ปัจจุบัน ทั่วโลกต่างยอมรับว่าประเทศจีนเป็นผู้นำของการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร การใช้เครือข่ายเชื่อมโยงในการปฏิวัติอุตสาหกรรม และประเทศจีนได้ใช้มาตรฐานในการทำให้ Internet of Things (IoT) กลายเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจของประเทศ
จากข้อมูลของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSM Association: GSMA) ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของผู้ปฏิบัติงานด้านอุปกรณ์มือถือ ระบุว่าประเทศจีนเป็นผู้นำของโลกในการส่งมอบอุปกรณ์ IoT ซึ่งเชื่อมต่อกันถึง 74 ล้านอุปกรณ์เมื่อปี 2557 (ค.ศ.2014) ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสามของตลาดโลก
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจพิเศษของจีนเป็นผลมาจากตลาด IoT ได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี 2552 (ค.ศ.2009) และมีการทำนายว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 325 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2563 (ค.ศ.2020)
ยิ่งไปกว่านั้น มูลค่าดังกล่าวยังนับเป็น 56% ของตลาดเอเชียแปซิฟิค (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งทำให้ตลาด IoT ของจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Huawei, Xiaomi, ZTE และ Haier จึงได้ลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่ออนาคตของธุรกิจ IoT และผลิตโมเดลที่คาดว่าจะมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
รัฐบาลจีนได้เป็นผู้นำในการพัฒนาภาคส่วนไอที โดยมีความตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรฐานในการพัฒนา IoT ในชีวิตจริง แต่งานด้านการพัฒนามาตรฐานอุปกรณ์ IoT สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศมีความหลากหลาย ซับซ้อนและต้องใช้ความพยายามสูง มีหลายคำถามที่ต้องตอบให้ได้ เช่น ขอบข่ายของคำว่า IoT คืออะไร จะร่วมมือกันพัฒนาแอพพลิเคชั่นโดเมนที่แตกต่างกันได้อย่างไร จะสร้างกรอบการวางแผนงานด้านเทคโนโลยีและธุรกิจระดับสูงได้อย่างไร และจะพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างธุรกิจสตาร์ทอัพได้อย่างไร เป็นต้น
หลังจากมีการศึกษาในเชิงลึกร่วมกับการใช้งานจริง ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการมาตรฐานด้าน IoT ก็ได้สร้างความก้าวหน้าในโครงสร้างองค์กร กลไกการทำงาน โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ใช้อ้างอิงในรับสูงและระบบมาตรฐาน ซึ่งทำให้เกิดโรดแม็พของ IoT เพื่อการพัฒนาในอนาคต
เมื่อปี 2554 (ค.ศ.2011) มีการแต่งตั้งคณะทำงานด้านมาตรฐานพื้นฐานสำหรับ IoT (IoT BS) ขึ้นภายใต้การดูแลของคณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติซึ่งรับผิดชอบในการวางแผนภาพรวมของประเทศ และหน่วยงานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศจีน (Standardization Administration of the People’s Republic of China: SAC) ซึ่งเป็นสมาชิกของไอเอสโอ
IoT BS เน้นงานด้านการพัฒนามาตรฐานพื้นฐานสำหรับ IoT และความร่วมมือในการทำงานของหน่วยงานด้านมาตรฐานวิชาการที่เกี่ยวข้อง ในประเทศจีน เช่น ในด้านเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio frequency identification: RFID) เครือข่ายเซนเซอร์ เครื่องมือและอุปกรณ์ การสื่อสารทางเครือข่าย เป็นต้น
เนื่องจากงานดังกล่าวเกี่ยวข้องกันหลายด้าน จึงมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานรัฐบาลด้านความมั่นคงปลอดภัยของสาธารณชน การขนส่ง เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
จากการที่ประเทศจีนมีกรอบการดำเนินงานด้านการมาตรฐาน องค์กรด้านมาตรฐาน IoT และสมาคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในประเทศจีน จึงทำให้จีนสามารถพัฒนามาตรฐานขึ้นมาได้จำนวนหนึ่ง มีทั้งมาตรฐานระดับประเทศ มาตรฐานอุตสาหกรรม และมาตรฐานสมาคม และมีทั้งมาตรฐานที่ทำได้ไม่ยากนัก ไปจนถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชั้นสูง และนวัตกรรม
ประเทศจีนได้เข้าร่วมในกิจกรรมด้านการมาตรฐานในกลุ่มงานที่ศึกษาด้านเครือข่ายเซนเซอร์ เช่น คณะทำงาน ISO /IEC JTC 1 SGSN ในปี 2551 (ค.ศ.2008) (ต่อมาแทนที่ด้วย ISO /IEC JTC 1/WG 7), ISO /IEC JTC 1/WG 10 on IoT Reference Architecture ในปี 2557 (ค.ศ.2014) ซึ่งรับผิดชอบมาตรฐาน ISO /IEC 30141 และ ISO /IEC JTC 1/WG 11 เรื่อง smart cities
อุปกรณ์ IoT ทั่วโลกที่มีมูลค่ามหาศาลจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมทั่วโลกและผลักดันให้เกิดผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นไปทั่วโลก รวมทั้งเป็นโอกาสของประเทศจีนในการเชื่อมต่อกับทั่วโลกในบทบาทของการเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานด้าน IoT ด้วย
ที่มา: http://www.iso.org/iso/isofocus_118.pdf
Related posts
Tags: Internet of thing, IoT, ISO, standard, Standardization
ความเห็นล่าสุด