MASCI Innoversity ได้เคยนำเสนอบทความเรื่อง “เมืองอัจฉริยะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ซึ่งทำให้ทราบว่าเมืองใหญ่ทั่วโลกต่างก็ประสบปัญหาด้านข้อจำกัดของทรัพยากรและปัญหาการจัดการเกี่ยวกับเมือง และ “เมืองอัจฉริยะ” จึงเป็นความหวังที่จะทำให้คนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว องค์การสหประชาชาติได้ประกาศไว้ว่าในปี 2550 (ค.ศ. 2007) จะเป็นปีที่ประชากรมากกว่า 50% อาศัยอยู่ในเมือง และทุกวันนี้ สัดส่วนประชากรที่อยู่ในเมืองก็มีมากมายเกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้จริงๆ
ดังนั้น การอาศัยอยู่ในเมืองที่เต็มไปด้วยประชากรจำนวนมากจะต้องมีมาตรฐานที่ช่วยให้ประชากรในชุมชนมีความปลอดภัยในการอยู่อาศัยร่วมกันและมีความยั่งยืน
มาตรฐาน ISO/IEC 30182 – Smart city concept model — Guidance for establishing a model for data interoperability เป็นมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานและคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ ซึ่งได้ให้ร่วมกันพัฒนาแนวทางของโมเดลแนวคิดเมืองอัจฉริยะ (smart city concept model: SCCM) เอาไว้โดยคณะกรรมการวิชาการร่วมของทั้งสององค์กร คือ คณะกรรมการ ISO/IEC JTC1
ทั้งนี้ โดยมีองค์ประกอบของการอยู่อาศัยในเมือง เช่น สถานที่ ชุมชน บริการ และทรัพยากร เป็นต้น โดยระบุความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่น ทรัพยากรขององค์กร หรืองานอีเว้นท์ต่างๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถระบุอย่างชัดเจนได้ว่าเมืองทั่วไปจะเป็นอย่างไร เพราะไม่มีการวางแผนรูปแบบตายตัวสำหรับเมืองอัจฉริยะที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกหนทุกแห่งทั่วโลก แต่ ISO/IEC 30182 ก็ได้ให้โมเดลแนวคิดของเมืองอัจฉริยะเอาไว้ ซึ่งทำให้การแบ่งปันข้อมูล แนวคิด และการแก้ไขปัญหาร่วมกันของเมือง มีความสะดวกมากขึ้นด้วย เช่น การลดปัญหามลพิษ การแบ่งปันข้อมูลที่รวดเร็วและปลอดภัยขึ้น การเชื่อมโยงเมืองเข้าด้วยกันเป็นชุมชนทั้งทางกายภาพและแบบเรียลไทม์
หนึ่งในเป้าหมายของมาตรฐานสากลนี้ก็คือการมองก้าวไปถึงการใช้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการให้บริการและการกระตุ้นให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจช่วยค้นหาการใช้ซ้ำข้อมูลซึ่งถือเป็นแหล่งที่จะสร้างทิศทางของนวัตกรรมระบบและบริการของเมืองในอนาคต
มาตรฐาน ISO/IEC 30182 ทำให้มีข้อมูลจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นข้อมูลเชิงลึกต่างๆ เข่น ปฏิบัติการในเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์ และวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งสามารถแบ่งปันกันได้ทั้งแบบภายใต้การอนุญาตที่เปิดเผยและแบบปิดซึ่งเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
เมื่อมีการนำโมเดลแนวคิดดังกล่าวไปใช้เหมือนกันแล้ว ก็จะทำให้สามารถติดตามข้อมูสถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจากการปฏิบัติงานและสามารถสังเกต เฝ้าติดตามผลกระทบเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้
ISO/IEC 30182 ถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องดังกล่าวให้กับเมืองไปได้อีกกว่า 10 ปี และเป็นหนึ่งในสิ่งที่เป็นวิถีอัจฉริยะมากที่สุดในการเชื่อมต่อระหว่างกันและทำให้มีการนำทรัพยากรไปใช้งานได้ดีที่สุด
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2197.html
Related posts
Tags: ISO, ISO30182, smart city, Sustainability
ความเห็นล่าสุด