MASCI Innoversity เคยนำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาและหน้าที่ของไอเอสโอมาหลายครั้ง เช่น ไอเอสโอครบรอบ 70 ปี คิดถึงเรื่องมาตรฐาน คิดถึงไอเอสโอ เป็นต้น ในครั้งนี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวของไอเอสโอผ่านการพูดคุยของสมาชิกในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ไอเอสโอ
ในช่วง 70 ปีของการก่อตั้งไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ไอเอสโอได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมามากมาย มีการปรับบทบาทให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่ทัศนคติและความรับผิดชอบส่วนบุคคลได้เปลี่ยนแปลงได้ด้วยหรือไม่ อย่างไร วารสารไอเอสโอโฟกัสจึงได้นำเสนอมุมมองในแบบฉบับที่เหมือนกับคนในครอบครัวคุยกันดังต่อไปนี้
เป็นเรื่องง่ายๆ ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เราต้องหยุดคิดและพิจารณาว่าเราโชคดีแค่ไหน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา หลังจากที่ครอบครัวของลูอิส เจ้าหน้าที่ของไอเอสโอ ได้มาอยู่รวมกันโดยมีคนทั้งสามชั่วอายุอยู่รวมกัน ขณะที่มีคนล้างผักกาดหอมในอ่างล้างน้ำและปล่อยให้น้ำไหลทิ้ง เขาก็ได้ยินเสียงเด็กในครอบครัวพูดขึ้นว่า “ปิดน้ำเถอะ น้ำเป็นของมีค่า” แม้ว่าในประทศสวิตเซอร์แลนด์ จะมีน้ำเหลือใช้และมีฝนเพียงพอตลอดปี แต่น้ำก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องอนุรักษ์ไว้ เขาจึงปิดก๊อกน้ำ และหันไปคุยกับพ่อตาซึ่งมองมาที่เขาและกล่าวว่าเขาก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเด็กๆ ได้สิ่งนี้มาจากไหน แต่น่าจะมาจากโรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสอนให้เด็กมีความตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างมากนั่นเอง
เรื่องของสิ่งแวดล้อมและความสัมพันธ์ระหว่างคนเรากับสิ่งแวดล้อมที่ให้โลกของเราเปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เราพูดคุยกับมากขึ้นถึงสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานที่เข้าไปเกี่ยวข้องในแง่มุมต่างๆ นับตั้งแต่การลดการใช้สารพิษไปจนถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน
ถ้าเช่นนั้นแล้ว อะไรคือแนวคิดของสังคมเกี่ยวกับมาตรฐานที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมในเชิงอุตสาหกรรม
ลูอิสได้คุยกับแม่ของเขาซึ่งได้เกิดขึ้นสมัยหลังสงครามโลกคือในปี 2490 (ค.ศ.1947) พร้อมกับโลกที่มีแต่ความสูญเสีย การทำลายล้าง ซึ่งได้ถูกแทนที่ด้วยความก้าวหน้า การสร้างสิ่งใหม่ๆ และเต็มไปด้วยความหวัง
เวลานั้นเป็นปีเดียวกับปีที่ไอเอสโอถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญ การสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาอีกครั้งเกิดขึ้นจากความพยายามและความร่วมมือกัน ในขณะที่การสร้างโรงงาน การสร้างงานและโครงสร้างพื้นฐาน เป็นสิ่งที่ไอเอสโอได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานอย่างเห็นได้ชัดด้วย
ลูอิสเล่าว่าแม่ของเขาเล่าเรื่องในอดีตให้ฟังว่ายุคก่อนนั้น ทุกคนเติบโตขึ้นมาในเวลาที่ขาดแคลนไปแทบทุกอย่าง คนยุคนั้นต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ต้องปิดก๊อกน้ำ ปิดไฟ และอยู่ท่ามกลางความมืดสลัว แต่ต่อมา เรามีอุปกรณ์ที่ช่วยทุ่นแรง มีสินค้าใหม่ๆ ที่น่าทึ่ง ทั้งโทรทัศน์ การเดินทางและการพักผ่อนที่คนยอมจ่ายแม้ว่าจะไม่เคยได้ยินมาก่อน
เอเตียน พี่เขยของลูอิส ซึ่งเป็นวิศวกรสิ่งแวดล้อมที่สถาบันแห่งชาติ Arboretum ที่ออบอนน์ กล่าวว่า ทุกวันนี้ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องใส่ใจด้วยตัวของเราเอง เราไม่เพียงแต่เริ่มต้นที่จะเข้าใจวิธีที่สิ่งเหล่านี้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันเท่านั้น แต่ย้อนไปในปี 2540 (ค.ศ.1947) ยังนับเป็นรุ่งอรุณของการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลดีมาถึงปัจจุบันอีกด้วย
ต่อมา คนทั่วโลกเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีการสร้างคณะทำงานของรัฐบาลในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการยกเลิกการใช้ CFC ที่มีประสิทธิผล
เมื่อปี 2535 (ค.ศ.1992) มีการประชุม Earth Summit ที่ริโอ และกำหนดวาระด้านสิ่งแวดล้อมไว้ ดังนั้น รัฐบาล สังคม และธุรกิจจึงปรับตัวใหม่ให้สอดคล้องกับวาระด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ไอเอสโอก็ก้าวขึ้นไปสู่ความท้าทายต่างๆ ที่เผชิญหน้าเมื่อปี 2490 (ค.ศ.1947) และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมก็มาถึงเมื่อปี 2539 (ค.ศ.1996) และได้กลายเป็นหนึ่งในมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุด
ลูอิสได้มาทำงานที่ไอเอสโอที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อปี 2550 (ค.ศ.2007) ซึ่งตอนนั้นไอเอสโอครบรอบ 60 ปีและผลักดันให้มีการแก้ไขประเด็นปัญหาในประเด็นที่ต้องทำในช่วงนั้น เขาพบว่า 10 ปีต่อมา ประชากรยังคงเติบโต และคนรุ่นใหม่ก็ตั้งคำถามว่าจะจัดการกับทรัพยากรในวิธีที่ดีที่สุดได้อย่างไร ซึ่งเขาพบว่าทุกคนต่างมีมุมมองที่แตกต่างกันแต่ก็สามารถทำงานด้วยกันและมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับด้วย
ในการที่จะเดินหน้าต่อไปและกำหนดวิธีการที่ดีที่สุดในงานด้านการมาตรฐาน ทำได้ด้วยการเปิดให้มีทางเลือกต่างๆ มากขึ้นและมีผู้เชี่ยวชาญช่วยบอกกล่าวแนะนำ ซึ่งจะสามารถสร้างความมั่นใจให้ในเรื่องความสามารถของไอเอสโอในการดำเนินการต่อไปในอนาคต ในขณะที่ต้องอาศัยคนรุ่นใหม่ช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่คนรุ่นก่อนหน้านี้อาจจะยังไม่เคยคิดมาก่อนด้วยเช่นกัน
สุดท้ายนี้ เนื่องในไอเอสโอครบรอบ 70 ปีและเป็นการคุยกันฉันพี่น้อง คงไม่เป็นการกล่าวเกินจริงสำหรับคำขวัญของไอเอสโอที่ว่า“มาตรฐานจะทำให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นเมื่อโลกเห็นพ้องต้องกัน” และสิ่งดีๆ นั้นได้สะท้อนกลับมาอยู่ในงานของผู้พัฒนามาตรฐานอย่างไอเอสโอซึ่งทำให้ผู้ผลิตได้นำมาตรฐานไปใช้ในการผลิต และผู้บริโภคที่ได้ใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมการค้าและการแข่งขันที่เป็นธรรมต่อไป
ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2203.html
Related posts
Tags: standard
Recent Comments