หนึ่งในการท่องเที่ยวที่ต้องมีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยสูงมากก็คือ การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (adventure tourism) ปัจจุบันการท่องเที่ยวแบบนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก ไอเอสโอตระหนักถึงความปลอดภัยในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำคู่มือขึ้นมาใหม่สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการนำมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยการท่องเที่ยวแบบผจญภัย (ISO 21101) ไปใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็นการเดินป่า การดำน้ำ การล่องแพ บันจี้จั๊มพ์ หรือกิจกรรมกลางแจ้งที่น่าตื่นเต้นเร้าใจอื่นๆ การดูแลนักท่องเที่ยวให้มีความปลอดภัยถือเป็นหัวใจสำคัญยิ่ง แต่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแบบผจญภัยจะมีความมั่นใจได้อย่างไรว่าผู้ปฏิบัติงานมีความใส่ใจในทุกรายละเอียดโดยไม่ละเลยข้อกำหนดสำคัญไป ซึ่งอันที่จริงแล้ว มาตรฐาน ISO 21101 ได้ออกแบบมาเพื่อจัดเตรียมแนวทางเชิงระบบด้านระบบการจัดการความปลอดภัย (Safety
มาตรฐาน ISO 21101เป็นประโยชน์ดังต่อไปนี้
- ส่งเสริมสมรรถนะด้านความปลอดภัย
- ตอบสนองความคาดหวังของนักท่องเที่ยวและพนักงานของบริษัทท่องเที่ยว
- แสดงถึงวิธีปฏิบัติที่ปลอดภัย
- สนับสนุนความสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านกฎหมายที่มีการนำไปประยุกต์ใช้
แมรี่ เบ็ธ คุก และการ์ธ กัลลีย์ ผู้แต่งร่วมของคู่มือสำหรับมาตรฐาน ISO 21101 มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับความสำคัญของระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานที่ต่างๆ ซึ่งประโยชน์ก็คือ คู่มือนี้มีความสอดคล้องกับ ISO 21101 และรวมถึงการแสดงความมีชื่อเสียงที่ดีในฐานะผู้ให้บริการที่มีความปลอดภัยและมีการปรับปรุงบริการโดยรวมเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะทำให้นักท่องเที่ยวได้รับบริการที่ปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลตอบกลับมากขึ้น ส่งผลดีต่อธุรกิจ การเติบโตและการมีส่วนร่วมของพนักงาน รวมทั้งความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจ ซัพพลายเออร์ ผู้ควบคุมกฎ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
ผู้ให้บริการการท่องเที่ยวแบบผจญภัย ไม่ว่าทำงานอยู่ที่ใดในโลกนี้ ล้วนแล้วแต่มีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้มาใช้บริการ กิจกรรมการท่องเที่ยวแบบผจญภัยรวมถึงความเสี่ยง และผู้ให้บริการก็ต้องจัดการกับความเสี่ยงเหล่านั้นด้วย คู่มือที่จัดทำขึ้นดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่นำมาตรฐาน ISO 21101 ไปใช้เนื่องจากเป็นคู่มือที่แสดงการใช้งานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ให้คำแนะนำในเชิงปฏิบัติ และวิธีการทำให้นักท่องเที่ยวมีความปลอดภัยสูงสุด และสิ่งที่สำคัญก็คือ คู่มือนี้จัดทำขึ้นสำหรับเจ้าของหรือผู้จัดการขององค์กรขนาดเล็กและเอสเอ็มอี ซึ่งทำงานกับระดับปฏิบัติงานแต่ะมีความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ในการจัดการ
ผู้เขียนกล่าวว่า ด้วยเหตุนี้จึงเขียนคู่มือนี้ขึ้นมาโดยคิดอยู่เสมอว่าต้องทำขึ้นเพื่อให้องค์กรขนาดเล็กและเอสเอ็มอีสามารถนำไปใช้งานได้ง่ายและสะดวก และเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาคส่วนการท่องเที่ยวแบบผจญภัยไปทั่วโลก
ผู้สนใจคู่มือดังกล่าวสามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือหาซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ ISO Store
ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2142
Related posts
Tags: adventure tourism, ISO21101, safety, standard, Tourism, Tourist
ความเห็นล่าสุด