บทความเรื่อง <a style=”color: #3170be;” href=”https://innoversity.masci.or.th/?p=22555″ target=”_blank”>ISO 16075 มาตรฐานเพื่อการใช้น้ำเสียบำบัด ตอนที่ 1</a> ได้กล่าวถึงการทำการเกษตรในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีการทำชลประทานเพื่อการเพาะปลูกโดยใช้น้ำเสียซึ่งจำเป็นต้องมีการบำบัดเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ยังระบุว่าโลกของเราจำเป็นต้องผลิตอาหารให้ได้ถึง 60% หรือมากกว่านั้นเพื่อให้เพียงพอต่อคนทั้งโลกเมื่อประชากรโลกจะมีจำนวนมากถึงเก้าพันล้านล้านคนภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) และสิ่งที่จะช่วยให้เพาะปลูกได้มากขึ้นก็คือการทำชลประทานนั่นเอง ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการใช้นำเสียบำบัดที่มีความปลอดภัย ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐาน ISO 16075 ขึ้นมา
สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงมาตรฐาน ISO 16075 – Guidelines for treated wastewater use for irrigation projects และประโยชน์จากการนำมาตรฐานนี้ไปใช้
ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐาน ISO 16075 ขึ้นมาเพื่อให้มีการนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการใช้นำเสียบำบัดในโครงการชลประทานต่างๆ เช่น การทำชลประทานกับพืชผลทางการเกษตร การทำสวนสาธารณะหรือพื้นที่บริเวณกว้าง ไม่ว่าจะเป็นสวนต่างๆ สนามกีฬา สนามกอล์ฟ หรือแม้กระทั่งหลุมฝังศพ เป็นต้น
มาตรฐานดังกล่าวมีทั้งหมด 4 เล่ม ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น การออกแบบ สาระสำคัญ การก่อสร้าง สมรรถนะ และการติดตาม เป็นต้น เพื่อช่วยให้เกษตรกรนำไปใช้กับโครงการน้ำเสียบำบัดต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย ดังนี้
- ISO 16075-1 Guidelines for treated wastewater use for irrigation projects – Part 1: The basis of a reuse project for irrigation
- ISO 16075-2, Guidelines for treated wastewater use for irrigation projects - Part 2 Development of the project (ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพัฒนา)
- ISO 16075-3, Guidelines for treated wastewater use for irrigation projects - Part 3: Components of a reuse project for irrigation
- ISO 16075-4, Guidelines for treated wastewater use for irrigation projects - Part 4: Monitoring (ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพัฒนา)
ประเทศรวันดาเป็นเพียงหนึ่งในหลายประเทศที่มีปัญหาจากน้ำที่ไม่ได้รับการบำบัด เนื่องจากยังขาดเทคโนโลยีนการกักเก็บน้ำและพื้นที่ก็เป็นภูเขาสูงด้วยซึ่งหมายความว่าน้ำท่วมและการกัดกร่อนของดินเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป ประกอบกับความเป็นเมืองที่เพิ่มขึ้นจึงกลายเป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดมลพิษต่อแม่น้ำและแหล่งทรัพยากรน้ำอื่นๆ
เรย์มอนด์ เมอเรนซี เลขาธิการสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศรวันดา (Rwandan Standards Board: RSB) ซึ่ง RSB เป็นสมาชิกของไอเอสโอ ได้กล่าวว่านับตั้งแต่ปี 2554 RSB ได้รับการติดต่อจากธุรกิจเอสเอ็มอีโดยมีการร้องขอให้จัดทำแนวทางการชลประทานสำหรับน้ำเสีย เอสเอ็มอีเหล่านั้นต้องการรู้ถึงวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อมและทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย ซึ่งเป็นประเด็นในเชิงปฏิบัติ เช่น ชนิดของพืชผลที่สามารถใช้น้ำรียูสหรือวิธีการบำรุงรักษาระบบชลประทาน เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ จะมีคำตอบอยู่ในมาตรฐาน ISO 16075 อยู่แล้ว ดังนั้น ทุกวันนี้ RSB จึงพยายามสืบค้นถึงการนำมาตรฐานนี้ไปใช้ในประเทศรวันดา
มาตรฐานสากลเป็นมาตรฐานที่ทรงพลังเป็นอย่างมากสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งทำให้สามารถสร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ทุกคนเข้าถึงได้ แต่เมื่อพูดถึงการชลประทาน จริงๆ แล้ว มีเทคนิคหลายอย่างที่สามารถนำไปใช้ได้ ทุกวันนี้ 80 % ของการชลประทานมาจากน้ำที่ท่วมสูง และเป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งของมนุษยชาติ แต่ก็เป็นวิธีที่เกิดการสูญเสียมากที่สุดด้วย แต่ข้อดีของมันก็คือการทางเลือกของการใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงมากและมีราคาถูก
ในประเทศอิสราเอล มีการทำชลประทานน้ำหยดมาแล้วถึง 50 ปีเนื่องจากเกษตรกรต้องดิ้นรนต่อสู้กับการปลูกพืชผลในทะเลทราย ซึ่งมันเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างผลผลิตให้ได้มากกว่าด้วยการลงทุนที่น้อยกว่า โดยได้มีการพิสูจน์ว่าประสบความสำเร็จทั้งกับการใช้ในการปลูกพืชแบบเปิด ในไร่องุ่น สวนผลไม้ และในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกพืชอื่นๆ
บารัค ชาวอิสราเอลกล่าวว่ามีความเข้าใจผิดที่ว่าชลประทานน้ำหยดมีราคาแพง ความจริงแล้ว สามารถทำได้ด้วยเทคโนโลยีง่ายๆ ซึ่งสามารถทำได้กับพืชทุกชนิด
ตอนนี้ เราลองจับคู่การทำชลประทานหยดน้ำเข้ากับน้ำเสียบำบัดดู จะพบว่ามันเป็นคู่หูที่ทรงพลังมาก จากข้อมูลของ OECD ในประเทศอิสราเอล มีการใช้น้ำบำบัดประมาณ 50% ของการทำชลประทาน เทคนิคนี้จึงมีความหมายมาก
เกษตรกรในชนบทในประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการทำชลประทานน้ำหยดเป็นอย่างมาก แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจและเทคโนโลยีในการนำไปใช้ จุดนี้จึงเป็นสิ่งที่จะต้องใช้มาตรฐานเข้ามาสนับสนุนซึ่งจะทำให้มีการเข้าถึงการใช้งานได้มากขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่าย และแข่งขันได้มากขึ้น
เมื่อเร็วๆ นี้ ไอเอสโอได้ตีพิมพ์เผยแพร่ International Workshop Agreement (IWA) ในเรื่องการทำชลประทานน้ำหยด ซึ่งจะช่วยให้คนทั่วไปมีความเข้าใจถึงศักยภาพของมันมากขึ้น ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ยังได้รับความสนใจในประเทศรวันดา นับตั้งแต่มีการเปิดตัววิสัยทัศน์ 2020 ประเทศรวันดาก็มีการนำมาตรฐานด้านนีน้ไปใช้เป็นนโยบาย กฏหมาย และโครงการเชิงกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อสร้างเป็น “ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศรวันดา” เมื่อปี 2556 ประเทศรวันดาได้กำหนดมาตรฐานบังคับจำนวน 281 ฉบับซึ่งในจำนวนนี้ มีถึง 127 ฉบับที่เป็นมาตรฐานสำหรับอาหารและเกษตรกรรม
ในโลกเกษตรกรรมยุคใหม่ เราจำเป็นต้องมีมาตรฐานที่ส่งเสริมการผลิตพืชผลอย่างยั่งยืน และมาตรฐาน ISO 16075 ก็เป็นคำตอบที่จะช่วยเกษตรกรได้ ซึ่งในอนาคต อาจจะมีการผสมผสานกับเรื่องของเกษตรกรรมแบบแม่นยำสูง (Precision Agriculture) ที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต่อไป
ที่มา: https://www.iso.org/news/Ref2184.htm
Related posts
Tags: ISO, ISO16075, wastewater, wastewater management
ความเห็นล่าสุด