เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว MASCI Innoversity ได้นำเสนอบทความ เรื่อง เสียงรบกวนของจราจรแก้ไขได้ด้วยมาตรฐาน ISO ไปแล้ว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษทางเสียงไม่น้อย เนื่องจากมลพิษทางเสียงที่เกิดจากมนุษย์ได้สร้างปัญหาให้เกิดมากขึ้นถึงสองเท่าสำหรับบริเวณที่มีการคุ้มครองในประเทศสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่บริเวณที่มีการอนุรักษ์ธรรมชาติของท้องถิ่นไปจนถึงอุทยานแห่งชาติ และจากการศึกษายังพบว่าบางแห่ง เกิดมลพิษทางเสียงมากกว่า 10 เท่า
อันตรายที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางเสียงนั้น ส่งผลเสียต่อทั้งมนุษย์และสัตว์ในบริเวณใกล้เคียง จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ซึ่งได้วัดระดับของเสียงทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา นักนิเวศวิทยาที่ชื่อเนธาน ไคลสท์แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องในงานของอุทยาน ระบุว่ามลพิษทางเสียงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ แต่มันก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถระบุบริเวณที่สำคัญที่ควรจะต้องเงียบเสียงลง อย่างเช่นบริเวณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ในสปีชีส์ต่างๆ
มลพิษทางเสียงนับตั้งแต่เสียงแตรรถไปจนถึงเสียงที่เกิดจากอุปกรณ์การก่อสร้าง อาจรบกวนการนอนหลับ ทำให้เกิดความเครียด และการสูญเสียสมาธิ เมื่อปี 2515 (ค.ศ.1972) เจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐที่ปฏิบัติงานควบคุมดูแลตามกฎหมายควบคุมเสียงได้ให้สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (Environmental Protection Agency: EPA ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาที่ทำหน้าที่ปกป้องดูแลสุขภาพของมนุษย์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติ) ได้จำกัดเสียงจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์และเครื่องจักร แต่ผู้ควบคุมกฎก็ไม่ค่อยได้สนใจในเรื่องนี้เท่าใดนักโดยเฉพาะในอุทยานและบริเวณที่มีการปกป้องดูแลอื่นๆ ซึ่งครอบคลุม 14% ของพื้นที่ทั่วประเทศ และในปัจจุบัน 80% ของพื้นที่ทั่วประเทศอยู่ในระยะ 1 กิโลเมตรห่างจากบริเวณที่ยานพาหนะสามารถเข้าถึงเนื่องจากมีความเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรมและพื้นที่ที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
นักวิจัยที่ทำงานบริการของอุทยานแห่งชาติและมหาวิทยาลัยโคโลราโดสเตท ที่ฟอร์ท คอลลินส์ (CSU) ได้บันทึกเสียงของสถานที่ต่างๆ ในระดับที่มีการปกป้องดูแลต่างๆ กัน รวม 492 แห่งทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการทำนายเสียงในบริเวณอื่นๆ ที่เหลืออยู่ทั่วประเทศ โดยใช้โมเดลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการคำนวณหรือประมาณการเสียงที่เกิดขึ้นรอบๆ ตามธรรมชาติในแต่ละแห่งด้วย นักวิทยาศาสตร์จึงได้เปรียบเทียบระหว่างภาพจำลองอนาคตในบริเวณที่มีการปกป้องดูและบริเวณที่ไม่มีเสียงมนุษย์รบกวน ผลปรากฏว่าระดับของเสียงรบกวนที่เกิดจากมนุษย์นั้นสูงเป็นสองเท่าคือ 63% ของบริเวณที่มีการปกป้องดูแล
ทั้งนี้ บริเวณที่มีการปกป้องด้วยกฎระเบียบที่เข้มงวดจะถูกมนุษย์รบกวนน้อยกว่า การวิเคราะห์ยังชี้ว่ามลพิษทางเสียงในบริเวณที่มีการปกป้องดูแลนั้นมีความเชื่อมโยงกับการขนส่ง การพัฒนา และการใช้ที่ดินที่มีการขยายตัวออกไป ซึ่งบริเวณเหล่านั้น จำเป็นต้องลดเสียงลงให้ได้
ระดับเสียงขนาดนั้น อาจทำอันตรายต่อสัตว์ป่าและรบกวนนักท่องเที่ยวในบริเวณที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ แต่โดยทั่วไป ยิ่งห่างไกลออกไปเท่าไร เสียรบกวนก็จะลดน้อยลงเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม อุทยานและพื้นที่เปิดที่มีการบริหารจัดการโดยรัฐบาลท้องถิ่นมักอยู่ติดกับเมืองซึ่งมีเสียงดังมากที่สุด ที่ดินของรัฐและสหพันธรัฐซึ่งอนุญาตให้มีการตัดไม้ซุง ทำเหมืองแร่ และการแยกก๊าซและน้ำมันก็มักจะมีเสียงรบกวนเช่นกัน สำหรับอุทยานแห่งชาติและบริเวณที่เป็นป่ามักจะเงียบกว่าแต่ก็ยังคงไม่ปลอดภัย เพราะระดับมลพิษทางเสียงเริ่มสูงขึ้นถึง 12% ของบริเวณที่เป็นป่า
เรเชล บักซ์ตั้น นักชีวิวิทยาเชิงอนุรักษ์แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโดสเตท ที่ฟอร์ท คอลลินส์ กล่าวว่าพวกเขารู้สึกแปลกใจที่พบว่าระดับของมลพิษทางเสียงมีสูงขึ้นในบริเวณที่มีการปกป้องดูแลในพื้นที่เช่นนั้น
เสียงรบกวนที่มีมากเกินกว่าแค่การรบกวนนักท่องเที่ยว ยังส่งผลเสียต่อการท่องเที่ยวและประสบการณ์ของผู้มาเยือนอุทยาน ตลอดจนรบกวนชุมชนทั้งหมดด้วย พืชบางอย่างต้องการความเงียบสงบเพื่อให้การเพาะหว่านได้ผลดี รถยนต์ที่เร่งความเร็วผ่านไปมาอาจทำให้สัตว์บางจำพวกไม่ได้ทำหน้าที่ของมัน และสัตว์ส่วนใหญ่ต้องการความเงียบเพื่อที่จะได้ยินเสียงผู้บุกรุกที่ใกล้เข้ามาเพื่อสื่อสารกับเพื่อนของมัน
ในบริเวณที่มีการปกป้องดูแลมีการใช้กลยุทธ์การลดเสียง เช่น ใช้รถรับส่งระหว่างเมืองเพื่อลดความคับคั่งของการจราจรหรือการใช้ทางหลวงและเส้นทางการบินที่ไม่ส่งเสียงรบกวนชุมชนมากจนเกินไป
บักซ์ตั้นและนักวิจัยยังคงต้องการศึกษามลพิษทางเสียงเพื่อจะใช้ประโยชน์สำหรับมนุษย์และสัตว์ป่าซึ่งมีอยู่จำนวนมากโดยรอบบริเวณที่มีการปกป้องดูแลธรรมชาติซึ่งไม่อาจต้านทานต่อมลพิษทางเสียงได้แม้ว่าจะอยู่ในเขตที่มีการปกป้องดูแลธรรมชาติก็ตาม
ที่มา:
Recent Comments