ข่าวคราวเกี่ยวกับความสูญเสียจากเพลิงไหม้ปรากฏให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานตระหนักถึงความสำคัญในเชิงป้องกัน จึงได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ผ่านกล้องวิดีโอ
การตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ก่อนที่ไฟจะลุกลามไปใหญ่โตนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งและจำเป็นต้องทำให้ได้เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียของชีวิต ทรัพย์สินและสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่น ตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ผ่านวิดีโอ (Video Fire Detectors: VFD) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ในอุโมงค์หรือสภาพแวดล้อมที่มีแก๊ซหรือน้ำมัน อาคารสาธารณะที่มีการใช้งานร่วมกันหรือบริเวณจัดเก็บสิ่งของ เป็นต้น นับเป็นสถานที่ที่สามารถจุดชนวนให้ไฟลุกติดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อกำหนดทางวิชาการของไอเอสโอโอในเรื่องการตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ผ่านวิดีโอจะช่วยทำให้มั่นจได้ว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานนั้นมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้
จากข้อมูลของศูนย์สถิติด้านการเกิดเพลิงไหม้ (Center of Fire Statistics (CFS) ของสมาคม the International Association of Fire and Rescue Services (CTIF) พบว่า 31 ประเทศซึ่งเป็นตัวแทนประชากรจำนวน 14% ของประชากรในโลกนั้น พบว่าเมื่อปี 2558 (ค.ศ.2015) มีการเกิดเพลิงไหม้ 3.5 ล้านครั้ง และมีประชากรเสียชีวิตจากการเกิดเพลิงไหม้จำนวน 1.85 ล้านคนและบาดเจ็บจำนวน 4.5 ล้านคน
เทคโนโลยีวิดีโอที่ใช้ในการตรวจจับเพลิงไหม้นั้นระบุและวิเคราะห์การเกิดควันได้ทันทีเมื่อมีสัญญาณของเปลวไฟเกิดขึ้น ซึ่งผู้ใช้งานอุปกรณ์นั้นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์และการปฏิบัติที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับการเตือนภัย หรือปฏิบัติการอื่นๆ ตามความเหมาะสม
มาตรฐาน ISO/TS 7240-29: 2017 – Fire detection and alarm systems – Part 29: Video fire detectors ระบุข้อกำหนด วิธีการทดสอบ และเกณฑ์สมรรถนะสำหรับการตรวจจับสัญญาณการเกิดเพลิงไหม้ที่ทำงานอยู่ในจุดที่มองเห็นได้ชัดซึ่งใช้ในการตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้และระบบเตือนภัยที่อยู่รอบๆ อาคาร
ไอแสค ปาปิเยร์ ผู้ประสานงานของคณะอนุกรรมการวิชาการ ISO/TC 21/SC 3 ระบุว่าการตรวจจับสัญญาณเพลิงไหม้ทางอุตสาหกรรมนั้นมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ ป้องกันการสูญเสียสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นอีกประการก็คือ เป็นการเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติการตอบสนองอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
สิ่งอำนวยความสะดวกการผลิตแบบอัตโนมัติที่ทันสมัยในทุกวันนี้ มีการลงทุนจำนวนมหาศาลซึ่งคำนวณแล้วมักจะเกินกว่าล้านดอลลาร์ต่อชั่วโมง เพราะหากเกิดการหยุดชะงักของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ขึ้นมาแล้วก็จะทำให้เกิดสูญเสียอย่างรุนแรงโดยเฉพาะในเรื่องรายได้ ดังนั้น การหยุดชะงักจึงเกี่ยวข้องกับความซับซ้อนและขั้นตอนการดำเนินงานในการใช้เวลาในการทำให้ระบบกลับมาทำงานได้ ซึ่งการตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ผ่านวิดีโอนั้นเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการติดตามตรวจสอบในพื้นที่ที่มีบริเวณขนาดใหญ่
ก่อนหน้านี้ ยังไม่เคยมีข้อกำหนดสากลสำหรับการตรวจติดตามการเกิดเพลิงไหม้ผ่านวิดีโอ จนกระทั่งไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐาน ISO/TS 7240-29 ขึ้นมาและนับเป็นแพล็ทฟอร์มแรกที่มีการยอมรับข้อกำหนดดังกล่าวในระดับสากล
ชินกล่าวว่าชุมชนขนาดใหญ่ควรจะได้รับประโยชน์จากข้อกำหนดทางวิชาการนี้ซึ่งทำให้มีโอกาสปกป้องชีวิตและความปลอดภัยและทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง สำหรับกล้องวงจรปิด (CCTV: closed-circuit television sector) นับเป็นส่วนที่มีการเจริญเติบโตเร็วที่สุดของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยซึ่งมีการนำไปรวมไว้กับความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ในขณะที่ปาปิเยร์กล่าวเสริมว่าการพิจารณาว่าสิ่งอำนวยความสะดวกจำนวนมากที่ VFD (Variable Frequency Drive) จำเป็นต้องติดตั้งนั้น ข้อกำหนดที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เขาเชื่อว่ามาตรฐานดังกล่าวจะช่วยขยายตลาด VFDs ด้วย ซึ่งผู้ที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากมาตรฐานนี้ก็คือเจ้าของอาคาร สิ่งอำนวยความสะดวก โรงงานผู้ผลิตและบริษัทประกัน
ระบบสัญญาณและการตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามหน้าที่อย่างเหมาะสมและไม่เพียงแต่จะเกี่ยวขอ้งกับการเกิดเพลิงไหม้เท่านั้น แต่ยังช่วยในระหว่างที่เกิดเหตุหรือหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติเป็นไปได้อย่างทันการณ์ รวมถึงการกัดเซาะ การสั่นสะเทือน ผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อม และสัญญาณรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic interference) ด้วย โดยการทดสอบต้องมีการประเมินสมรรถนะของการตรวจจับสัญญาญการเกิดเพลิงไหม้ผ่านวิดีโอภายใต้สภาพการณ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
ทั้งนี้ ไอเอสโอตระหนักดีว่ายังมีคำถามเกี่ยวกับมาตรฐานดังกล่าวซึ่งจะต้องอาศัยประสบการณ์เชิงปฏิบัติจากภาคอุตสาหกรรมที่ใช้มาตรฐานในโลกแห่งความเป็นจริงซึ่งไอเอสโอหวังเป็นอย่งยิ่งว่าจะได้นำไปพิจารณาในการพัฒนามาตรฐานในอนาคตต่อไป
สำหรับระบบการติดตามการเกิดเพลิงไหม้ผ่านวิดีโอมีการทำงานผ่านระบบทางไกลจากจุดที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ซึ่งจะไม่เกิดการระเบิดหรือติดไฟได้โดยมีพื้นฐานอยู่บนการวิเคราะห์ภาพวิดีโอแบบอัลกอริทึ่ม ภาพวิดีโอจากกล้องอาจจะผ่านกระบวนโดยซอฟต์แวร์เพื่อพิจารณาว่าควันหรือเปลวไฟนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ (ขึ้นอยู่กับความสามารถของระบบ) ซึ่งมองเห็นเป็นภาพได้ ซึ่งระบบนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน คือ เซนเซอร์ กระบวนการประมวลผลภาพ และเส้นทางการแปลงระหว่างเซนเซอร์กับกระบวนการการเกิดภาพ ส่วนกระบวนการประมวลผลภาพจะมีการรวมเอาอินเทอร์เฟสระหว่างการเตือนภัยและการส่งสัญญาณผิดปกติที่เชื่อมต่อกับการควบคุมการจับสัญญาณเพลิงไหม้ที่เข้ากันได้และบ่งชี้เส้นทางการส่งผ่านอุปกรณ์
ISO/TS 7240-29:2017 ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 21, Equipment for fire protection and fire fighting, subcommittee SC 3, Fire detection and alarm systems ซึ่งเลขานุการคือสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศออสเตรเลีย (Standards Australia: SA)
ผู้สนใจมาตรฐานดังกล่าว สามารถศึกษาได้จากห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ https://www.iso.org/standard/72262.html
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2207.html
Recent Comments