เซซีล ผู้อำนวยการกลุ่มธนาคารโลกแห่ง Trade and Competitiveness Global Practices (UN SDGs) กล่าวเปิดงานประชุมประจำปีของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอสำหรับประเทศกำลังพัฒนาหรือ DEVCO ว่าการค้าและมาตรฐานเป็นหัวใจสำคัญของการประชุมเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2559 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
เซซีลกล่าวว่าเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความสำคัญเป็นลำดับแรกสำหรับธนาคารโลก ซึ่งมีความภูมิใจที่ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือหรือ MOU กับไอเอสโอ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรฐาน ISO 26000 เป็นตัวอย่างของมาตรฐานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาตรฐานนี้เป็นแนวทางที่รัดกุมสำหรับองค์กรที่ควรดำเนินการเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน หากมองในมุมกว้าง ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานกว่า 21,000 ฉบับที่เป็นเครื่องมือเชิงปฏิบัติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เน้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม
นอกจากนี้ ยังให้ความเห็นว่าแนวโน้มหลักของโลกจะมีผลกระทบต่อสมรรถนะโดยรวมต่อเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน เช่น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์อย่างด้านความเป็นเมือง แรงกดดันด้านทรัพยากร การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และวิวัฒนาการของโลกาภิวัตน์ ทั้งหมดนี้มีแนวโน้มทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมด้านมาตรฐาน และมาตรฐานเป็นตัวกำหนดทิศทางต่างๆ ของโลก ซึ่งการมีส่วนร่วมด้านมาตรฐานของการค้านั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรฐานไอเอสโอ โดยตัวของมันเองนับว่าเป็นใบเบิกทางให้กับการค้าระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
สำหรับเป้าหมายด้านความยั่งยืนเป้าหมายที่ 2 ขององค์การสหประชาชาติคือการยุติความหิวโหยซึ่งอุปสรรคทางการค้า หมายความว่ามีอาหารหลักของชาวอัฟริกันเพียง 5% มาจากทวีปของพวกเขาเอง แม้แต่ศักยภาพที่มีอยู่ก็เพียงแค่ ตอบสนองความต้องการความมั่นคงปลอดภัยด้านอาหารของตนเอง แต่การค้าสามารถส่งเสริมความเท่าเทียมกันด้าน เพศ (เป้าหมายที่ 5 ด้านความยั่งยืน) ได้ด้วยการสร้างโอกาสทางด้านเศรษฐกิจและขับเคลื่อนนวัตกรรม (เป้าหมายที่ 9ด้านความยั่งยืน)
วิถีทางที่จะทำให้มาตรฐานไอเอสโอมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติก็คือ ประการแรก ต้องช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมมากขึ้นทางการค้า แต่ปัจจุบัน ยังคงมีอุปสรรคด้านการกีดกันทางการค้าต่อการลงทุน ประการที่สอง ต้องทำให้มาตรฐานเป็นแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหาเชิงปฏิบัติในการนำเป้าหมายด้านความยั่งยืนไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล
การส่งเสริมการมาตรฐานจึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญสำหรับกลุ่มธนาคารโลก เนื่องจากธนาคารโลกได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับไอเอสโอและหลายหน่วยงานก็ได้เข้ามาประชุมร่วมกันอย่างใกล้ชิดในฐานะตัวแทนองค์กรในการประชุมประจำปีของการคณะกรรมการวิชาการสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในครั้งนี้ และจะเป็นการขยายโอกาสของการทำงานดังกล่าวให้กว้างขวางออกไปอีก
จากมุมมองของกลุ่มธนาคารโลกมีเสาหลักสำคัญ 3 ประการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ได้แก่
- แนวทางเชิงระบบในการจัดเก็บข้อมูลและใช้ประโยชน์จากการตัดสินใจโดยใช้ข้อเท็จจริงเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ปัญหาหรือการติดตามความก้าวหน้า
- การสนับสนุนด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการนั้นไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องใช้ประโยชน์ การเงิน
- ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนหรือพันธมิตรและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้น
ทั้งนี้ เสาหลักทั้ง 3 ประการจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยมาตรฐานเป็นตัวช่วยที่สำคัญ เกี่ยวกับเรื่องนี้ประธานของไอเอสโอได้กล่าวถึงแผนปฏิบัติการสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ปี 2559 – 2563 (ค.ศ.2016 – 2020) ในการประชุมเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าวข้างต้นว่า แผนงานดังกล่าวมีเป้าหมายที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจนในการเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ทำให้รู้สึกตื่นเต้นและต้องการให้ประเทศกำลังพัฒนามีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ด้วย
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2118
Related posts
Tags: Climate Change, Environment, ISO, Standardization
Recent Comments