• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in or Register
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    13,681 view(s)
  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    10,985 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    8,949 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    8,617 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุดประกาศแล้ว ISO 22000 ฉบับใหม่ล่าสุด
    7,684 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO ISO45001 IT Management Strategy Media Mobile Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — December 16, 2016 8:00 am
ISO 50001 ระบบการจัดการพลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
Posted by Phunphen Waicharern with 2952 reads
0
  

Does--ISO-50001-STILL-LIVE-UPมาตรฐาน ISO 50001 เป็นมาตรฐานที่องค์กรทั่วโลกให้ความสนใจเพิ่มขึ้นในช่วงสองปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด ดังจำนวนผู้ได้รับการรับรองที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 6,765 รายในปี 2557 เป็น 11,985 รายในปี 2558 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 77%  (จากผลสำรวจขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ปี 2558) อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ได้รับการรับรองในมาตรฐานอื่นๆ นับว่ายังมีปริมาณไม่มากนัก เช่น ในปี 2558 มีองค์กรที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9001 จำนวน 1,033,936 ราย มาตรฐาน ISO 14001 จำนวน 319,324 ราย มาตรฐาน ISO 22000 จำนวน 32,061 ราย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในด้านประโยชน์ของการนำมาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 ไปใช้ ในด้านหนึ่ง มาตรฐานช่วยให้เราลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ ซึ่งอาจหมายถึงการลดการปล่อยก๊าซฯ ที่ปล่อยออกมาจากยานพานหะบนท้องถนนเท่ากับจำนวน 215 ล้านคันภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) และในอีกด้านหนึ่งหมายถึงช่วยในเรื่องธุรกิจขององค์กรต่างๆ ด้วย ซึ่งคาดการณ์ว่าเท่ากับการลดการใช้พลังงานที่ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปถึง 600 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน

ดังนั้น หลายประเทศจึงเห็นว่า ISO 50001 เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์สำหรับอนาคตของการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ซึ่งทำให้มาตรฐานเป็นส่วนหนึ่งที่ผสมผสานไปกับนโยบายด้านพลังงาน ซึ่งรัฐบาลที่ดำเนินการในเชิงรุก จะใช้มาตรการทางภาษี การเข้าถึงเงินทุนวิจัย และมาตรการทางภาษีอื่นๆ เพื่อกระตุ้นบริษัทให้มีการนำมาตรฐาน ISO 50001 ไปใช้มากขึ้น (ในประเทศไทย ภาครัฐโดยบีโอไอก็มีการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงานเช่นกัน เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เว้นภาษีเพิ่ม 3 ปีซึ่งจะต้องยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม เป็นต้น )

การใช้ชีวิตในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน จากเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนหรือเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ ทำให้การควบคุมค่าใช้จ่ายขององค์กรอาจทำได้ไม่ง่ายนัก แต่สิ่งที่องค์กรสามารถทำได้เพื่อลดค่าใช้จ่าย คือ การปรับปรุงวิธีการจัดการด้านพลังงาน ซึ่งประโยชน์ของการนำมาตรฐาน ISO 50001 ไปใช้จะทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดค่าใช้จ่ายและการบริโภคพลังงานในองค์กรลงได้

โรแลนด์ ริสเซอร์ ประธานของคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอ ISO/TC 242 ด้านการจัดการพลังงาน กล่าวในมุมมองของผู้พัฒนามาตรฐานว่า ความท้าทายอันยิ่งใหญ่ของเขา ก็คือ การทำให้มาตรฐานด้านการจัดการพลังงานเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน คือ สามารถนำไปใช้งานได้ง่าย และตรงไปตรงมา นอกจากนี้ ในการที่จะทำให้มาตรฐานมีพัฒนาการก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ก็คือ ต้องทำให้มั่นใจว่ามีการเพิ่มหัวข้อใหม่ๆ ลงไปที่จะช่วยให้ผลลัพธ์ที่ออกมามีประสิทธิภาพและคุ้มค่าอย่างแท้จริง ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นให้องค์กรนำมาตรฐานระบบการจัดการพลังงานของไอเอสโอไปใช้

ในอีกด้านหนึ่ง ริสเซอร์ทำนายว่ามาตรฐาน ISO 50001 ที่กำลังปรับปรุงอยู่นี้ จะเป็นมาตรฐานที่เข้ากันได้ดีกับมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO 14001 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับมาตรฐานทุกมาตรฐานในด้านระบบการจัดการของไอเอสโอ หมายความว่าองค์กรจะใช้เวลาน้อยลงในการโฟกัสไปที่กระบวนการทำงานและการขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือด้านมาตรฐานเพราะมีพื้นฐานของระบบที่คล้ายคลึงกันอยู่แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่า ISO 50001 มีความโดดเด่นกว่ามาตรฐานระบบการจัดการอื่นในแง่ที่ว่าการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้นมีการโฟกัสไปที่ 2 เรื่องคือ ระบบการจัดการด้วยตัวของมันเอง กับสมรรถนะด้านพลังงาน

ท้ายที่สุด สิ่งที่จะทำให้มาตรฐาน ISO 50001 เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง คือการช่วยให้ประเทศต่างๆ สามารถบรรลุพันธสัญญาที่ให้ไว้ตามข้อตกลงปารีส ในขณะที่มาตรฐานนี้ก็ท้าทายองค์กรให้ค่อยๆ ก้าวไปสู่การประหยัดพลังงานและพัฒนาระบบการจัดการด้านพลังงานอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตด้วย

ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2135



Related posts

  • เทคโนโลยีโกดักช่วยประหยัดน้ำได้ปีละ 260 ล้านลิตรเทคโนโลยีโกดักช่วยประหยัดน้ำได้ปีละ 260 ล้านลิตร
  • โค้งสุดท้าย ISO 9001: 2015 ตอนที่ 2โค้งสุดท้าย ISO 9001: 2015 ตอนที่ 2
  • มาตรฐานไอเอสโอสำหรับทีมกู้ภัยฉุกเฉินมาตรฐานไอเอสโอสำหรับทีมกู้ภัยฉุกเฉิน
  • สานฝันนวัตกรให้กลายเป็น “นวัตกรรม” ด้วย ISO 56002 ตอนที่ 3สานฝันนวัตกรให้กลายเป็น “นวัตกรรม” ด้วย ISO 56002 ตอนที่ 3
  • ISO 16140 เพิ่มความมั่นใจในผลทดสอบของห้องแล็บISO 16140 เพิ่มความมั่นใจในผลทดสอบของห้องแล็บ

Tags: Environment, Infrastructure, ISO50001, Standardization

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2021 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑