ปัจจุบัน งานด้านการบริหารจัดการในการอำนวยความสะดวก (Facilities Management) กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายซึ่งต้องก้าวให้ทันคู่แข่งและเทคโนโลยี และเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ต้องใช้ความเป็นมืออาชีพและหลักการปฏิบัติงานที่ต้องการความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ธุรกิจนี้ก็ประสบกับปัญหาของการขาดองค์ความรู้และความตระหนักในเรื่องดังกล่าว
ไอเอสโอจึงได้พัฒนาและประกาศมาตรฐานสากลสองฉบับแรกของโลกเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ได้แก่ มาตรฐานISO 41011, Facilities management – Vocabulary, และ ISO 41012, Facilities management – Guidance on strategic sourcing and the development of agreements ส่วนมาตรฐาน ISO 41001, Facilities management – Management systems – Requirements with guidance for use ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและเพิ่มความตระหนักให้ มากขึ้นในเรื่องดังกล่าวและสนับสนุนให้มีการนำไปใช้และการบำรุงรักษาโครงการบริหารจัดการด้านการอำนวยความสะดวกอย่างมีประสิทธิผลในทุกภาคส่วนรวมทั้งภาคอุตสาหกรรมและการค้าทั่วโลก
มาตรฐานการบริหารจัดการในการอำนวยความสะดวกเป็นมาตรฐานเกี่ยวข้องทางธุรกิจหลายด้านและมีเป้าหมายเพื่อประสานความต้องการด้านการบริการของภาครัฐและเอกชนทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน เช่น การบริหารจัดการบริการด้านอาคาร ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการพื้นที่ทำงาน การจัดซื้อ และการบริหารจัดการด้านการเงิน เป็นต้น
สแตนลีย์ มิทเชลล์ ประธานคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอ ISO/TC 267 ที่พัฒนามาตรฐานดังกล่าว ระบุว่ามาตรฐาน ISO 41001 จะช่วยให้มีความชัดเจนว่าทำไมการบริหารจัดการในการอำนวยความสะดวกจึงมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กรทั้งหมดในด้านการบริหารจัดการ การปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา รวมทั้งสินทรัพย์และประสิทธิภาพด้านการปฏิบัติงาน
สำหรับมาตรฐานการบริหารจัดการในการอำนวยความสะดวก โดยตัวของมันเองแล้ว มันไม่ได้มีความหมายเป็นสิ่งเดียวกันทั่วโลกหรือแม้แต่ในประเทศเดียวกันเองหรือจะเป็นองค์กรประเภทเดียวกันก็ตาม ความสามารถของฝั่งอุปทานมีความเกี่ยวพันกันในด้านต่างๆ ในประเทศที่แตกต่างกันตามคุณภาพของการบริการที่จัดเตรียมให้ ความคาดหวังของลูกค้าได้เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมกันนับตั้งแต่มุมมองในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ และปัจจุบันก็เริ่มมีความคงเส้นคงวาเหมือนกันทั่วโลกมากขึ้น วิธีการส่งมอบมีการพัฒนาต่อเนื่องในแบบของตนเองในแต่ละประเทศ
ISO 41001 เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อถือในขอบข่ายความรับผิดชอบและการสร้างโครงสร้างการบริหารจัดการและทรัพยากรที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร การเน้นที่สำคัญก็คือการจัดเตรียมกรอบการดำเนินการและเกณฑ์สำหรับทีมบริหารจัดการในการอำนวยความสะดวกซึ่งสามารถวัดได้ว่ามีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์สำหรับองค์กรที่เข้าไปให้บริการ
การนำมาตรฐานดังกล่าวไปใช้นั้นจะทำให้ได้รับผลดีอย่างมีนัยสำคัญในหลายด้านสำหรับการบริหารจัดการในการอำนวยความสะดวก ได้แก่
- ด้านการเงิน ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงเป็นอันดับสองขององค์กรสำหรับองค์กรทั่วไป แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณีซึ่งคนที่มีส่วนสำคัญในองค์กรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก
- ด้านประสิทธิภาพ ซึ่งรับผิดชอบในด้านการบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน และการบำรุงรักษาสำหรับสินทรัพย์ในธุรกิจ ดังนั้น จึงมีผลต่อความสามารถในการใช้งานและค่าใช้จ่ายต่างๆ
- ด้านความสอดคล้อง ซึ่งรับผิดชอบในด้านการบริหารจัดการอาคาร ความปลอดภัย และสุขภาพ ทำให้มั่นใจว่าองค์กรสามารถบรรลุข้อบังคับสำหรับใครก็ตามที่ใช้พื้นที่การทำงานและมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานนั้น
- ด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรับผิดชอบสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากการปฏิบัติงานต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในท้องถิ่นและในภาพรวม
มาตรฐาน ISO 41001, Facilities management – Management systems – Requirements with guidance for use ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอ ISO/TC 267, Facility management ซึ่งมีเลขานุการคือสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศอังกฤษ (British Standards Institute: BSI) และคาดว่าจะตีพิมพ์เผยแพร่ได้ภายในปี 2561 (ค.ศ.2018)
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2122
Related posts
Tags: Facilities management, ISO41001
ความเห็นล่าสุด