• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,543 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,075 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,406 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,292 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,981 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — September 19, 2016 8:00 am
จีนเชื่อมต่อทั่วโลกด้วยมาตรฐาน
Posted by Phunphen Waicharern with 3382 reads
0
  

Huaweis smartphone business picks upปัจจุบัน ทั่วโลกต่างยอมรับว่าประเทศจีนเป็นผู้นำของการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร การใช้เครือข่ายเชื่อมโยงในการปฏิวัติอุตสาหกรรม และประเทศจีนได้ใช้มาตรฐานในการทำให้ Internet of Things (IoT) กลายเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจของประเทศ

จากข้อมูลของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSM Association: GSMA) ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของผู้ปฏิบัติงานด้านอุปกรณ์มือถือ ระบุว่าประเทศจีนเป็นผู้นำของโลกในการส่งมอบอุปกรณ์ IoT ซึ่งเชื่อมต่อกันถึง 74 ล้านอุปกรณ์เมื่อปี 2557 (ค.ศ.2014) ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสามของตลาดโลก

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจพิเศษของจีนเป็นผลมาจากตลาด IoT ได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี 2552 (ค.ศ.2009) และมีการทำนายว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 325 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2563 (ค.ศ.2020)

ยิ่งไปกว่านั้น มูลค่าดังกล่าวยังนับเป็น 56% ของตลาดเอเชียแปซิฟิค (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งทำให้ตลาด IoT ของจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Huawei, Xiaomi, ZTE และ Haier จึงได้ลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่ออนาคตของธุรกิจ IoT และผลิตโมเดลที่คาดว่าจะมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก

รัฐบาลจีนได้เป็นผู้นำในการพัฒนาภาคส่วนไอที โดยมีความตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรฐานในการพัฒนา IoT ในชีวิตจริง แต่งานด้านการพัฒนามาตรฐานอุปกรณ์ IoT สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศมีความหลากหลาย ซับซ้อนและต้องใช้ความพยายามสูง มีหลายคำถามที่ต้องตอบให้ได้ เช่น ขอบข่ายของคำว่า IoT คืออะไร จะร่วมมือกันพัฒนาแอพพลิเคชั่นโดเมนที่แตกต่างกันได้อย่างไร  จะสร้างกรอบการวางแผนงานด้านเทคโนโลยีและธุรกิจระดับสูงได้อย่างไร และจะพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างธุรกิจสตาร์ทอัพได้อย่างไร เป็นต้น

หลังจากมีการศึกษาในเชิงลึกร่วมกับการใช้งานจริง ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการมาตรฐานด้าน IoT ก็ได้สร้างความก้าวหน้าในโครงสร้างองค์กร กลไกการทำงาน โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ใช้อ้างอิงในรับสูงและระบบมาตรฐาน ซึ่งทำให้เกิดโรดแม็พของ IoT เพื่อการพัฒนาในอนาคต

เมื่อปี 2554 (ค.ศ.2011) มีการแต่งตั้งคณะทำงานด้านมาตรฐานพื้นฐานสำหรับ IoT (IoT BS) ขึ้นภายใต้การดูแลของคณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติซึ่งรับผิดชอบในการวางแผนภาพรวมของประเทศ และหน่วยงานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศจีน (Standardization Administration of the People’s Republic of China: SAC) ซึ่งเป็นสมาชิกของไอเอสโอ

IoT BS เน้นงานด้านการพัฒนามาตรฐานพื้นฐานสำหรับ IoT และความร่วมมือในการทำงานของหน่วยงานด้านมาตรฐานวิชาการที่เกี่ยวข้อง ในประเทศจีน เช่น ในด้านเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio frequency identification: RFID) เครือข่ายเซนเซอร์ เครื่องมือและอุปกรณ์ การสื่อสารทางเครือข่าย เป็นต้น

เนื่องจากงานดังกล่าวเกี่ยวข้องกันหลายด้าน จึงมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานรัฐบาลด้านความมั่นคงปลอดภัยของสาธารณชน การขนส่ง เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

จากการที่ประเทศจีนมีกรอบการดำเนินงานด้านการมาตรฐาน องค์กรด้านมาตรฐาน IoT และสมาคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในประเทศจีน จึงทำให้จีนสามารถพัฒนามาตรฐานขึ้นมาได้จำนวนหนึ่ง มีทั้งมาตรฐานระดับประเทศ  มาตรฐานอุตสาหกรรม และมาตรฐานสมาคม  และมีทั้งมาตรฐานที่ทำได้ไม่ยากนัก ไปจนถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชั้นสูง และนวัตกรรม

ประเทศจีนได้เข้าร่วมในกิจกรรมด้านการมาตรฐานในกลุ่มงานที่ศึกษาด้านเครือข่ายเซนเซอร์ เช่น คณะทำงาน ISO /IEC JTC 1 SGSN ในปี 2551 (ค.ศ.2008) (ต่อมาแทนที่ด้วย ISO /IEC JTC 1/WG 7), ISO /IEC JTC 1/WG 10 on IoT Reference Architecture ในปี 2557 (ค.ศ.2014)  ซึ่งรับผิดชอบมาตรฐาน ISO /IEC 30141  และ ISO /IEC JTC 1/WG 11 เรื่อง smart cities

อุปกรณ์ IoT ทั่วโลกที่มีมูลค่ามหาศาลจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมทั่วโลกและผลักดันให้เกิดผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นไปทั่วโลก รวมทั้งเป็นโอกาสของประเทศจีนในการเชื่อมต่อกับทั่วโลกในบทบาทของการเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานด้าน IoT ด้วย

ที่มา: http://www.iso.org/iso/isofocus_118.pdf



Related posts

  • กูเกิ้ลใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยมาตรฐาน ISO 50001กูเกิ้ลใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยมาตรฐาน ISO 50001
  • เพิ่มความปลอดภัยการบินของยานขนาดเล็กด้วย ISO/TS 20991เพิ่มความปลอดภัยการบินของยานขนาดเล็กด้วย ISO/TS 20991
  • มาตรฐานการสุขาภิบาลที่ดีเพื่อคนทั่วโลกมาตรฐานการสุขาภิบาลที่ดีเพื่อคนทั่วโลก
  • ท่องเที่ยวอุ่นใจด้วยมาตรฐาน ISO 22525ท่องเที่ยวอุ่นใจด้วยมาตรฐาน ISO 22525
  • ไอเอสโอสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศ  ตอนที่ 2ไอเอสโอสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศ ตอนที่ 2

Tags: Internet of thing, IoT, ISO, standard, Standardization

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑