การเปลี่ยนแปลงสภาพทางประชากรศาสตร์ได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เศรษฐกิจสูงวัย” (Silver Economy) และชนชั้นของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ เรามาดูกันว่าผลิตภัณฑ์และบริการจะสามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังและของประชากรสูงวัยได้อย่างไร และนี่คือจุดเริ่มต้นที่มาตรฐานจะช่วยได้
โรแบร์ มาร์ชอง คุณปู่นักปั่นจักรยานชาวฝรั่งเศสอายุ 105 ปี ทำสถิติปั่นให้ได้ระยะทางไกลที่สุดในหนึ่งชั่วโมงไว้ที่ 22.547 กิโลเมตรซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่เทียบเท่าสถิติโลกปัจจุบันของเซอร์ แบรดลีย์ วิกกินส์ชาวอังกฤษที่ทำสถิติไว้ 54.526 กิโลเมตร แต่วิกกินส์ก็อายุน้อยกว่าโรแบร์ถึง 69 ปี
อย่างไรก็ตาม โรแบร์ มาร์ชอง นับว่าเป็นหนึ่งในชาวฝรั่งเศสสูงวัยนับล้านคนที่อายุมากกว่า 60 ปี การเปลี่ยนแปลงสภาพทางประชากรศาสตร์ที่เกิดขึ้นและการคาดการณ์สำหรับปีที่กำลังจะมาถึงแสดงว่าประเทศฝรั่งเศสกำลังก้าวไปเป็นกลุ่มประเทศสังคมสูงวัย
จากการศึกษาของสถาบันเชิงเศรษฐกิจและสถิติแห่งประเทศฝรั่งเศส (National Institute of Statistics and Economic Studies) พบว่าปัจจุบัน ชาวฝรั่งเศสที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีจำนวน15 ล้านคน และภายในปี 2030 จะสูงขึ้น 20 ล้านคน จนกระทั่งถึงภายปี 2060 ก็จะมีจำนวนสูงขึ้นถึง 24 ล้านคน
หลายประเทศกำลังเตรียมรับมือกับแนวคิดของการเกษียณอายุ สำหรับตัวเลขเบบี้บูมเมอร์ซึ่งกำลังจะเข้าสู่วัย 65 ปีและผลของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิศาสตร์นี้เอง เราสัมผัสได้จากคุณปู่นักวิ่ง โรแบร์ มาร์ชอง นั่นเอง
ประชากรโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปเกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้และในอัตราที่เร็วกว่าที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์โลก จากรายงานขององค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับประชากรสูงวัยระหว่างปี 2015 – 2030 คาดว่าจะมีจำนวนประชากรโลกที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นถึง 56% หรือ จาก 901 ล้านคนไปเป็น 1.4 พันล้านคน และภายในปี 2050 คาดว่าประชากรโลกที่เป็นคนสูงวัยจะมีมากขึ้นเป็นสองเท่าของปี 2015 ซึ่งเข้าใกล้ 2.1 พันล้านคน
นอกจากนี้ อัตราประชากรวัยเจริญพันธุ์ในประเทศที่พัฒนาแล้วและในหลายประเทศได้ลดลงและเผชิญหน้ากับการขาดแคลนคนในวัยทำงานและมีปัญหาเรื่องผู้บริโภค
การที่มีประชากรสูงวัยเพิ่มมากขึ้นในสังคมจะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปในรูปแบบที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน
นักการศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าประชากรสูงวัยทำให้อัตราการเติบโตในโครงสร้างของเศรษฐกิจในระยะยาวลดลง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นสะท้อนปรากฏการณ์นี้เป็นอย่างดี แต่ในอีกทางหนึ่ง ก็นับเป็นโอกาสและความท้าทายของรัฐบาลในระยะยาว
นอกจากนี้ ปรากฏการณ์สังคมสูงวัยยังเป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมจำนวนมากที่จะสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่มีตลาดขนาดใหญ่รออยู่
จากรายงานของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) เรื่อง “How 21st-Century Longevity Can Create Markets and Drive Economic Growth” พบว่าธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กได้เริ่มใช้มุมมองเกี่ยวกับสังคมสูงวัยมาประกอบการวางแผนกลยุทธ์ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นทั้งโอกาสทางการค้าและกำลังคนที่จะขับเคลื่อนผลงานและสร้างคุณค่าร่วมให้กับสังคมได้อย่างยั่งยืน
บริษัทที่กำลังเตรียมก้าวเข้าสู่คลื่นใหม่ของผู้บริโภคสูงวัย มีเหตุผลที่ดีว่าปัจจุบันนี้ คนยุคเบบี้บูมเมอร์และผู้สูงอายุมีความมั่งคั่งมากขึ้นและมีสุขภาพที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน และที่สำคัญ คือ คนเหล่านี้มีกำลังซื้อที่สูงมาก
คนที่กำลังเข้าสู่วัยเกษียณจะมีประสบการณ์ทำงานสูงและได้รับการจ้างงานที่ยาวนาน ซึ่งธุรกิจจำนวนมากได้กำหนดเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบสนองความต้องการได้ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มองหากำลังคนจากผู้สูงวัยที่มีความรู้และทักษะในการทำงานที่ตรงกับความต้องการด้วย
โอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจสูงวัย จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ อย่างไร และไอเอสโอจะกำหนดมาตรฐานอะไรที่ตอบสนองสังคมสูงวัยบ้าง โปรดติดตามบทความในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/Ref2168.htm
2. http://www.duckingtiger.com/robert-marchand-broke-hour-record-at-105-years-old/
Related posts
Tags: aging, aging society, silver economy
Recent Comments