ไอเอสโอและเอเอสทีเอ็ม (สมาคมมาตรฐานด้านคุณสมบัติวัสดุและการทดสอบอเมริกัน หรือ ASTM: American Society for Testing and Materials) ได้ร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างมาตรฐานการผลิตด้วยการเพิ่มเนื้อวัสดุ (Additive Manufacturing: AM) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อของการพิมพ์สามมิติ เป็นกระบวนการของการเชื่อมชั้นวัสดุเหนือชั้นวัสดุซึ่งเป็นโครงสร้างแบบใหม่ ตรงกันข้ามกับวิธีการผลิตแบบตัดเนื้อออก (Subtractive Manufacturing) ซึ่งเป็นแบบเดิมอย่างเครื่องจักร
สำหรับโครงสร้างแบบใหม่นี้จะช่วยให้
- มีแนวทางการทำงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกและองค์กรที่ทำการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ AM
- ระบุช่องว่างและความต้องการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานในอุตสาหกรรม AM
- ป้องกันความซ้ำซ้อนของการพัฒนามาตรฐาน AM
- จัดลำดับความสำคัญของมาตรฐาน AM
- ปรับปรุงความสามารถในการใช้และการยอมรับในชุมชนที่ใช้ AM รวมทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
- มีความเข้มแข็งและมีการจัดลำดับความสำคัญของด้านมาตรฐาน AM
ทั้งนี้ มาตรฐานสามารถพัฒนาได้ใน 3 ระดับ โดยอยู่บนพื้นฐานของโครงสร้าง ได้แก่
1. มาตรฐานทั่วไป (เช่น แนวคิด ข้อกำหนดทั่วไป ความปลอดภัย เป็นต้น)
2. มาตรฐานสำหรับกลุ่มวัสดุอย่างกว้างๆ (เช่น ผงเหล็ก) หรือกระบวนการ
3. มาตรฐานเฉพาะด้านสำหรับวัสดุเฉพาะ (เช่น ผงอลูมินัมอัลลอยด์) กระบวนการ หรือการนำไปใช้
โครงสร้างนี้จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกมีปฏิสัมพันธ์กันทั่วโลกในวิถีทางที่มีความหมายและเชื่อมโยงกัน อันนำไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปใช้ และในอนาคต เราอาจจะเห็นประโยชน์มากกว่านี้ เช่นในด้านการฝึกฝนผู้ปฏิบัติงานให้มีรูปแบบเดียวกันและความสามารถที่เข้มแข็งขึ้นในการเน้นการปรับปรุงคุณภาพอย่างทันท่วงที
แนวทางความร่วมมือดังกล่าวในด้านการพัฒนามาตรฐาน AM มีความสำคัญต่อการสร้างมาตรฐานที่เข้มแข็งในทุกระดับ ผู้พัฒนามาตรฐานสามารถเห็นวิธีที่โครงสร้างใหม่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอันนำไปสู่นวัตกรรมในสาขาอื่นต่อไป เช่น ด้านอวกาศ การแพทย์ ยานยนต์และประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น แพล็ตฟอร์มสำหรับกิจกรรมการรับรองอื่นๆ
โครงสร้างดังกล่าวได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการของเอเอสทีเอ็ม F42 เทคโนโลยีการผลิตแบบ AM และคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 261 หลังจากการประชุมร่วมกันเมื่อเดือนกรกฏาคม 2559 ที่กรุงโตเกียว ซึ่งสะท้อนความก้าวหน้าภายใต้ข้อตกลงของ Partner Standards Developing Organization ที่ได้มีการลงนามเมื่อ 5 ปีที่แล้วระหว่างทั้งสองหน่วยงาน
โครงสร้างใหม่นี้ไม่ได้จำกัดขอบข่ายของงานสำหรับองค์กรมาตรฐานแต่ได้จัดเตรียมกรอบการดำเนินงานซึ่งจำเป็นต้องมีสำหรับมาตรฐานส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเอกสารแนวทางควบคู่ไปกับโครงสร้างนี้ด้วย สำหรับกรอบการดำเนินงานดังกล่าวได้รับการอนุมัติเมื่อปี 2554 (ค.ศ.2011) โดยองค์กรควบคุมของไอเอสโอและเอเอสทีเอ็ม
เอเอสทีเอ็มได้พัฒนามาตรฐานกว่า 12,000 ฉบับ และนำไปใช้ทั่วโลก อันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนนับล้านคนทั่วโลก พร้อมกันนั้น ด้วยการผสมผสานไปกับบริการธุรกิจนวัตกรรม ทำให้เพิ่มสมรรถนะและช่วยให้ทุกคนมีความมั่นใจในสินค้าที่ใช้งาน นับตั้งแต่ของเด็กเล่นที่อยู่ในมือเล็กๆ ไปจนถึงเครื่องบินที่บินอยู่บนน่านฟ้า
การทำงานข้ามเขตแดนด้วยอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ ที่ผสมผสานกันมีการใช้ความเชี่ยวชาญของสมาชิกมากกว่า 30,000 คนในการสร้างการยอมรับที่เป็นฉันทามติและการปรับปรุงสมรรถนะในการผลิต วัสดุ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ ระบบและบริการ ความเข้าใจถึงความจำเป็นทางการค้าและการจัดลำดับความสำคัญของผู้บริโภค ทำให้ไอเอสโอและเอเอสทีเอ็มสามารถทำงานร่วมกันเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ที่มา: 1. http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2124
2. http://www.fao.org/world-food-day/2016/theme/en/
Related posts
Tags: Additive Manufacturing, AM, ASTM, ISO, standard, Standardization
ความเห็นล่าสุด