บล็อกเชนในโลกนี้เกิดขึ้นครั้งแรกจากแนวคิดของซาโตชิ นาคาโมโต้ เมื่อปี 2551 (ค.ศ.2008) บล็อกเชนเป็นระบบที่ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งที่มีมูลค่ากันได้ผ่านระบบดิจิตอลโดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต ซึ่งได้มีการพัฒนาเพื่อทันกับเทคโนโลยีและพฤติกรรมของคนในยุคสมัยนี้ที่นิยมทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น
เทคโนโลยีบล็อคเชนทำให้เกิดการปฏิวัติในการทำธุรกรรมทางการเงิน และทำให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำธุรกรรมทางการเงินทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอก็มีความตั้งใจที่จะก้าวไปอีกขั้นหนึ่งด้วยการระบุถึงขอบข่ายงานที่ต้องทำสำหรับมาตรฐานด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนรวมทั้งมาตรฐานแห่งอนาคตอื่นๆ ด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ได้มีการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO TC 307 Blockchain and electronic distributed ledger technologies ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญระดับระหว่างประเทศจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 30 ประเทศ มารวมตัวกันเพื่อศึกษาด้านการมาตรฐานในเรื่องดังกล่าวและเป็นการรวมเอาทีมงานมาร่วมกันศึกษาและพัฒนามาตรฐานใน 5 เรื่องหลักๆ ได้แก่ โครงสร้างที่ใช้ในการอ้างอิง (reference architecture), กลุ่มคำและสารานุกรม (taxonomy and ontology) กรณีการใช้ (use cases) ความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัย (security and privacy) การระบุสัญญาอัจฉริยะและสัญญาอัจฉริยะ (identity and smart contracts)
บล็อกเชนเป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลที่ทำให้สื่อสารและแบ่งปันกันได้ซึ่งสามารถบันทึกการทำธุรกรรมที่ต่างอุตสาหกรรมกันได้ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของความโปร่งใสและการลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม บล็อกเชนเป็นแพลตฟอร์มดิจิตอลที่บันทึกและทวนสอบธุรกิจได้อย่างโปร่งใสและมีความมั่นคงปลอดภัย สามารถตัดตัวกลางในการทำธุรกรรมทางการเงินออกไปได้ซึ่งทำให้แทบจะไม่มีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมและเพิ่มความเชื่อถือได้ตามธรรมชาติของลักษณะแพล็ทฟอร์มซึ่งสามารถแบ่งปันร่วมกันและตรวจสอบได้อย่างชัดเจน
เคร็ก ดันน์ ประธานของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 307 Blockchain and distributed ledger technologies ซึ่งเป็นเลขานุการของสถาบันรับรองมาตรฐานของประเทศออสเตรเลียและเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ กล่าวว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถมีนัยสำคัญเป็นอย่างมากต่อธุรกิจและรัฐบาล
เขากล่าวว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นวิธีการในการบรรลุความเชื่อถือและความมั่นคงปลอดภัยเมื่อมีการแลกเปลี่ยนโดยไม่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังจากบุคคลที่สาม (Third party) และทำให้สามารถเกิดการต่อต้านคอร์รัปชั่นและการป้องกันการหลอกลวงด้วย
นอกจากนี้ มาตรฐานในเรื่องนี้ยังสามารถทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งด้วยการจัดเตรียมแนวทางที่เห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันในระดับสากลในด้านการทำงาน การกระตุ้นให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้น การยอมรับที่รวดเร็วมากขึ้น และนวัตกรรมที่มีการสนับสนุนให้นำไปใช้งาน
การจัดลำดับความสำคัญด้านการมาตรฐานจะมีการพิจารณาโดยกลุ่มที่ทำการศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะซึ่งจะมีการนำเสนอรายงานในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนพฤศจิกายน 2560 และมาตรฐานในอนาคตนี้จะได้รับการพัฒนาร่วมกันต่อไป กลุ่มการศึกษานี้จะนำรายการโรดแมปมาพิจารณาเพื่อพัฒนาโดยสถาบันมาตรฐานของประเทศออสเตรเลียและสถาบันมาตรฐานของประเทศอังกฤษรวมทั้งข้อเสนอจากประเทศสมาชิกไอเอสโอในการประชุมครั้งแรกนี้ด้วย
ปัจจุบัน ไอเอสโอยังคงติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกสมัยใหม่อย่างใกล้ชิด และทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานใหม่ๆ อยู่เสมอ ทำให้คนทั่วโลกได้นำมาตรฐานเหล่านั้นไปใช้งานให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อไป
ที่มา: 1. https://www.iso.org/news/Ref2188.htm
2. https://en.wikipedia.org/wiki/Blockchain
Related posts
Tags: blockchain, Financial Services, ISO, Standardization, Technology
ความเห็นล่าสุด