เนื่องจากความต้องการโกโก้และช็อกโกแลตเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จึงมีความท้าทายที่ชาวสวนโกโก้ต้องเผชิญเพื่อที่จะปรับปรุงความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวให้ดีขึ้น และเมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีข่าวดีของชาวสวนที่ว่ามาตรฐานชุดใหม่ของไอเอสโออยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อสนับสนุนให้ชาวสวนโกโก้สามารถสร้างผลผลิตได้อย่างยั่งยืน
ทั่วโลกมีคนงานและชาวสวนโกโก้อยู่ประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศกำลังพัฒนา คนงานเหล่านี้อาศัยอยู่ในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร และมักเป็นฟาร์มขนาดเล็ก การผลิตโกโก้ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากแต่ก็มีผลผลิตต่ำ ทำให้ชาวสวนต้องหาทางทำอย่างประหยัด
มาตรฐานชุด ISO 34101 คือ เมล็ดโกโก้ที่สอบกลับได้และยั่งยืน (Sustainable and traceable cocoa beans) จะระบุข้อกำหนดสำหรับการทำฟาร์มเมล็ดโกโก้ เพื่อการสร้างผลผลิตที่ยั่งยืนขึ้น ซึ่งทำให้เห็นภาพของแผนการพัฒนาฟาร์มแบบไดนามิก โดยใช้แนวทางที่เป็นขั้นเป็นตอน โดยในส่วนแรกนั้น สองในสามของงานได้มาถึงขั้นตอนร่างมาตรฐานแล้ว (Draft International Standard: DIS) ซึ่งจะมีการขอความคิดเห็นจากประเทศสมาชิกในร่างมาตรฐานซึ่งจะต้องทำการพิจารณาก่อนที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ในปี 2560
ชุดมาตรฐานดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับคนที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนของโกโก้ นับตั้งแต่ชาวสวนไปจนถึงผู้ซื้อโกโก้ และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีเป้าหมายเพื่อนำการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices: GAP) ไปใช้ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงสภาพทางสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีของชาวสวน ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำให้การทำสวนโกก็เป็นที่น่าสนใจสำหรับคนหนุ่มสาวซึ่งมีความสำคัญมากซึ่งค่าเฉลี่ยอายุของชาวสวนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาคที่ทำการผลิตโกโก้ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
มารตฐานชุดนี้ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการยุโรปด้านการมาตรฐาน (CEN) ภายใต้คณะกรรมการวิชาการ CEN/TC 415, Sustainable and Traceable Cocoa ซึ่งมีเลขานุการคือ สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศเดนมาร์ก (Danish Standards Foundation: DS) ร่วมด้วยคณะกรรมการวิชาการ ISO /TC 34/SC 18, Cocoa ซึ่งบริหารจัดการโดยสมาชิกของไอเอสโอคือสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของ 3 ประเทศ ได้แก่ CODINORM สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศโกตดิวัวร์ (Côte d’Ivoire) GSA สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศกาน่า และNEN สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศเนเธอร์แลนด์
การใช้มาตรฐานชุดนี้จะทำให้เกิดผลที่สร้างคุณค่าให้กับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสวนโกโก้และครอบครัวเพราะมาตรฐานชุดนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงสวนโกโก้ให้กลายเป็นธุรกิจที่ทำเงินได้และมีการช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
รองประธานของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 34/SC 18 ยังกล่าวด้วยว่าผู้ผลิตและผู้บริโภคโกโก้ควรจะเข้าถึงความหมายของคำว่าเมล็ดโกโก้ที่ยั่งยืนเพื่อที่จะทำให้สามารถบรรลุถึงความคาดหวังที่ต้องการได้
ร่างมาตรฐานฉบับนี้ได้รับการพัฒนาจากกระบวนการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลายภาคส่วนซึ่งได้รับข้อมูลมาจากผู้มีบทบาทหลักในซัพพลายเชนของโกโก้ พร้อมด้วยสมาชิกไอเอสโอจากประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคโกโก้ และยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรขนาดใหญ่ในภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ CAOBISCO, European Cocoa Association (ECA), European Federation of Food, Agriculture and Tourism Trade Unions (EFFAT), Federation of Cocoa Commerce (FCC), International CoCoa Farmers Organization (ICCFO), International Cocoa Initiative (ICI), ISEAL Alliance, Solidaridad Network Foundation และ World Cocoa Foundation (WCF).
นอกจากนี้ ยังมีกระทรวงการต่างประเทศของเดนมาร์ก ซึ่งได้สนับสนุนกระบวนการและการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของประเทศที่ผลิตโกโก้ โดยช่วยขยายรายละเอียดเพิ่มเติมในร่างมาตรฐานเพื่อช่วยให้สามารถนำหลักการบริหารจัดการแบบใหม่ไปใช้และสนับสนุนการเข้าถึงตลาดต่างประเทศให้ง่ายขึ้น
ท่านที่สนใจให้ข้อคิดเห็นในมาตรฐานดังกล่าวสามารถติดต่อสถาบันมาตฐานแห่งชาติของประเทศไทย คือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมาตรฐานดังกล่าวกำหนดจะตีพิมพ์เผยแพร่ภายในปี 2560
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref1936
Related posts
Tags: cocoa, ISO34101, Quality, quality of life, standard, Standardization
ความเห็นล่าสุด