วขึ้น ดังนั้น เราจึงสามารถจัดกระบวนการได้ว่าจะเพิ่มอะไรหรือลดอะไรออกจากอาหาร (เนื้อสังเคราะห์) เพื่อลดความเสี่ยงหรือเรื่องอื่นๆ และยังมีเรื่องของความเป็นไปได้ในการออกแบบด้านความปลอดภัย เช่น การแยกไข่ขาวเพื่อจะได้ไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ และในอนาคต แนวโน้มในการใส่บาร์โค้ดลงไปในยีนและพัฒนาไปพร้อมๆ กันจะทำให้เซลล์จดจำเส้นทางได้ ซึ่งจะทำให้ทวนสอบผลิตภัณฑ์โปรตีนได้ง่ายขึ้นและสามารถติดตามผลิตภัณฑ์ได้ตลอดทั้งซัพพลายเชน
ขณะนี้ หน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐอเมริกายังคงมองข้ามการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไปเพราะยังไม่มีความชัดเจนเท่าใดนัก ในขณะที่ไบโอเทคโนโลยีก็ยังทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของระบบที่มีการบังคับใช้
อย่างไรก็ตาม หากมีการกำหนดกฎระเบียบร่วมกันเป็นกฏเพียงอย่างเดียว ระบบก็อาจจะทำหน้าที่ส่งเสริมการเลียนแบบมากกว่าส่งเสริมนวัตกรรมก็เป็นได้
ที่มา: 1. http://www.sciencemag.org/news/2016/08/lab-grown-meat-inches-closer-us-market-
industry-wonders-who-will-regulate
2. http://www.cpthailand.com/enews/รวมคอลมน/tabid/129/articleType/ArticleView/articleId/2172/Lab-grown-meat.aspx
3. http://science.sciencemag.org/content/349/6244/131
Related posts
Tags: FDA, food safety, lab grown meat, synthetic meat, USDA
Recent Comments