• Home
  • Contact Us
  • masci.or.th
Guest Edition 
TH
EN
Log in
Close
Lost your password?
MASCI Innoversity
  • Standardization
  • Future Management
    • Future Watch
    • Scenario Planning
    • Trend
      • Economic
      • Environment
      • Politic
      • Social
      • Technology
  • Strategic Management
    • Management Strategy
    • Risk Management
  • Sustainability Management
    • Economy
      • Quality Management
      • Business Continuity Management
      • Productivity Management
      • Innovation Management
    • Environment
      • Environmental Management
      • Carbon Management
      • Water Management
      • Energy Management
    • Social
      • Social Responsibility
      • Occupational Health and Safety Management
      • Labour Management
      • Community Management
  • Sufficiency Economy


TAKE A TOUR



Popular Views

  • ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1ทำไมต้องรู้เรื่อง ISO 45001 ตอนที่ 1
    15,175 view(s)
  • ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017ประกาศแล้ว ISO/IEC 17025: 2017
    14,989 view(s)
  • ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485ปรับปรุงล่าสุด – มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485
    10,305 view(s)
  • ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001ใหม่ล่าสุด ISO 14004: 2016 เสริมการใช้งาน ISO 14001
    10,197 view(s)
  • ISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืนISO 9004 หัวใจความสำเร็จของธุรกิจที่ยั่งยืน
    9,779 view(s)

Most Comments

  • วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์วาดฝันอนาคตของการตั้งครรภ์16 comment(s)
  • สมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรมสมาร์ทโฟนใช้แทนกุญแจโรงแรม15 comment(s)
  • WhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคนWhatsApp มีผู้ใช้ต่อเนื่องครบ 430 ล้านคน14 comment(s)
  • นิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใดนิทานเซนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 1 ความสุขอยู่หนใด14 comment(s)
  • 20 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 220 นวัตกรรมด้านการแพทย์และยาที่กำลังจะมาในปี 2557 ตอนที่ 214 comment(s)

Tag

Aerospace & Defense Agriculture Alternative Energy Automobiles & Parts Climate Change Construction & Materials COVID-19 Economy Electronic & Electrical Equipment Energy Environment Environmental Management Financial Services Food & Beverages Future Management Future watch Health Health Care Equipment & Services Household Goods & Home Construction Infrastructure Innovation ISO IT Management Strategy Media Pharmaceuticals & Biotechnology Politic Quality resilience safety SDGs Security Social standard Standardization Standards Strategic Management Sustainability Sustainability Management Technology Telecommunications Travel & Leisure water water management Water Supply

Email Newsletter

Receive daily updates:

Standardization | — มิถุนายน 19, 2017 8:00 am
ISO 22000 ปรับปรุงใหม่ ใช้งานได้ง่ายขึ้น
Posted by Phunphen Waicharern with 3110 reads
0
  

ISO-22000--HAS-REACHED-DIS-STAGEเพื่อให้มาตรฐานมีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานทั่วโลก ไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน จึงทำการทบทวนมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ มาตรฐาน ISO 22000 ก็เช่นกัน ปัจจุบัน ไอเอสโอได้ทบทวนมาถึงขั้นร่างมาตรฐานแล้ว

มาตรฐานที่ทำการทบทวนใหม่จะรวมเอาโครงสร้างหลักอันใหม่เข้าไปพร้อมกับองค์ประกอบหลักเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของอาหารในทุกๆ ขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร

การทบทวนมาตรฐาน ISO 22000 มุ่งไปสู่การรวบรวมประเด็นใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับภาคส่วนอาหารในปัจจุบัน ซึ่งมีกระบวนการที่รัดกุมและกลุ่มงานที่ทำการทบทวนมาตรฐานก็ได้ค้นพบแนวคิดที่ขยายวงกว้างออกไปอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อปีที่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญได้มาประชุมร่วมกัน 3 ครั้งและได้รับข้อคิดเห็นจำนวน 1,800 ข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วโลกซึ่งเป็นผู้แทนขององค์กรที่ทำหน้าที่ต่างๆ กัน

ปัจจุบัน หน้าที่หลักของผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นก็คือการแปลแนวคิดที่ได้มีการปรับปรุงแล้วในมาตรฐานและทำการสื่อสารให้กับผู้ใช้งานอย่างชัดเจนและตรงประเด็นซึ่งทำให้สามารถเข้าใจมาตรฐาน ISO 22000 ได้ง่ายขึ้นและทำให้ทุกองค์กรมีการนำไปใช้ได้ในทุกแง่มุมของห่วงโซ่อาหาร

มาตรฐาน ISO 22000 ที่มีการทบทวนใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยซึ่งทำให้สามารถอ่านได้ง่ายขึ้นและชัดเจนขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญที่มีโครงสร้างเป็นธรรมชาติมากขึ้น  สิ่งที่สำคัญได้แก่
- มาตรฐานฉบับใหม่จะรับเอาโครงสร้างระดับสูงหรือ High-Level Structure (HLS) ไปใช้ซึ่งเป็นกรอบการทำงานของมาตรฐานระบบการจัดการทั้งหมดของไอเอสโอ โครงสร้างที่เหมือนกันนี้จะทำให้ง่ายขึ้นสำหรับธุรกิจที่จะนำมาตรฐานระบบการจัดการของไอเอสโออื่นๆ ไปใช้ซึ่งสามารถรวมเข้าไปในกระบวนการขอได้ในครั้งเดียว

- มาตรฐานที่มีการทบทวนนี้จะทำให้เข้าใจในแนวคิดของ “ความเสี่ยง” ซึ่งความเสี่ยงนั้นเป็นแนวคิดสำคัญกับธุรกิจอาหารและมาตรฐานจะแตกต่างกันระหว่างความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการ (Hazard Analysis Critical Control Point approach, หรือ HACCP) และความเสี่ยงในระดับกลยุทธ์ของระบบการจัดการ (ความเสี่ยงทางธุรกิจ) ซึ่งหมายถึงความสามารถในการใช้โอกาสเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่เจาะจงในธุรกิจ

- มาตรฐานนี้จะให้ความกระจ่างชัดของความแตกต่างระหว่างวงจร PDCA สองวงจร วงจรแรกมีการนำไปปรับใช้กับระบบการจัดการโดยรวมในขณะที่วงจรที่สองจะเน้นที่การปฏิบัติงานตามที่อธิบายในข้อ 8 ซึ่งครอบคลุมหลักการของ HACCP ตามที่โครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ Codex Alimentarius กำหนดไว้ (ข้อ 8 คือ การทวนสอบเพื่อยืนยันการใช้งานได้ (Validation) การทวนสอบ (verification) และการปรับปรุงระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (improvement of the food safety management system))

ไอเอสโอคาดว่ามาตรฐาน ISO 22000 ที่อยู่ระหว่างการทบทวนและปรับปรุงนี้จะตีพิมพ์เผยแพร่ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2561

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2192.html



Related posts

  • ฝันหวานๆ ไปกับคุณภาพและช็อกโกแลตฝันหวานๆ ไปกับคุณภาพและช็อกโกแลต
  • ISO 16075 มาตรฐานเพื่อการใช้น้ำเสียบำบัด ตอนที่ 1ISO 16075 มาตรฐานเพื่อการใช้น้ำเสียบำบัด ตอนที่ 1
  • เมืองอัจฉริยะ ใช้น้ำอย่างอัจฉริยะ ตอนที่ 2เมืองอัจฉริยะ ใช้น้ำอย่างอัจฉริยะ ตอนที่ 2
  • ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานใหม่ “แนวทางรายงานทุนมนุษย์”ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานใหม่ “แนวทางรายงานทุนมนุษย์”
  • มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนสำหรับงานก่อสร้าง ตอนที่ 1มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนสำหรับงานก่อสร้าง ตอนที่ 1

Tags: Food and Beverage, ISO22000, safety, Standardization

กดที่นี่เพื่อยกเลิกการตอบ

Log in to join the conversation

You must be logged in to post a comment.

SUBSCRIBE

  • RSS FEED RSS FEEDSubscribe
  •  TwitterFollow us
  •  FacebookFan Page
  •  LinkedIn
  •  Youtube

ความเห็นล่าสุด

  • Phunphen Waicharern บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Phunphen Waicharern บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • Naris Lapsunthornphitak บน แนะนำตึกสูงระฟ้าแห่งแรกของโลก ใช้พลังงานเป็นศูนย์
  • Naris Lapsunthornphitak บน นวัตกรรมสีแห้งของไนกี้

Interesting Pages

  • landing page
  • Magazine
  • Take a Tour
  • Today Seminar
  • Contact Us

Categories

© Copyright 2023 — MASCI Innoversity. All Rights Reserved top ↑