โรคเอดส์หรือเอชไอวีนับเป็นโรคร้ายแรงที่อยู่ท้าทายกาลเวลามานาน ทำให้ประชากรทั่วโลกกว่า 22 ล้านคนเสียชีวิตและมากกว่า 42 ล้านคนต้องใช้ชีวิตอย่างทนทุกข์ทรมานด้วยโรคเอดส์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการค้นพบวัคซีนเอชไอวีแล้ว แต่ยังมีคนมากกว่า 40 ล้านคนต้องเสียชีวิตลงก่อนวัยอันควรเนื่องจากโรคเอดส์
ในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในทวีปอัฟริกาและในประเทศที่มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากอย่างบอตสวาน่า สวาซิแลนด์ และซิมบับเว การระบาดของโรคเอดส์ได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วและทิ้งไว้เพียงความเจ็บป่วย ความยากจนและความตาย ในประเทศอื่นๆ โรคนี้ยังคงอยู่ในขั้นแรกของการติดเชื้อ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศจีนมีหนึ่งล้านคน ในประเทศอินเดีย มีหกล้านคน เป็นต้น ซึ่งโรคนี้ไม่เพียงแต่คร่าชีวิตผู้คนไปเท่านั้น แต่ยังทิ้งภาระอันหนักหน่วงไว้กับครอบครัว ชุมชน สังคมและระบบเศรษฐกิจอีกด้วย และยังมีแนวโน้มว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะยิ่งมีมากขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรในประเทศต่างๆ มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
แม้ว่าจะเป็นการยากที่จะทำนายอนาคตที่แน่นอนของโรคระบาดนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่จะส่งผลต่ออนาคตของโรค เช่น การให้ความรู้และการศึกษาเกี่ยวกับอันตรายของเชื้อไวรัสเอดส์และการชักชวนให้ประชากรโลกเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ การค้นหาวิธีป้องกันไวรัสเอดส์ไม่ให้แพร่กระจายออกไป การค้นพบวัคซีนและการรักษาใหม่ๆ และการส่งเสริมให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีทรัพยากรในการดำเนินงานที่จำเป็นอย่างเพียงพอเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของการลดจำนวนประชากรที่ติดเชื้อเอชไอวี
ด้วยเหตุนี้ โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) จึงได้กำหนดเป้าหมายในการยุติโรคเอดส์ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน (Sustainable Development Goals: DGs) ขององค์การสหประชาชาติ
ในการนี้ UNAIDS ได้มีเป้าหมายแบบฟาสต์แทร็คเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายขั้นต้นภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) ซึ่งเป้าหมายนั้นรวมถึงการที่คนที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 90% สามารถรู้สถานะการติดเชื้อของตนเอง และสามารถเข้าถึงการบำบัดรักษาได้ การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้มีจำนวนไม่เกิน 500,000 คน รวมถึงการลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีลง 75% จนกระทั่งเหลือ 0%
สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2559 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล คณะผู้แทนองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศประกอบด้วย องค์การอนามัยโลก (WHO) โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ด้านสาธารณสุข (Thailand MOPH – U.S. CDC Collaboration: TUC) ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีของไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
คณะผู้แทนดังกล่าวได้กล่าวแสดงความประทับความมุ่งมั่นของไทยในการพัฒนางานสาธารณสุข ตลอดระยะเวลา กว่า 20 ปี ตลอดจนงานหลักประกันสุขภาพ โดยมีความมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ (Ending AIDS) ภายในปี 2573 ได้อย่างแน่นอน
การบรรลุเป้าหมาย SDGs ขององค์การสหประชาชาติโดยมีเป้าหมายในการยุติโรคเอดส์ภายในปี 2573 นั้น ความร่วมมือทางประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินการสร้างร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงภาคประชาสังคม และคาดกันว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ในที่สุด
ที่มา:
1. http://www.un.org/en/sections/issues-depth/aids/index.htm
2. http://www.un.org/en/development/desa/population/theme/hiv-aids/index.shtml
3. http://www.unaids.org/sites/default/files/media_asset/JC2686_WAD2014report_en.pdf
4. http://www.manager.co.th/qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000061734
Related posts
Tags: Aids, Health, health care, HIV
ความเห็นล่าสุด