• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — May 17, 2017 8:00 am
ตอบโจทย์ความท้าทายภาคเกษตรกรรมด้วยฟาร์มอัจฉริยะ
Posted by Phunphen Waicharern with 2424 reads
0
  

Welcome--to-smart--farmingภาคเกษตรกรรมถูกท้าทายเป็นอย่างมากในการที่จะต้องเลี้ยงดูผู้คนทั่วโลกเป็นจำนวนมากในอนาคต ซึ่งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทำนายว่าจะมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นราว 9.6 พันล้านคนภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) และแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ก็คือ “ฟาร์มอัจฉริยะ” นั่นเอง

ไอเอสโอได้กล่าวถึงเทคนิคการทำฟาร์มด้วยเทคโนโลยีระดับสูงและเทคโนโลยีที่สามาถปรับปรุงการผลิตและผลผลิตโดยที่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรด้วย ซึ่งผู้นำขององค์การสหประชาชาติและบุคลากรที่เป็นมืออาชีพด้านมาตรฐานจากทั่วโลก ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฟาร์มอัจฉริยะ การผลิตโกโก้ การผลิตผลิตภัณฑ์นมที่เปี่ยมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า เป็นต้น

ดร.ฟรังซัว โคลิเยร์ ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไอเอสโอในคณะกรรมการวิชาการ ISO/IEC JTC1  (คณะกรรมการวิชาการร่วม)และทำงานด้านนี้มานานนับปีแล้วได้กล่าวว่าตอนนี้ข้อจำกัดของการปฏิวัติสีเขียวได้มาถึงสังคมโลกในศตวรรษที่ 20 แล้ว โลกเราจำเป็นต้องค้นหาหนทางเพื่อทำให้ประชากรโลกมีวิถีชีวิตที่มีความยั่งยืน และแนวทางประการหนึ่งที่จะทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็คือ การผลิตอาหารโดยคำนึงถึงซัพพลายเชนและการดูแลเรื่องการกำจัดของเสียซึ่งต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

ตัวอย่างของมาตรฐานที่ไอเอสโอกำลังพัฒนาอยู่ในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 23, Tractors and machinery for agriculture and forestry และคณะอนุกรรมการ Subcommittee SC 19, Agricultural electronics และ คณะอนุกรรมการ ISO/IEC JTC1 SC 41, IoT and related technology เป็นต้น

ไอเอสโอถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมที่มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ ซึ่งบริษัทเป็นจำนวนมากได้ช่วยสร้างการเจริญเติบโตให้สูงขึ้น สามารถสร้างความได้เปรียบในการทำการเกษตรด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้รวมทั้ง IoT

นอกจากนี้ สมาชิกของไอเอสโอยังมีศักยภาพเป็นอย่างมากที่จะส่งเสริมประโยชน์ในภาคเกษตรกรรม เช่น ชาร์ลส์ ผู้บริหารของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศเคนยา (Kenya Bureau of Standards: KEBS) กล่าวว่าท่ามกลางความพยายามในการสร้างสมดุลต่อบทบาทของเทคโนโลยีและค่าใช้จ่ายของเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมนั้น มาตรฐานเป็นสิ่งที่ภาคเกษตรกรรมจำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง มาตรฐานเหล่านี้จะให้แนวทางเพื่อนำไปใช้เป็นวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เครื่องจักร และกระบวนการที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชน เช่นเดียวกับหนทางสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน

คำถามที่ว่าภาคเกษตรกรรมจะเป็นอย่างไรภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) นั้น “ฟาร์มอัจฉริยะ” จะเป็นหนึ่งในคำตอบที่ช่วยหล่อเลี้ยงประชากรโลกโดยไอเอสโอได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งการสร้างปรากฏการณ์ในการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำฟาร์มอัจฉริยะนั่นเอง

ที่มา: https://www.iso.org/news/Ref2182.htm



Related posts

  • กลยุทธ์การมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กลยุทธ์การมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
  • มาตรฐานเกี่ยวกับแสงไฟ – “แสงสว่างเพื่อชีวิต” ตอนที่ 1มาตรฐานเกี่ยวกับแสงไฟ – “แสงสว่างเพื่อชีวิต” ตอนที่ 1
  • ไอเอสโอและเอสเออี พัฒนามาตรฐานระบบยานยนต์อัจฉริยะไอเอสโอและเอสเออี พัฒนามาตรฐานระบบยานยนต์อัจฉริยะ
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานใหม่ “ข้อกำหนดและวิธีทดสอบรถเข็นเด็ก”ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานใหม่ “ข้อกำหนดและวิธีทดสอบรถเข็นเด็ก”
  • ISO 13485 สร้างความเชื่อมั่นในอุปกรณ์ทางการแพทย์ISO 13485 สร้างความเชื่อมั่นในอุปกรณ์ทางการแพทย์

Tags: ISO, Smart farming, standard, Standardization

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑