• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    16,005 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,149 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,532 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,366 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,225 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — มกราคม 25, 2017 8:00 am
ICAO พร้อมรับมืออนาคตการบิน ตอนที่ 2
Posted by Phunphen Waicharern with 3163 reads
0
  

ICAO-IS-READY--FOR-FUTURE-OF--AVIATION-2บทความเรื่อง ICAO พร้อมรับมืออนาคตการบิน ตอนที่ 1 ได้นำเสนอเรื่องของความก้าวหน้าเกี่ยวกับการบินซึ่ง ICAO ได้ปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการเดินอากาศรวมทั้งการขนส่งสินค้าให้มีความปลอดภัยอย่างเข้มงวดและสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปด้วย  ซึ่งคุณฟาง ลี่ เลขาธิการ ICAO ได้เล่าถึงกฎระเบียบและมาตรฐานอื่นๆ เกี่ยวกับปลอดภัยรวมทั้งแผนพัฒนาระบบการเดินอากาศสากล

สำหรับบทความในตอนที่ 2 เลขาธิการ ICAO กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft Vehicles) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงและมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของการบิน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ICAO ไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 20/SC 16 – Unmanned Aircraft Systems Committee ขึ้นเพื่อจัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการบินในอนาคต รวมทั้งการนำเครื่องบินบังคับที่ปฏิบัติการในอากาศไปใช้งานด้วย

คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 20/SC 16 เป็นคณะกรรมการที่ดูแลด้านการออกแบบ การพัฒนา การผลิต การส่งมอบ การดูแลบำรุงรักษาและการจำแนกระบบการบินไร้คนขับซึ่งรวมถึงวัสดุ องค์ประกอบ และอุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างการผลิตรวมทั้งในด้านความปลอดภัยของการใช้งานร่วมกันในอากาศทั้งแบบที่มีคนขับและแบบไร้คนขับ โดยมีสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (ANSI) ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ

ในด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเดินอากาศนับว่าเป็นแหล่งของการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกได้อย่างรวดเร็วที่สุด สิ่งที่ ICAO ได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขและป้องกันในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร

เมื่อปี 2559 การบินเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณ 1.3% ของก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ และพยายามหามาตรการเพื่อลดปริมาณลง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า โครงการลดและทดแทนคาร์บอนเพื่อการเดินอากาศระหว่างประเทศ  (Carbon Offsetting and Reduction Scheme for International Aviation: CORSIA) และนับว่าเป็นอุตสาหกรรมแรกที่ได้มีการประกาศเป้าหมายในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมการบิน  ซึ่งมีผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการมากกว่า 86%

นอกจากนี้ ในด้านความปลอดภัย ICAO ได้มีเครื่องมือความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ คือ แผนความปลอดภัยด้านการบินระดับโลก (Global Aviation Safety Plan) อันเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวด้านความปลอดภัย ซึ่งมีการระบุว่าจุดใดเป็นจุดอ่อนของระบบและทำให้มีทิศทางในการปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ความร่วมมือในระดับสากลระหว่างผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการบินยังมีความจำเป็นยิ่งและไอเอสโอก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของความร่วมมือ เช่น มาตรฐาน ISO 9000 – ระบบบริหารงานคุณภาพ – พื้นฐานและคำศัพท์ เป็นองค์ประกอบสำคัญในข้อกำหนดสำหรับการจัดเตรียมบริการข้อมูลเกี่ยวกับการเดินอากาศในระดับที่ต้องการความสอดคล้องและการจัดเตรียมบริการนี้ก็ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้เรามีข้อมูลที่พร้อมสำหรับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระบบการจัดการความปลอดภัย

ไม่เพียงแต่เรื่องความปลอดภัยของการบินที่อยู่บนอากาศเท่านั้น ในภาคพื้นดินก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ในเรื่องการก่อการร้าย ICAO จึงมีความเตรียมพร้อมโดยมีไอเอสโอเป็นหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของ ICAO  โดยมีกรอบการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในระดับโลกร่วมกัน ซึ่ง ICAO ได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนตามแผนพัฒนาแผนความปลอดภัยด้านการบินระดับโลกด้วย

สำหรับไอเอสโอ มีการพัฒนาเอกสารของ ICAO ที่มีชื่อว่า Doc 9303 – Machine-Readable Travel Document ซึ่งได้รับการรับรองเป็นเอกสาร ISO/IEC 7501 – Identification cards – Machine-readable travel documents ด้วย กลไกความร่วมมือระหว่าง ICAO และไอเอสโอในเอกสารการบินด้านอื่นๆ จะมีกระบวนการพัฒนาและรับรองในลักษณะเดียวกันนี้ต่อไป

ความร่วมมือระหว่าง ICAO และไอเอสโอมีมาตั้งแต่ปี 2532 (ค.ศ.1989) ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนกัน ถึงแม้ว่าทั้งสององค์กรจะมีหน้าที่และบทบาทที่แตกต่างกันแต่ก็มีความสำคัญต่อระบบการบินโดยรวมทั้งหมด นอกจากนี้ ICAO ไม่สามารถดำเนินการด้านมาตรฐานอย่างโดดเดี่ยวได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือกับไอเอสโอโดยเฉพาะในเรื่องที่ต้องอาศัยความเชื่อถือและสมรรถนะในการดำเนินงาน

สำหรับ ICAO มีการประชุมของ ICAO ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้องค์กรที่ดำเนินงานในเรื่องที่แตกต่างกันมีความร่วมมมือในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้มั่นใจว่าจะไม่มีช่องว่างหรือปัญหาด้านมาตรฐานในการที่จะบรรลุกรอบการพัฒนา Aviation System Block Upgrades: ASBUs รวมทั้งโครงการการบินอื่นๆ

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เลขาธิการ ICAO ได้กล่าวถึงและยังได้กล่าวในท้ายที่สุดว่า ICAO ถือว่าความเป็นหุ้นส่วนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำและความร่วมมือกับไอเอสโอเช่นนี้ถือเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความก้าวหน้าด้านการบินเป็นอย่างมากนับตั้งแต่มีการก่อตั้ง ICAO เมื่อปี 2487 (ค.ศ.1944)

ICAO มีความพร้อมแล้วสำหรับบริการในอนาคต ทั้งนี้ ความมั่นคงปลอดภัยและความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งที่ต้องมีในสำหรับการเดินอากาศและการขนส่งสินค้าซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง ICAO และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั่นเอง

ที่มา:  1. http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2156
2. 
http://www.iso.org/iso/iso_technical_committee?commid=5336224



Related posts

  • เนเธอร์แลนด์เปิดใช้ถนนเรืองแสงประหยัดพลังงานเนเธอร์แลนด์เปิดใช้ถนนเรืองแสงประหยัดพลังงาน
  • นวัตกรรมกางเกงยุคใหม่ ป้องกันโจรไฮเทคนวัตกรรมกางเกงยุคใหม่ ป้องกันโจรไฮเทค
  • ISO 31000 ฉบับใหม่ ปรับปรุงให้อ่านง่าย ใช้สะดวกISO 31000 ฉบับใหม่ ปรับปรุงให้อ่านง่าย ใช้สะดวก
  • ออสเตรเลียมุ่งหน้าสู่คาร์บอนเป็นศูนย์ด้วย “มาตรฐานสากล”ออสเตรเลียมุ่งหน้าสู่คาร์บอนเป็นศูนย์ด้วย “มาตรฐานสากล”
  • “IWA 42” เครื่องมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์“IWA 42” เครื่องมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

Tags: aviation, ICAO, safety, Standardization, Technology

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑