กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่พัฒนามาตรฐาน ISO 14001 ซึ่งใช้เป็นกรอบการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดระบบหนึ่งของโลก ได้เข้ารับรางวัลลอเรนซ์ ดี.ไอเคอร์ (Lawrence D. Eicher Award) ด้านวิชาการยอดเยี่ยม จากไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน
ทั้งนี้ ได้มีการกล่าวยกย่องผลงานดังกล่าวในงานประชุมสมัชชาใหญ่ของไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานครั้งที่ 39 (39th ISO General Assembly) เมื่อเดือนกันยายน 2559 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ดร.ชาง เสี่ยวกัง (Dr. Zhang Xiaogang) ประธานคณะทำงานวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO/TC 207, Environmental management คณะอนุกรรมการ SC1 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้รับการคัดเลือกให้แนะนำนวัตกรรมที่ช่วยสนับสนุนสมาชิกและส่งเสริมการทำงานภายนอกองค์กร ซึ่งได้กล่าวว่า ISO 14001 มาตรฐานที่สนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
นอกจากมาตรฐาน ISO 14001 คณะอนุกรรมการวิชาการ ยังได้พัฒนามาตรฐานที่สนับสนุนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรฐาน ISO 14004 ด้านการออกแบบนิเวศและอยู่ในระหว่างพัฒนามาตรฐานอีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ มาตรฐาน ISO 14007 ด้านค่าใช้จ่ายและประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งการใช้มาตรฐาน ISO 14001: 2015 เป็นหลักประกันว่าได้มีการปรับปรุงและทำการวัดผลระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับบริษัท ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
ในปีนี้ ครบรอบ 20 ปีของมาตรฐาน ISO 14001 เควิน แมคคินลีย์ (Kevin McKinley) ได้กล่าวในงานประชุมสมัชชาใหญ่ของไอเอสโอว่า ISO 14001 ได้ช่วยให้องค์กรมีการจัดการที่ดีขึ้นในด้านผลกระทบของกิจกกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้องค์กรมากกว่า 300,000 แห่งได้นำมาตรฐานนี้ไปใช้งานและช่วยสนับนนเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติด้วย
เควิน แมคคินลีย์ ได้กล่าวยกย่องความพยายามของคณะอนุกรรมการที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนมาตรฐาน 14001 รวมทั้งการสำรวจเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสร้างนวัตกรรมแนวใหม่ที่สื่อสารและส่งเสริมกิจกรรมด้านนี้ซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย เช่น Google hangouts, Twitter chats และการสร้างและการดูแลรักษาเว็บให้ประสบความสำเร็จ
นอกจากนี้ เขายังได้เน้นถึงความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลในการเพิ่มสมาชิกคณะกรรมการ รวมทั้งความต้องการในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งทำให้มั่นใจในความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลก โดยกล่าวเน้นว่า สำหรับรางวัลนี้ เป็นการยอมรับถึงความสำคัญของสมาชิกคณะกรรมการดังกล่าวซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหน่วยงานต่างๆ อันแสดงให้เห็นถึงความสนใจในงานของคณะกรรมการซึ่งมาจากสมาชิกแบบมีส่วนร่วมจำนวน 70 ประเทศและสมาชิกแบบสังเกตการณ์จำนวน 22 ประเทศจากทุกภูมิภาค
สำหรับรางวัลลอเรนซ์ ดี.ไอเคอร์ เกิดขึ้นเมื่อปี 2545 (ค.ศ.2002) เพื่อเป็นการยกย่องผู้ที่ทำคุณประโยชน์ด้านวิชาการด้านนวัตกรรมและด้วยความเป็นเลิศ โดยตั้งชื่อรางวัลลอเรนซ์ ดี.ไอเคอร์ เพื่อให้เกียรติแก่ดร.ลอเรนซ์ ดี.ไอเคอร์ อดีตเลขาธิการไอเอสโอผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งได้ปฏิบัติงานให้กับไอเอสโอระหว่างปี 2529 – 2545 (ค.ศ.1986 – 2002)
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2120
Related posts
Tags: Environment, ISO, ISO14001
ความเห็นล่าสุด