• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,512 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,358 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — May 26, 2017 8:00 am
ISO 16075 มาตรฐานเพื่อการใช้น้ำเสียบำบัด ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 3608 reads
0
  

ISO-16075-for-Treated-Wastewater-Use--for-Irrigation-projects-2ทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งของชาวนาในการทำการเกษตร คือ การทำชลประทานเพื่อการเพาะปลูกโดยใช้น้ำเสียซึ่งเป็นทางเลือกที่ประหยัดและให้คุณค่าด้านสารอาหารเป็นอย่างมาก แต่หากไม่มีการดูแลที่ถูกต้อง อาจเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก วารสารไอเอสโอโฟกัสจึงแนะนำเทคนิคและมาตรฐานที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน

ที่ประเทศรวันดา เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเห็นชาวนาเตรียมที่ดินเพื่อเพาะปลูกด้วยจอบ ไม่ต้องพูดถึงเครื่องจักรกลการเกษตรซึ่งเพิ่งจะเป็นที่รู้จักในประเทศเมื่อไม่นานมานี้  ประเทศรวันดาก็เหมือนประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่ผลผลิตส่วนใหญ่มีการบริโภคภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังมีความหวังว่าในอนาคตจะก้าวไปไกลกว่านี้  ซึ่งโครงการของรัฐบาลในการปฏิรูปภาคการเกษตรซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า วิสัยทัศน์ 2020 นั้น กำลังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แต่ก่อนที่จะประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องก้าวข้ามความท้าทายในเรื่องของน้ำไปเสียก่อน

นานนับศตวรรษมาแล้ว “น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดอาหารที่อุดุมสมบูรณ์หรือความหิวโหยได้ และการชลประทานก็เกิดขึ้นมาเป็นวิถีของมนุษย์ในการควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิผลทางการเกษตร ปัจจุบัน 70% ของทรัพยากรน้ำตามธรรมชาติบนโลกนี้ได้นำไปใช้ในเกษตรกรรม มีเพียง 20 % ของพื้นที่การเกษตรเท่านั้นที่นำไปใช้ในการชลประทาน และตัวเลขนี้ยังทำให้เราต้องระมัดระวังถึงความไม่มั่นคงปลอดภัยในด้านอาหารหรือภาคการเกษตรอีกด้วย

จากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) เมื่อประชากรมีมากถึงเก้าพันล้านล้านคนภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) เราจำเป็นต้องผลิตอาหารให้ได้ถึง 60% หรือมากกว่านั้นเพื่อให้เพียงพอต่อคนทั้งโลก และเพื่อที่จะเพาะปลูกให้ได้มากขึ้น เราจำเป็นต้องทำการชลประทานให้มากขึ้น แต่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Economic Cooperation and Development: OECD)  ระบุว่าเมื่อถึงเวลานั้น ข้อจำกัดของทรัพยากรน้ำจะมีมากขึ้นถึง 55 % ด้วย

แม้ว่าจะมีน้ำเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการของคนทั้งโลก แต่การบริโภคที่มากเกินไปและผลที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ ผืนดินที่มีคุณภาพลดลง และการขาดแคลนอาหารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีการพัฒนา ดังนั้น การทำให้เกษตรกรสามารถจัดการกับน้ำให้ดีขึ้นได้จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นมาก มิฉะนั้นแล้ว เกษตรกรผู้ยากไร้จะต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

น้ำเสียและน้ำทิ้งจำนวนมากหมุนเวียนกลับสู่ธรรมชาติโดยไม่ได้รับการบำบัดหรือใช้ซ้ำทำให้เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หนึ่งในเป้าหมายของ SDGs (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ ก็คือ มีการใช้น้ำอย่างปลอดภัยและการรีไซเคิลน้ำที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหัวข้อที่วันน้ำโลกในปีนี้ให้ความสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับภาคการเกษตร

น้ำเสียเป็นทั้งความยั่งยืนและความมีประสิทธิภาพแต่ก็ยังไม่ใช่นวัตกรรมที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง ความจริงก็คือในชุมชนที่เป็นชนบทจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา น้ำเสียและน้ำทิ้งมักจะเป็นแหล่งเดียวที่ใช้ในการชลประทาน แม้กระทั่งเมื่อมีทางเลือกอื่นเข้ามา เกษตรกรที่ทำการเกษตรขนาดเล็กยังให้คุณค่าของน้ำทิ้งว่าให้สารอาหารที่มีคุณค่าสูง ซึ่งทำให้ความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยราคาแพงลดลง วิธีปฏิบัตินี้จึงได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวิถีชีวิตของเกษตรกรในเอเชีย ลาตินอเมริกา อัฟริกา รวมทั้งในประเทศรวันดาด้วย  แต่ข้อเสียของมันก็คือถ้าไม่มีการบำบัดน้ำเสียที่ดีก่อนนำไปใช้ซ้ำ ก็จะก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนในที่ดิน น้ำใช้ และพืชผลต่างๆ ได้ และเกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพของเกษตรกร ชุมชนข้างเคียง และผู้บริโภคด้วย
ปัจจุบัน โลกของเรามีเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถแยกสิ่งปนเปื้อนออกจากน้ำเสียให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐาน ISO 16075 – Guidelines for treated wastewater use for irrigation projects
ขึ้นมาเพื่อให้มีการนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการใช้นำเสียบำบัดในโครงการชลประทานต่างๆ

มาตรฐานดังกล่าวครอบคลุมประเด็นใด และประเทศรวันดาจะได้รับประโยชน์จากมาตรฐานดังกล่าวอย่างไรบ้าง โปรดติดตามต่อในครั้งต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ

ที่มา: https://www.iso.org/news/Ref2184.htm



Related posts

  • แนะนำมาตรฐานใหม่ ลดค่าใช้จ่ายจัดซื้อพลังงานก๊าซแนะนำมาตรฐานใหม่ ลดค่าใช้จ่ายจัดซื้อพลังงานก๊าซ
  • แนะนำมาตรฐานใหม่เพื่อ IoMTแนะนำมาตรฐานใหม่เพื่อ IoMT
  • มาตรฐานสำหรับเทคโนโลยีทางทะเลที่ใช้พลังงานลมมาตรฐานสำหรับเทคโนโลยีทางทะเลที่ใช้พลังงานลม
  • มาตรฐานไอเอสโอกับแนวทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตอนที่ 2มาตรฐานไอเอสโอกับแนวทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตอนที่ 2
  • ปกป้องนักผจญเพลิงให้ปลอดภัยด้วย ISO 23616 ตอนที่ 1ปกป้องนักผจญเพลิงให้ปลอดภัยด้วย ISO 23616 ตอนที่ 1

Tags: ISO, ISO16075, Standardization, wastewater management

Click here to cancel reply.

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

Recent Comments

  • Phunphen Waicharern on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak on แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak on นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • (TH) landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑