• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,990 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    15,135 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,513 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,359 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    10,208 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction IEC Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure UN water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — พฤษภาคม 31, 2017 8:00 am
ไอเอสโอก้าวทันมาตรฐานเพื่อเกษตรกรรมแบบแม่นยำสูง ตอนที่ 1
Posted by Phunphen Waicharern with 2636 reads
0
  

IT'S-TIME-FOR---PRECISION-AGRICULTURE-1เกษตรกรรมแบบแม่นยำสูง (Precision Agriculture) กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปีนี้ มีหลายบริษัทออกมาประกาศว่ามีแผนที่จะใช้โดรนส่งของอย่างจริงจังเสียที ในเมื่อเทคโนโลยีเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วจำนวนผู้ใช้งานอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) ก็มีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้“มาตรฐานสากล” มีความจำเป็นอย่างเห็นได้ชัดมากขึ้น

สิ่งมีชีวิตมากกว่าเจ็ดพันล้านล้านชีวิตต้องพึ่งพิงความสามารถของโลกและต้องปลูกพืช  ซึ่งพืชจะทำงานได้ก็ต้องอาศัยน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์  การเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำและน้ำตาลจะทำได้ก็ต้องอาศัยพลังงาน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ลองถามเกษตรกรดูเถิดว่าคนที่มีชีวิตด้วยสิ่งมหัศจรรย์และการสังเคราะห์แสงที่ไม่มีค่าใช้จ่ายนั้น ความจริงแล้ว เขายังต้องลงทุนลงแรงทั้งแรงงานและค่าใช้จ่ายอย่างปุ๋ยและสารต่างๆ ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง บ่อยครั้ง แม้แต่น้ำก็ยังมีค่าใช้จ่าย ทั้งในแง่ของการจ่ายเงินออกไปและผลต่อสิ่งแวดล้อม ในการที่เกษตรกรจะยังสามารถทำธุรกิจอยู่ได้ ก็จะต้องใช้ทรัพยากรที่ดีขึ้น ซึ่งในจุดนี้เอง เกษตรกรรมแบบแม่นยำสูงจึงเข้ามามีบทบาทและทวีความสำคัญยิ่งขึ้น

คอร์ทนีย์ โรบินสัน ผู้อำนวยการสมาคมอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace Industries Association: AIA) กำลังร่วมมือกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างมาตรฐานสากลสำหรับโดรน (ISO 21384) ขอบข่ายของงานนั้นมีความน่าสนใจและประกอบด้วย 3 ส่วน ซึ่งครอบคลุมข้อกำหนดทั่วไป ระบบผลิตภัณฑ์ และขั้นตอนการปฏิบัติงานตามลำดับ

ข้อกำหนดทั่วไปในส่วนที่ 1 เป็นข้อกำหนดทั่วไปสำหรับ UAS ของการปฏิบัติงานเชิงพาณิชย์และของพลเรือนเท่านั้น แต่ยังไม่ครอบคลุมการใช้งานของรัฐบาลหรือในส่วนของทหาร อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็สามารถนำมาตรฐานนี้ไปประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน

ข้อกำหนดทั่วไปในส่วนที่ 2 เป็นข้อกำหนดสำหรับการออกแบบ การผลิต และมาตรฐานความปลอดภัยของการบิน ซึ่งส่วนที่ 2 นี้ครอบคลุมมากกว่าแค่ตัวของโดรนเอง

ส่วนกำหนดทั่วไปในส่วนที่ 3 เป็นข้อกำหนดของกระบวนการปฏิบัติงาน

ในเรื่องกรอบเวลาก็มีความสำคัญ ไอเอสโอจึงเร่งดำเนินการและคาดว่าจะตีพิมพ์ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 21384 ได้ภายในปีหน้า

โรบินสันอธิบายว่า สำหรับแวดวงอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ  มาตรฐานสากลดังกล่าวอาจไม่ได้เข้ามาได้เร็วเท่าใดนัก ค่าใช้จ่ายของโดรนก็เพิ่งลดราคาลงอย่างกะทันหันซึ่งเกิดจากความนิยมทั้งในส่วนที่เป็นงานอดิเรกและในส่วนที่นำไปใช้งานในเชิงพาณิชย์  เห็นได้ชัดจากจำนวนการลงทะเบียนการใช้โดรนโดยสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (US Federal Aviation Administration: FAA) ซึ่งยังคงดูแลยานพาหนะการบินทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ที่เลือกมาลงทะเบียนโดรนของตนเองก็เพราะเห็นประโยชน์จากโครงการรู้ก่อนบิน (Know Before You Fly scheme) และจำนวนโดรนที่จดทะเบียนก็เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย กล่าวคือ เพิ่มจาก 260,000 ลำในปีที่แล้ว มาเป็น 750,000 ลำ จนถึงทุกวันนี้

สำหรับสาธารณชนโดยทั่วไปก็มีความใส่ใจเกี่ยวกับโดรนที่กำลังเติบโตขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเป็นส่วนตัว ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยผู้ใช้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ หรือการปรับแต่งโดรนอย่างไม่เหมาะสม (ตัวอย่างที่พอมองเห็นได้มีจำนวนมากขึ้นใน YouTube) ซึ่งการตอบสนองในปัจจุบันในสหรัฐอเมริกาก็คือการผสมผสานกฎของ FAA กับแนวทางของอุตสาหกรรม และสามัญสำนึก

สมาคมอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในฐานะที่เป็นกระบอกเสียงของการป้องกันประเทศและการบินและอวกาศของสหรัฐอเมริกา กำลังนำไปสู่ความพยายามที่จะรวมเอา UAS เข้าไปในส่วนของระบบการบินอวกาศแห่งชาติ (American National Airspace System) ด้วย

ทีนี้เมื่อมาถึงเรื่องเกษตรกรรมหรือการทำฟาร์ม โดรนสามารถบินได้ในระดับต่ำ (ส่วนใหญ่น้อยกว่า 120 เมตรซึ่งมักเป็นเพดานบินของโดรน)   ซึ่งการปฏิบัติงานและการควบคุมผ่านซอฟต์แวร์จะเป็นตัวระบุลักษณะของโดรน ในการที่จะทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง UAS และโมเดลในแบบการบินที่เป็นงานอดิเรก เราจำเป็นต้องนึกไปถึงตัวเครื่องบิน

ในส่วนของระบบการบิน ไม่ว่าจะเป็นปีกเครื่องของโดรนที่คล้ายกับเครื่องบินขนาดเล็ก หรือเป็นการควบคุมออกแรงโดยปีกที่หมุนของเครื่องบินซึ่งมักเป็นสี่ปีก (เรียกว่า quad-copter)  หรือส่วนองค์ประกอบอื่นๆ รวมทั้งส่วนที่ควบคุมพื้นดินซึ่งเป็นสถานีควบคุมการบินทางไกลที่อาจเป็นอาคารเดียวกันทั้งหลังที่ทำหน้าที่นี้ หรือแล็ปท็อปหรือแม้แต่สมาร์ทโฟน  ทั้งหมดนี้จะช่วยมีการวางแผนเกี่ยวกับการบิน โดยมาจากข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้

โดรนและสถานีควบคุมทางไกลจะทำงานร่วมกันซึ่งต้องอาศัยการเชื่อมโยงระหว่างหว่างการควบคุมและการสั่งการซึ่งอยู่ในส่วนของระบบที่ดูแลด้านการสื่อสารระหว่างภาคพื้นดินกับทางอากาศ  แง่มุมต่างๆ ที่มีมากกว่าเรื่องของเครื่องบินเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานในคณะอนุกรรมการวิชาการ ISO/TC 20/SC 16 – Unmanned Aircraft Systems

สำหรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวจะมีอะไรบ้าง โปรดติดต่อในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ

ที่มา:

1. https://www.iso.org/news/Ref2185.htm

2. https://www.iso.org/committee/5336224/x/catalogue/p/0/u/1/w/0/d/0



Related posts

  • รถยนต์ไร้คนขับ…กว่าจะถึงปี 2563รถยนต์ไร้คนขับ…กว่าจะถึงปี 2563
  • ไอเอสโอร่วมรณรงค์พลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนไอเอสโอร่วมรณรงค์พลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
  • ไอเอสโอช่วยรัฐบาลท้องถิ่นมีแนวทางการใช้งาน ISO 9001ไอเอสโอช่วยรัฐบาลท้องถิ่นมีแนวทางการใช้งาน ISO 9001
  • มาตรฐานการจัดการความมั่นคงทางชีวภาพมาตรฐานการจัดการความมั่นคงทางชีวภาพ
  • องค์กรชั้นนำห่วงใยโลก ผลักดันมาตรฐานลดขยะในอวกาศองค์กรชั้นนำห่วงใยโลก ผลักดันมาตรฐานลดขยะในอวกาศ

Tags: Aerospace and Defense, drone, Precision Agriculture, Standardization, Technology

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑