วารสาร Harvard Business Review ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้หลายครั้ง เมื่อเร็วๆ นี้ ก็ได้นำเสนอเรื่องของนวัตกรรมซึ่งหลายบริษัทพยายามทำให้เป็นหน้าที่ของคนทุกคนในองค์กร กล่าวได้ว่าผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีตำแหน่งเพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่งคือ “นวัตกร” เกี่ยวกับเรื่องนี้ วารสาร Harvard Business Review จะมีมุมมองที่เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรนั้น โปรดติดตามค่ะ
ดูเหมือนว่าคำว่านวัตกรรม จะเปลี่ยนแปลงจากคำว่า “ทำอย่างไร” ไปเป็น “ใครเป็นคนทำ” กระบวนการและวิธีการได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความท้าทายเชิงปฏิบัติการในการสนับสนุนความสามารถของบุคลากรที่ดีที่สุด สำหรับหลายบริษัท วาระด้านนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการลงทุนในด้านบุคลากรในฐานะที่เป็นคนส่งมอบสินค้าและบริการ
แล้วถ้านวัตกรรมเป็นงานของคนทุกคน ใครจะเป็นเจ้าของการฝึกอบรมล่ะ คงไม่ใช่ทุกคนในองค์กรและก็ไม่ใช่ซีอีโอด้วย คนที่ทำด้านนวัตกรรมในองค์กรกำลังมีมากขึ้นและกลายเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมเกี่ยวกับนวัตกรรม จะเห็นได้จากการจ้างงานด้านนี้เพิ่มขึ้นและการสร้างตัวชี้วัดด้านนวัตกรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบของบริษัทที่ทำให้เกิดนวัตกรรม
สำหรับบริษัทบริการด้านมืออาชีพที่มีการเน้นการวิเคราะห์ไปที่คน นวัตกรรมจะเปลี่ยนไปเป็นเรื่องแนวหน้าและเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสัมภาษณ์และกระบวนการทำงาน สำหรับประวัติการทำงานของบุคลากรที่อยู่ใน LinkedIn นั้น จะมีการค้นหาคีย์เวิร์ดที่มีคำอธิบายเกี่ยวข้องกับด้านนวัตกรรม นอกจากนี้ ผู้สมัครส่วนใหญ่ มักจะไม่เพียงได้รับคำถามเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาให้กับองค์กรเท่านั้น แต่จะขอให้เสนอแนวคิดทางธุรกิจที่เน้นไปในด้านนวัตกรรมเพื่อสร้างความเติบโตให้กับบริษัทด้วย
ที่บริษัทที่มีเครือข่ายร้านอาหารที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ผู้จัดการจะถามผู้สมัครงานว่าเต็มใจจะช่วยทำการทดสอบและปรับปรุงการนำเสนอบริการและสินค้าอาหารใหม่ของบริษัทหรือไม่ ส่วนผู้ที่เข้างานใหม่จะได้รับการสอบถามสั้นๆ ที่ใช้สมาร์ทโฟนในเรื่องความสำเร็จด้านนวัตกรรมของบริษัท นอกจากนี้ ยังมีวิดีโอความยาวสองนาทีที่นำเสนอเชฟของบริษัทที่มีความสามารถในการดึงดูดพนักงานใหม่ในเข้ามามีส่วนร่วมในด้านนวัตกรรมฟาสต์ฟู้ดด้วย
ในทำนองเดียวกัน หนึ่งในสายการบินที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักได้จัดทำชุดคำถามเกี่ยวกับภารกิจขององค์กรให้กับนักบินและแอร์โฮสเตสทั้งแบบสอบถามออนไลน์และแบบสอบถามรายบุคคล เพื่อรวบรวมข้อสังเกตและคำแนะนำว่านักบินชั้นดีมีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างไร สายการบินนี้พยายามสร้างความมั่นใจให้กับการบินด้วยประสบการณ์ที่สนุกสนานแต่พันธสัญญาที่เป็นวัฒนธรรมองค์กรหลักเช่นนี้ยังไม่เพียงพอ สายการบินคาดหวังว่านักบินและแอร์โฮสเตสจะต้องแนะนำวิธีที่จะทำให้ผู้โดยสารพบกับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นด้วย
สำหรับผู้จัดการบางคนอาจจะชอบใช้กล่องคำแนะนำแม้ว่าจะมีช่องทางอื่นอย่างโซเชียลเน็ทเวิร์ค ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การสร้างนวัตกรรมให้เป็นที่นิยมในองค์กรเป็นสิ่งที่องค์กรต้องทำเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ บริษัทส่วนใหญ่มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัยและพัฒนาและกระบวนการนวัตกรรมอย่างเป็นทางการแต่ยังต้องค้นหาการมีส่วนร่วมเป็นรายบุคคลให้มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
บริษัทส่วนใหญ่พึ่งพาการออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่รวดเร็วขึ้นและง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก ความแตกต่างที่ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งในด้านไคเซ็น ซึ่งไม่เหมือนคนญี่ปุ่นรุ่นก่อน ก็คือ การให้ความสำคัญกับลูกค้าที่เข้ามามากขึ้น มากกว่ากระบวนการภายในที่จะส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการออกไปข้างนอก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการนำเสนอนวัตกรรมที่ส่งเสริมประสบการณ์ผู้ใช้ในแบบที่สามารถวัดผลได้ พวกเขาได้รับการฝึกอบรมไม่เพียงแต่เพื่อแนะนำการปรับปรุงเท่านั้น แต่เพื่อทำการใช้ในรูปแบบดิจิตอลและการใช้งานอื่นๆ กับเพื่อนร่วมงานที่ใช้ในการทดสอบในโลกของความเป็นจริงด้วย คุณค่าภายนอกใหม่ๆ นั้นไม่เพียงแต่เป็นประสิทธิภาพภายในที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของงานของบุคลากรในปัจจุบันอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในด้านนวัตกรรมก็คือ การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้มีการนำเสนอแนวคิดที่ดีเพื่อนำไปพัฒนาองค์กร ผู้บริหารจึงไม่เพียงแต่เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้นำเท่านั้น แต่จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างนวัตกรรมอีกด้วย
“กล้าคิด กล้าเปิดใจ กล้าเรียนรู้และกล้าทำในสิ่งใหม่ๆ ไปด้วยกัน” จะทำให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จด้วยนวัตกรรมโดยไม่จำเป็นต้องถามว่า “นวัตกรรมเป็นเรื่องของใครในองค์กร” อีกต่อไป
ที่มา: 1. https://hbr.org/2016/01/companies-are-now-making-innovation-everyones-job
2. http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1534&read=true&count=true
Related posts
Tags: Innovation, Management Strategy, organization, Strategic Management, teamwork
ความเห็นล่าสุด