• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,602 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    13,839 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    9,805 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    9,785 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    9,194 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — พฤศจิกายน 25, 2016 8:00 am
ลดโลกร้อนด้วยการลงทุนด้านการจัดการพลังงานในอาคาร
Posted by Phunphen Waicharern with 2073 reads
0
  

CLIMATE-CHANGE--AND-INVESTMENT--IN-ENERGY-EFFICIENT-BUILDINGSCLIMATE-CHANGE--AND-INVESTMENT--IN-ENERGY-EFFICIENT-BUILDINGSคำถามสำหรับภาคครัวเรือนในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง คือ เรารู้หรือไม่ว่าแต่ละปีมีการใช้ไฟฟ้าไปเท่าใด ส่วนคำถามสำหรับภาคอุตสาหกรรมในการประหยัดพลังงาน คือ มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในอาคารสำนักงานเท่าใด ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะรู้ว่าจ่ายค่าพลังงานไปเท่าใด แต่ก็มักไม่รู้ว่าตนเองได้ใช้พลังงานไปเป็นจำนวนเท่าใด เช่น จำนวนพลังงานสำหรับความร้อน น้ำ และไฟฟ้า เป็นต้น แต่ก็เป็นคำถามสำคัญมากเนื่องจากเป็นคำถามแรกที่ต้องถามตัวเองหากเราต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลง

จริงๆ แล้ว คนส่วนใหญ่ตระหนักดีว่ามีความจำเป็นต้องลดการบริโภคพลังงานลงโดยใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  ค่าใช้จ่ายบางอย่างสามารถตัดลงได้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ แต่ถึงแม้จะเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถส่งผลให้มีการประหยัดพลังงานและลดคาร์บอนลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับอาคารต่างๆ นั้น เป็นแหล่งที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมากและมีการใช้พลังงานถึงหนึ่งในสามของพลังงานที่ใช้ไปทั่วโลก ทั้งนี้ เป็นข้อมูลของ IEA ซึ่งรายงานเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนไปเป็นอาคารเพื่อความยั่งยืน และที่สำคัญก็คือ หากไม่มีการลงมือทำอะไรในภาคส่วนของอาคารเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานแล้ว อนาคตโลกเราจะต้องเผชิญกับปัญหาด้านพลังงานมากขึ้น

มีการคาดการณ์ว่าความต้องการด้านพลังงานจะเพิ่มขึ้นอีก 50% ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) ยกเว้นเสียแต่ว่าเรามีการออกแบบเช่นในด้านการก่อสร้างอาคารหรือการบูรณะซ่อมแซมอาคารต่งๆ โดยเตรียมการรองรับไว้ล่วงหน้าสำหรับเมืองให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำ คือ เริ่มต้นตั้งแต่บัดนี้ ไม่ใช่เพราะแนวโน้มด้านพลังงานเท่านั้น แต่เพราะว่าอาคารเป็นอุตสาหกรรมที่มีการทดแทนน้อยมาก การดูแลเฉพาะอาคารใหม่ๆ นั้น ไม่เพียงพอเสียแล้ว การปรับปรุงสมรรถนะของอาคารที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน

Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ระบุว่าอาคารทั้งหมดที่มีอยู่นั้น นับเป็นสัดส่วนที่สามารถปรับใช้กับอาคารที่มีอยู่และสามารถแทนที่ด้วยอุปกรณ์ด้านพลังงานซึ่งช่วยให้ลดคาร์บอนลงได้ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) ทั้งนี้ สามารถบรรลุถึงการประหยัดพลังงานลง 50 – 75% ในอาคารพาณิชย์ที่มีการใช้มาตรวัดประสิทธิภาพพลังงานแบบอัจฉริยะ

Research Institute for Thermal Insulation (FIW) เป็นหนึ่งในสถาบันทดสอบและวิจัยชั้นนำของโลกด้านฉนวนกันความร้อนในประเทศเยอรมนี

แอนเดรีย ฮอล์ม หัวหน้าของ FIW และประธานของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 163, Thermal performance and energy use in the built environment, คณะอนุกรรมการ SC 1, Test and measurement methods อธิบายว่า สำหรับประเทศเยอรมนีแล้ว ก็เหมือนกับประเทศในยุโรปอื่นๆ คือ การปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนับเป็นหนึ่งในความท้าทายหลัก  จริงอยู่ อาคารใหม่ๆ มีการสร้างขึ้นมาสำหรับการใช้พลังงานเป็นศูนย์ แต่ในการที่จะทำให้มีการใช้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับมาตรฐานในปัจจุบันด้วย

ในภูมิภาคต่างๆ ส่วนใหญ่ของโลก ประสิทธิภาพด้านพลังงานของอาคารสามารถคำนวณได้โดยใช้มาตรฐาน ISO 16346: 2013 Energy performance of buildings – Assessment of overall energy performance ทั้งนี้ โดยร่วมกับการใช้มาตรฐานไอเอสโอตัวอื่นในการคำนวณคุณสมบัติความร้อนของสิ่งที่ปกคลุมอาคาร (เช่น กำแพง หลังคา และฐาน) และวัสดุก่อสร้างรายอาคาร  ซึ่งการเตรียมการเหล่านี้เป็นการอ้างอิงถึงสมรรถะในเอกสารด้านการค้าและกฎระเบียบของอาคารทั่วโลก

ฮอล์มย้ำว่าในขณะที่ภาคส่วนการก่อสร้างเป็นงานระดับชาติ แต่ก็กำลังจะกลายเป็นงานในระดับสากล เนื่องจากการสร้างซัพพลายเออร์ด้านนี้กำลังเพิ่มปริมาณปฏิบัติงานมากขึ้นในประเทศต่างๆ และซัพพลายเออร์และผู้ก่อสร้างก็ขยายไปสู่ระดับสากลมากขึ้นในปัจจุบันด้วย

การช่วยให้ภาคส่วนอาคารลดปริมาณคาร์บอนลงในภาพรวมนั้นถือเป็นแนวทางที่คณะทำงานของไอเอสโอได้ร่วมกันดำเนินการกับกลุ่มการปฏิบัติงานด้านสมรรถะพลังงานซึ่งทำให้มีวิธีการที่รัดกุมมากขึ้นในการประเมินสมรรถะพลังงานที่ใช้ไปในด้านการทำความร้อน ความเย็น การให้แสง ระบบหมุนเวียนอากาศ การใช้น้ำร้อนและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

ผู้แทนของไอเอสโอกล่าวถึงความคาดหวังต่อชุดมาตรฐาน ISO 52000 ที่กำลังพัฒนาอยู่ว่าจะมีส่วนทำให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงานด้วยเทคโนโลยีและวิธีปฏิบัติที่มีอยู่ และจะช่วยให้เราสามารถประเมินสมรรถนะพลังงานของอาคารได้ และมาตรฐานดังกล่าวคาดว่าจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2560

หากทุกภาคส่วนร่วมกันลดปริมาณคาร์บอนลง ความหวังที่จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลดลงต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2140



Related posts

  • หนุนประสิทธิภาพพลังงานของอาคารด้วยแนวทางองค์รวมของ ISO ตอนที่ 1หนุนประสิทธิภาพพลังงานของอาคารด้วยแนวทางองค์รวมของ ISO ตอนที่ 1
  • ไอเอสโอทบทวนมาตรฐานระบบหน่วยวัดไอเอสโอทบทวนมาตรฐานระบบหน่วยวัด
  • มาตรฐานใหม่เพื่อหอสมุดแห่งชาติมาตรฐานใหม่เพื่อหอสมุดแห่งชาติ
  • การท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างอนาคตการท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างอนาคต
  • ไอเอสโอสร้างความชัดเจนของภาคส่วนการเงินด้วย ISO 4914ไอเอสโอสร้างความชัดเจนของภาคส่วนการเงินด้วย ISO 4914

Tags: Building, energy management, ISO16346

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2022 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑