คำถามสำหรับภาคครัวเรือนในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง คือ เรารู้หรือไม่ว่าแต่ละปีมีการใช้ไฟฟ้าไปเท่าใด ส่วนคำถามสำหรับภาคอุตสาหกรรมในการประหยัดพลังงาน คือ มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในอาคารสำนักงานเท่าใด ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะรู้ว่าจ่ายค่าพลังงานไปเท่าใด แต่ก็มักไม่รู้ว่าตนเองได้ใช้พลังงานไปเป็นจำนวนเท่าใด เช่น จำนวนพลังงานสำหรับความร้อน น้ำ และไฟฟ้า เป็นต้น แต่ก็เป็นคำถามสำคัญมากเนื่องจากเป็นคำถามแรกที่ต้องถามตัวเองหากเราต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลง
จริงๆ แล้ว คนส่วนใหญ่ตระหนักดีว่ามีความจำเป็นต้องลดการบริโภคพลังงานลงโดยใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ค่าใช้จ่ายบางอย่างสามารถตัดลงได้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ แต่ถึงแม้จะเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถส่งผลให้มีการประหยัดพลังงานและลดคาร์บอนลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับอาคารต่างๆ นั้น เป็นแหล่งที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมากและมีการใช้พลังงานถึงหนึ่งในสามของพลังงานที่ใช้ไปทั่วโลก ทั้งนี้ เป็นข้อมูลของ IEA ซึ่งรายงานเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนไปเป็นอาคารเพื่อความยั่งยืน และที่สำคัญก็คือ หากไม่มีการลงมือทำอะไรในภาคส่วนของอาคารเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานแล้ว อนาคตโลกเราจะต้องเผชิญกับปัญหาด้านพลังงานมากขึ้น
มีการคาดการณ์ว่าความต้องการด้านพลังงานจะเพิ่มขึ้นอีก 50% ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) ยกเว้นเสียแต่ว่าเรามีการออกแบบเช่นในด้านการก่อสร้างอาคารหรือการบูรณะซ่อมแซมอาคารต่งๆ โดยเตรียมการรองรับไว้ล่วงหน้าสำหรับเมืองให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำ คือ เริ่มต้นตั้งแต่บัดนี้ ไม่ใช่เพราะแนวโน้มด้านพลังงานเท่านั้น แต่เพราะว่าอาคารเป็นอุตสาหกรรมที่มีการทดแทนน้อยมาก การดูแลเฉพาะอาคารใหม่ๆ นั้น ไม่เพียงพอเสียแล้ว การปรับปรุงสมรรถนะของอาคารที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน
Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ระบุว่าอาคารทั้งหมดที่มีอยู่นั้น นับเป็นสัดส่วนที่สามารถปรับใช้กับอาคารที่มีอยู่และสามารถแทนที่ด้วยอุปกรณ์ด้านพลังงานซึ่งช่วยให้ลดคาร์บอนลงได้ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) ทั้งนี้ สามารถบรรลุถึงการประหยัดพลังงานลง 50 – 75% ในอาคารพาณิชย์ที่มีการใช้มาตรวัดประสิทธิภาพพลังงานแบบอัจฉริยะ
Research Institute for Thermal Insulation (FIW) เป็นหนึ่งในสถาบันทดสอบและวิจัยชั้นนำของโลกด้านฉนวนกันความร้อนในประเทศเยอรมนี
แอนเดรีย ฮอล์ม หัวหน้าของ FIW และประธานของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 163, Thermal performance and energy use in the built environment, คณะอนุกรรมการ SC 1, Test and measurement methods อธิบายว่า สำหรับประเทศเยอรมนีแล้ว ก็เหมือนกับประเทศในยุโรปอื่นๆ คือ การปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนับเป็นหนึ่งในความท้าทายหลัก จริงอยู่ อาคารใหม่ๆ มีการสร้างขึ้นมาสำหรับการใช้พลังงานเป็นศูนย์ แต่ในการที่จะทำให้มีการใช้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับมาตรฐานในปัจจุบันด้วย
ในภูมิภาคต่างๆ ส่วนใหญ่ของโลก ประสิทธิภาพด้านพลังงานของอาคารสามารถคำนวณได้โดยใช้มาตรฐาน ISO 16346: 2013 Energy performance of buildings – Assessment of overall energy performance ทั้งนี้ โดยร่วมกับการใช้มาตรฐานไอเอสโอตัวอื่นในการคำนวณคุณสมบัติความร้อนของสิ่งที่ปกคลุมอาคาร (เช่น กำแพง หลังคา และฐาน) และวัสดุก่อสร้างรายอาคาร ซึ่งการเตรียมการเหล่านี้เป็นการอ้างอิงถึงสมรรถะในเอกสารด้านการค้าและกฎระเบียบของอาคารทั่วโลก
ฮอล์มย้ำว่าในขณะที่ภาคส่วนการก่อสร้างเป็นงานระดับชาติ แต่ก็กำลังจะกลายเป็นงานในระดับสากล เนื่องจากการสร้างซัพพลายเออร์ด้านนี้กำลังเพิ่มปริมาณปฏิบัติงานมากขึ้นในประเทศต่างๆ และซัพพลายเออร์และผู้ก่อสร้างก็ขยายไปสู่ระดับสากลมากขึ้นในปัจจุบันด้วย
การช่วยให้ภาคส่วนอาคารลดปริมาณคาร์บอนลงในภาพรวมนั้นถือเป็นแนวทางที่คณะทำงานของไอเอสโอได้ร่วมกันดำเนินการกับกลุ่มการปฏิบัติงานด้านสมรรถะพลังงานซึ่งทำให้มีวิธีการที่รัดกุมมากขึ้นในการประเมินสมรรถะพลังงานที่ใช้ไปในด้านการทำความร้อน ความเย็น การให้แสง ระบบหมุนเวียนอากาศ การใช้น้ำร้อนและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
ผู้แทนของไอเอสโอกล่าวถึงความคาดหวังต่อชุดมาตรฐาน ISO 52000 ที่กำลังพัฒนาอยู่ว่าจะมีส่วนทำให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงานด้วยเทคโนโลยีและวิธีปฏิบัติที่มีอยู่ และจะช่วยให้เราสามารถประเมินสมรรถนะพลังงานของอาคารได้ และมาตรฐานดังกล่าวคาดว่าจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2560
หากทุกภาคส่วนร่วมกันลดปริมาณคาร์บอนลง ความหวังที่จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลดลงต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2140
Related posts
Tags: Building, energy management, ISO16346
Recent Comments