เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2559 ที่เมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี มีผู้เชี่ยวชาญกว่า 3,500 คนจากทั่วโลกได้มารวมตัวกันระหว่างวันที่ 10 – 14 ตุลาคม 2559 เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นฐานด้านวิชาการสำหรับการสร้างนวัตกรรมและความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืน โดยมีส่วนร่วมในการประชุมสามัญครั้งที่ 10 ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (IEC: International Electrotechnical Commission) โดยคณะกรรมการแห่งชาติไออีซีของประเทศเยอรมนี (DKE)
เทคโนโลยีด้านไฟฟ้านั้น การผสมผสานกฎระเบียบทางเทคนิคให้มีความกลมกลืนกันมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน สินค้าด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีถึงปริมาณถึง 17.7% ของสินค้าทั้งหมดทั่วโลก สมาชิกไออีซีจากทั่วโลกมีจำนวนถึง 98% ของประชากรโลกและนับเป็น 96% ของแหล่งกำเนิดพลังงานทั่วโลก
การทำงานของไออีซีสามารถทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความเป็นอิสระ เป็นกลางและเป็นสากล และยังช่วยให้การทำงานร่วมกันมีบทบาทมากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ไออีซีได้รวบรวมคนที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมมาช่วยกันทำงานโดยให้ความสำคัญกับความท้าทายที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่น สภาพภูมิอากาศ การเข้าถึงพลังงานสากล การทำระบบดิจิตอลในโรงงานผลิต และการคุกคามโลกไซเบอร์ เป็นต้น
เลขาธิการและซีอีโอของไออีซีกล่าวว่า ไออีซีได้เชื่อมต่อกับชุมชนตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งในปี 2449 (ค.ศ.1906) ผู้มีส่วนได้เสียจากประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศอุตสาหกรรมจากทุกประเทศมีการสนับสนุนไออีซีอย่างแข็งขัน ประเทศเยอรมันและประเทศต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้มาตรฐานระหว่างประเทศไออีเพื่อเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตให้กับผู้ส่งออกของตนเองและยังคงสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
งานเทคโนโลยีและการมาตรฐานที่ตามมาก็คือการเข้าสู่ยุคใหม่ที่เป็นข้อมูลและดิจิตอลก็กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารและวิธีการทำงาน ระบบที่เพิ่มความซับซ้อนนี้จำเป็นต้องใช้การแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่ผสมผสานเข้าด้วยกันได้ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของห่วงโซ่คุณค่าทั่วโลกได้ทำให้กระบวนการผลิตกระจัดกระจายออกไป ผลิตภัณฑ์จะไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศอีกต่อไป แต่เป็นการผลิตมาจากทั่วโลก
ในการประชุมสามัญครั้งที่ 16 นี้ มีผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น เลขาธิการไออีซี สมาชิกคณะกรรมการบริหารของพานาโซนิค ประธานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศเยอรมัน เลขาธิการสมาชิกรัฐสภาที่ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงการเศรษฐกิจและพลังงาน เป็นต้น
การระดมผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกมาพัฒนาวิชาการนวัตกรรมด้านไฟฟ้าในการประชุมดังกล่าวจะช่วยพัฒนาพื้นฐานด้านวิชาการสำหรับการสร้างนวัตกรรมและความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืนให้กับโลกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบัน แนวทางการทำงานของไออีซีกำลังจะปรับเปลี่ยนไปเป็น “การทำงาน 4.0” (Work 4.0) ซึ่งหมายถึงการทำงานที่ยืดหยุนมากขึ้นอย่างไร้ขอบเขต เวลา และสถานที่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิตอล เช่น การใช้ Web-conference การใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในกระบวนการด้านการมาตรฐาน ความร่วมมือแบบออนไลน์ เป็นต้น
ที่มา:
1. http://www.iec.ch/newslog/2016/nr2716.htm
2. http://www.iec2016.org./index.php/newsreel.html
Related posts
Tags: Electrical Equipment, Electronic, IEC, IEC80th, ISO, Standardization
Recent Comments